พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายที่แบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่ได้จากการฟ้องร้องเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมาย
สัญญาที่จำเลยจ้าง โจทก์ให้ว่าความ กำหนดค่าจ้างว่าความส่วนที่ยังมิได้ชำระเป็นจำนวนเงินสิบเปอร์เซ็นต์ ของเงินที่จำเลยจะได้ รับจากการฟ้องแย้ง เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดย วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ แก่ลูกความ อันมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) จึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 113 ดังนี้ แม้ต่อมาจะได้ มี พ.ร.บ. ทนายความพ.ศ. 2528 ยกเลิกกฎหมายข้างต้นแล้ว และตาม บทเฉพาะกาล มาตรา 86 ของพ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความตาม มาตรา 53 ซึ่ง มิได้มีการกำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ ก็ไม่ทำให้สัญญาซึ่ง เป็นโมฆะแต่ ต้น กลับสมบูรณ์ขึ้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความที่เหลือจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยอมจ่ายค่าเสียหายจากละเมิดถือเป็นข้อพิพาททางแพ่ง ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยนำกุญแจไปคล้อง ห้องพักที่โจทก์เช่าจากจำเลยเพราะโจทก์ไม่จ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้าห้องพักได้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทกันแล้ว รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้แก่โจทก์จำนวน 20,000 บาท จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไม่มีข้อความที่โจทก์และจำเลยตกลงระงับคดีอาญาแผ่นดินแต่ประการใดคงกล่าวถึงเรื่องที่จำเลยนำกุญแจไปล็อกห้องที่โจทก์เช่าไว้ ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ และได้รับความเสียหาย กับจำเลยทั้งสองตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่งเท่านั้นสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่มีวัตถุที่ประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็คเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน สัญญาประกันมิได้ตกเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยต้องชำระต้นเงินกู้
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยโจทก์จำเลยตกลงให้มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินกู้จึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยไม่มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ชำระให้โจทก์ไปแล้วซึ่งตกเป็นโมฆะนั้นไปหักกับต้นเงินให้ลดน้อยลงไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระต้นเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระต้นเงินให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นดอกเบี้ยทบต้นหลังเลิกสัญญาเดินสะพัดเป็นโมฆะ, สัญญาค้ำประกันมีผลใช้บังคับ
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลงยกเว้นหาได้ไม่ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "เมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยทบต้นตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร...และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย"เป็นข้อสัญญาที่ตกลงยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อกับธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ยธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้ก็ได้สุดแต่ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควรไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้บังคับได้เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้องรับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาหลัก
โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศบริษัทดังกล่าวจัดการให้จำเลยเดินทางไปทำงานต่างประเทศการส่งคนไปทำงานต่างประเทศเป็นเรื่องของบริษัท โจทก์เป็นเพียงผู้บริการให้ความสะดวกแก่จำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะเรียกและรับค่าบริการจากจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง อันเป็นการจัดหางานตาม พระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 4
จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศโดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท และให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2511 แล้ว สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศโดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท และให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2511 แล้ว สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดต่อจัดหางานต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางาน หากไม่ได้เป็นผู้ส่งคนงานโดยตรง สัญญากู้ยืมจึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทที่จัดส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศให้บริษัทดังกล่าวจัดการให้จำเลยได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศการส่งคนไปทำงานต่างประเทศเป็นเรื่องของบริษัท โจทก์ไม่ได้เป็นผู้จัดส่งเป็นเพียงการบริการให้ความสะดวกแก่จำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะเรียกและรับค่าบริการจากจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางาน หรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอันเป็นการจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2511 มาตรา 4 จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศได้ โดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท จำเลยไม่มีเงินโจทก์จึงให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 แล้ว สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิลูกจ้าง สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ และการสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทำได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลย ซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมาย สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าว ไม่มีผลใช้บังคับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำกัดสิทธิในทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส: การสละสิทธิและผลกระทบต่อมรดก
ศ.กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ.จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้อง สร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามมาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่างศ.กับจำเลยระบุว่าศ.จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ.ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ.ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.