พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับโทษคดีอาญาหลายกระทง ศาลฎีกายืนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ การอ้างว่าต้องควบโทษไม่ชอบ
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 4 กันยายน 2556 โดยศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังโดยระบุในหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดว่า ให้จำคุกตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2556 จำเลยต้องขังมาแล้ว 1,151 วัน คิดหักให้ด้วย เป็นการออกหมายจำคุกตามคำพิพากษาโดยชอบแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจะต้องบังคับโทษตามคำพิพากษาในคดีนี้ ควบหรือซ้อนกับคดีที่ขอให้นับโทษต่อ และขอให้แก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดนั้น เป็นการโต้แย้งว่าคดีที่ขอให้นับโทษจำคุกต่อดังกล่าวไม่ต้องนับโทษต่อจากโทษจำคุกในคดีนี้ ซึ่งจำเลยจะต้องไปว่ากล่าวในคดีที่ขอให้นับโทษต่อ หาใช่มายื่นคำร้องในคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีที่เกี่ยวพันกัน & การใช้กฎหมายขณะกระทำผิด แม้แยกฟ้อง & มีการแก้ไขกฎหมาย
ป.อ. มาตรา 91 ให้อำนาจศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปและกรณีที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกในกรณีกระทำความผิดหลายกรรมที่เกี่ยวพันกันและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและคดีแต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องจำเลยเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) สำหรับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแถลงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาฉบับลงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ของโจทก์ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินกระทำผิดหน้าที่และฐานร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น แม้ข้อหาความผิดที่ฟ้องจะเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีเป็นคนละรายกันกับคดีนี้และพยานหลักฐานในคดีเป็นคนละชุดกัน จึงไม่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันกับคดีนี้ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แม้มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินยี่สิบปี ก็พิพากษาให้บังคับเช่นนั้นได้ กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นการไม่ชอบ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ว่า คดีดังกล่าวและคดีนี้มีโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แม้วันเวลากระทำความผิดจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ที่ 1 ให้เป็นผู้จัดทำบัญชีและนําเงินไปเสียภาษีแทน กระทำการทุจริตเบียดบังเอาเงินที่มอบให้นําไปเสียภาษีไป และจำเลยทั้งสองไม่คืนเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการทำบัญชีและเสียภาษีแก่โจทก์ที่ 1 เช่นเดียวกับคดีนี้ ดังนั้น เมื่อคดีมีคู่ความเดียวกัน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน โจทก์ที่ 1 อาจฟ้องจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อเป็นคดีเดียวกันได้ แต่โจทก์ที่ 1 แยกฟ้องคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่ง แยกต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ดังกล่าวโดยศาลมิได้สั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี เต็มตามกำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) แล้ว ย่อมไม่อาจนําโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไปนับโทษต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นได้เพราะจะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องได้รับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (2) บัญญัติไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นมานั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอื่น และการไม่ริบทรัพย์ที่ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องลงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ต่อศาลชั้นต้น โดยบรรยายฟ้องและมีคําขอให้นับโทษจําคุกหรือระยะเวลาฝึกอบรมของจําเลยที่ 1 คดีนี้ติดต่อกับโทษจําคุกหรือระยะเวลาการฝึกอบรมของจําเลย (ที่ถูกจําเลยที่ 2) ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 3709/2560 หมายเลขแดงที่ อ 240/2560 ของศาลอาญา โดยบรรยายทั้งคดีหมายเลขดำและหมายเลขแดงซึ่งคดีหมายเลขดำเป็นหมายเลขที่ถูกต้อง ส่วนคดีหมายเลขแดงนั้นโจทก์พิมพ์ตัวเลขคลาดเคลื่อนเฉพาะปีพุทธศักราช เมื่อจําเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลย (ที่ถูกจําเลยที่ 2) ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังแถลงต่อศาลชั้นต้นรับว่า จําเลยที่ 1 ถูกจําคุกอยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรมมาระยะหนึ่งแล้วในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 3709/2560 หมายเลขแดงที่ อ 240/2560 ของศาลอาญา ซึ่งศาลอาญาพิพากษาให้จําคุก 43 ปี ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 และวันที่ 24 ธันวาคม 2563 แสดงว่าจําเลยที่ 1 เข้าใจดีว่าตนถูกดำเนินคดีอีกคดีหนึ่งที่ศาลอาญา การพิมพ์คดีหมายเลขแดงในส่วนเลข พ.ศ. คลาดเคลื่อนจากปี 2562 เป็น 2560 จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้เริ่มนับโทษจําคุกของจําเลยที่ 1 ต่อจากโทษจําคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 240/2562 ของศาลอาญาได้
อนึ่ง สำหรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบนั้น เห็นว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลาง มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่เป็นเพียงยานพาหนะที่จําเลยที่ 1 กับพวกขับมายังที่เกิดเหตุและขับออกไปจากที่เกิดเหตุ เมื่อการปล้นทรัพย์สำเร็จแล้วเท่านั้น ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ดังที่วินิจฉัยมาข้างต้นก็ตาม แต่การที่จะริบได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์ซึ่งได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะริบได้ จึงจะสั่งริบหาได้ไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
อนึ่ง สำหรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบนั้น เห็นว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลาง มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่เป็นเพียงยานพาหนะที่จําเลยที่ 1 กับพวกขับมายังที่เกิดเหตุและขับออกไปจากที่เกิดเหตุ เมื่อการปล้นทรัพย์สำเร็จแล้วเท่านั้น ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ดังที่วินิจฉัยมาข้างต้นก็ตาม แต่การที่จะริบได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์ซึ่งได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะริบได้ จึงจะสั่งริบหาได้ไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกระทงความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยใช้อาวุธ: ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยใช้อาวุธรวม 2 กระทง แม้ลงโทษจำคุกกระทงละตลอดชีวิต ก็เรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลย 2 กระทง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และอำนาจสั่งนับโทษของศาล
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1144/2561 ของศาลอาญา ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิต และการฟ้องซ้ำในความผิดต่างกรรม
คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะให้นับต่อกันได้ตาม ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง และโดยสภาพของโทษประหารชีวิตกับโทษจำคุกนั้นก็ไม่อาจนับโทษต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451-4453/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและร่วมกันลักทรัพย์ การหักวันคุมขังและการนับโทษ
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก ไม่ได้บัญญัติให้ศาลต้องหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาเสมอไป ศาลมีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าสมควรหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกหรือไม่ในแต่ละคดี เพียงแต่บัญญัติบังคับไว้ว่า หากเห็นว่าไม่สมควรหักก็ให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา
จำเลยที่ 8 ถูกขังระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณาในคดีสำนวนนี้และสำนวนอื่นในเวลาเดียวกันตามหมายขัง 134 คดี เป็นการขังซ้อนกันไป เมื่อศาลได้หักจำนวนวันที่จำเลยที่ 8 ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีกลุ่มอื่นแล้ว การที่จะหักจำนวนวันที่จำเลยที่ 8 ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในสำนวนนี้อีกจึงเป็นการหักที่ซ้ำซ้อนซึ่งทำให้การบังคับโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เป็นไปตามความจริง ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจโดยกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่หักวันคุมขังคดีนี้ออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาคดีนี้ เนื่องจากหักวันคุมขังในกลุ่มคดีอื่นที่จำเลยที่ 8 ถูกคุมขังแล้ว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและยุติธรรมดีแล้ว
จำเลยที่ 8 ถูกขังระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณาในคดีสำนวนนี้และสำนวนอื่นในเวลาเดียวกันตามหมายขัง 134 คดี เป็นการขังซ้อนกันไป เมื่อศาลได้หักจำนวนวันที่จำเลยที่ 8 ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีกลุ่มอื่นแล้ว การที่จะหักจำนวนวันที่จำเลยที่ 8 ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในสำนวนนี้อีกจึงเป็นการหักที่ซ้ำซ้อนซึ่งทำให้การบังคับโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เป็นไปตามความจริง ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจโดยกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่หักวันคุมขังคดีนี้ออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาคดีนี้ เนื่องจากหักวันคุมขังในกลุ่มคดีอื่นที่จำเลยที่ 8 ถูกคุมขังแล้ว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและยุติธรรมดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษหลายกระทงความผิดที่ผู้เสียหายต่างรายกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านับโทษรวมได้เกิน 20 ปีได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
แม้การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีอื่น ๆ ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะเป็นการกระทำด้วยเจตนาเหมือนกัน และมีการดำเนินการในลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกัน ทั้งการกระทำความผิดเกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน คดีแต่ละสำนวนจึงมิได้เกี่ยวพันกัน แม้โดยรูปคดีอาจพิจารณาไปด้วยกันได้ก็เป็นเพราะจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันเพื่อความสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แล้ว มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินกว่า 20 ปี ก็ย่อมพิพากษาให้บังคับเช่นนี้ได้ หาได้อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาสั่งนับโทษต่อ แม้ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ยกฟ้อง และการบังคับโทษตามคำพิพากษา
ก่อนที่คดีนี้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.3275/2560 แม้ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ก็เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งให้นับโทษจำเลยต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5148/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันคุมขังเพื่อหักโทษ ต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลออกหมายขัง ไม่นับรวมวันถูกคุมขังในคดีอื่น
การที่จะเริ่มนับวันที่จำเลยถูกคุมขังเพื่อหักวันที่ถูกคุมขังให้จำเลยนั้น จะนำวันที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นมาหักจากโทษจำคุกในคดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยในวันดังกล่าว จึงต้องเริ่มนับวันที่จำเลยถูกคุมขังนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้ คือวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 จำเลยจึงถูกคุมขังมาเพียง 1 วัน