พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเรียกร้องค่าเลี้ยงดูตามสัญญายอม ไม่ใช่คดีทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูตามสัญญายอมนั้น จัดเข้าเป็นคดีที่ขอให้ศาลบังคับจำเลยอย่างอื่นนอกจากเรียกทุนทรัพย์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ.127 ม.144
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายย่อมอุทธรณ์ได้เสมอ ไม่จำกัดว่าเป็นคดีมโนสาเร่หรืออย่างอื่น
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายย่อมอุทธรณ์ได้เสมอ ไม่จำกัดว่าเป็นคดีมโนสาเร่หรืออย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: ศาลเดิมสั่งรับโดยปริยาย ถือว่าเปิดทางให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงได้
ศาลเดิมสั่งรับอุทธรณ์ว่าเห็นควรรับอุทธรณ์ ก็นับว่าเป็นการรับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คดีอาชญาสินไหมที่ศาลล่างยกฟ้อง และการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
โทษตามมาตรา 304 แลตามมาตรา 314 กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี เมื่อศาลเดิมยกฟ้องคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้เว้นแต่จะมีผู้รับรอง คดีอาชญาสินไหมเมื่ออุทธรณ์โจทก์ทางอาชญาต้องห้ามตามมาตรา 3 แม้โจทก์จะตั้งทุนทรัพย์มาในฟ้องก็ดี ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ในทางอาชญา พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 ม.7 คดีอาชญาที่ศาลล่างยกฟ้อง 2 ศาลโดยข้อเท็จจริงมีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รับรองฎีกา ฎีกาได้ อำนาจศาลฎีกา คดีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าต้องห้ามให้ยกฟ้องเสียนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่ต้องห้ามจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาย้อนสำนวน และการพิจารณาข้ออุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกันในคดีอาญา
มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 5 ปี คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ไม่ได้ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. อุทธรณ์มาตรา 3 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องอุทธรณ์ไม่ต้องห้ามแล้วก็มีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์นั้นเสียใหม่ได้ตัดสิน ถ้ากรณีเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อศาลฎีกาย้อนฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฎีกาข้อหนึ่งใหม่ก็มีอำนาจให้ลดรอฎีกาอีกข้อหนึ่งไว้วินิจฉัยในภายหลังได้