คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญเนติศาสตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 907 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการดำ เนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริ หารแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การณ์นี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 - 2495 มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่น ๆ ซื่งมิได้อยู่ภายในวงอำนสจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้ว เพราะวัตถุประสงค์ขององค์การณ์สรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภาย ในวงอำนาจและหน้าทีของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทะบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตและไม่ตั้งขึ้นเป็นการ แบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ งานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดัง กล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมน ตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2477 มาตรา 4./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนเพื่อกิจการค้าไม่ใช่สาธารณูปโภค การเวนคืนจึงไม่ถูกต้อง กรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่
เวนคืนที่ดินของเอกชนเพื่อขยายกิจการของโรงงานเนื้อสัตว์นั้นถือว่ากิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการค้า ไม่ใช่สาธารณูปโภคการเวนคืนที่ดินเพื่อการนี้ จึงหาใช่เพื่อสาธารณูปโภคฉะนั้นการเวนคืน จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา5 ฉะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 10
และในกรณีเช่นนี้ แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ตามมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 32 ก็ดีก็จะเอามาปรับแก่กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนเพื่อกิจการค้าไม่ใช่สาธารณูปโภค กรรมสิทธิ์ไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่
เวนคืนที่ดินของเอกชนเพื่อขยายกิจการของโรงงานเนื้อสัตว์นั้น ถือว่ากิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการค้า ไม่ใช่ สาธารณูปโภคการเวนคืนที่ดินเพื่อการนี้ จึงหาใช่เพื่อสาธารณูปโภค ฉะนั้นการเวนคืน จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 5 ฉะนั้นกรรมสิทธิในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ตกมาเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 10.
และในกรณีเช่นนี แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้ พ.ร.บ. เวนคืนอสัง หาริมทรัพย์นั้นฯ ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32 ก็ดี ก็จะเอามาปรับแก่
กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนต้องมีหลักฐานประกอบอื่นนอกเหนือจากคำรับสารภาพเอง จึงจะรับฟังได้
พยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ในชั้นสอบสวนจะต้องไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพนั้นเองเพียงแต่มีคำพยานว่าจำเลยได้รับสารภาพต่อพยานดังที่ได้สอบสวนจากบันทึกไว้ยังไม่เป็นหลักฐานประกอบคำรับสารภาพนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและการฟ้องคดีระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทอื่น
ทายาทของผู้ตายฟ้องผู้จัดการมรดกของผู้ตายขอให้ศาลแสดงว่าตนเป็นทายาทของผู้ตาย และมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวนั้นเมื่อปรากฏในคำฟ้องว่า จำเลยไปร้องขอรับมรดกที่ดินมรดกโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่า ผู้ตายไม่มีทายาทอื่นดังนี้เป็นเรื่องที่ทายาทขอให้แสดงสิทธิเท่านั้น จึงไม่เป็นการขัดต่อการจัดการมรดกแต่อย่างใดฉะนั้นแม้ขณะนั้นจำเลยจะเป็นผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาทผู้นั้นก็ยังฟ้องได้ และศาลก็จะพิพากษาเพียงแสดงว่าโจทก์เป็นทายาทของผู้ตายเท่านั้นส่วนจะเป็นทายาทแต่คนเดียวหรือไม่นั้น ไม่ชี้ขาดเพราะเป็นการพิพาทกันระห่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งไปอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าไม่มีทายาทอื่น นอกจากจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและการฟ้องแย้งการจัดการมรดก: การแสดงสิทธิทายาทที่ไม่ขัดขวางการจัดการมรดก
ทายาทของผู้ตายฟ้องผู้จัดการมรดกของผู้ตายขอให้ศาลแสดงว่าตนเป็นทายาทของผู้ตาย และมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว นั้น เมื่อปรากฎในคำฟ้องว่า จำเลยไปร้องขอรับมรดกที่ดินมรดกโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่า ผู้ตายไม่มีทายาทอื่น ดังนี้ เป็นเรื่องที่ทายาทขอให้แสดงสิทธิเท่านั้น จึงไม่เป็นการขัดต่อการจัดการมรดกแต่อย่างใด ฉะนั้นแม้ขณะนั้นจำเลยจะเป็นผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาทผู้นั้นก็ยังฟ้องได้ และศาลก็จะพิพากษาเพียงบแสดงว่าโจทก์เป็นทายาทของผู้ตายเท่านั้น ส่วนจะเป็นทายาทแต่คนเดียวหรือไม่นั้น ไม่ชี้ขาดเพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งไปอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าไม่มีทายาทอื่น นอกจากจำเลยเท่านั้น./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นโทษหมิ่นประมาทในระหว่างการดำเนินคดี: มาตรา 285 และ 116
กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 285 นั้น เป็นบทยกเว้นโทษให้แก่คู่ความ เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้ดำเนินคดีได้เต็มที่และเป็นข้อยกเว้นโทษของมาตรา 116 ด้วยถ้าการหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานตามมาตรา 116 นั้นมีมูลฐานมาจากความผิดตามมาตรา 282
จำเลยแก้อุทธรณ์ที่อัยการโจทก์อุทธรณ์แม้ถ้อยคำที่จำเลยใช้ในคำแก้อุทธรณ์นั้น จะไม่สมควรหลายแห่งแต่เมื่อยังเป็นเรื่องที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 285 แล้วจำเลยก็ยังไม่ผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นโทษหมิ่นประมาทในลักษณะอาญา: การคุ้มครองคู่ความในการดำเนินคดี
ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 285 นั้น เป็นบทยกเว้นโทษให้แก่คู่ความ เพื่อเปิดโอกาศให้คู่ความได้ดำเนินคดีได้เต็มที่ และเป็นข้อยกเว้นโทษของมาตรา 116 ด้วย ถ้าการหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานตามมาตรา 116 นั้น มีมูลฐานมาจากความผิดตามมาตรา 282.
จำเลยแก้อุทธรณ์ที่อัยการโจทก์อุทธรณ์ แม้ถ้อยคำที่จำเลยใช้ในคำแก้อุทธรณ์นั้น จะไม่สมควรหลายแห่ง แต่เมื่อยังเป็นเรื่องที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 285 แล้ว จำเลยก็ยังไม่ผิด./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสันดานของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาเสียชีวิตก่อนรับรอง เด็กไม่มีสิทธิรับมรดก
หญิงชายได้เสียอยู่กินด้วยกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรสการสมรสย่อมไม่สมบูรณ์ จะเรียกว่าเป็นสามีภริยากันไม่ได้และบุตรที่เกิดจากหญิงนั้นก็มิใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นและเมื่อชายนั้นตายเสียในระหว่างหญิงตั้งครรภ์ เมื่อบุตรนั้นคลอดออกมา ชายนั้นก็ไม่มีโอกาสจะรับรองเด็กนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627 ได้เด็กนั้นจึงไม่ใช่บุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว จึงย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับมรดกจากชายนั้น ในฐานะผู้สืบสันดาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรนอกกฎหมายและการรับรองเด็กหลังเสียชีวิต: สิทธิในมรดก
หญิงชายได้เสียอยู่กินด้วยกันแต่มิได้จะทะเบียนสมรส การสมรสย่อมไม่สมบูรณ์ จะเรียกว่าเป็นสามีภริยากันไม่ได้
และบุตรที่เกิดจากหญิงนั้นก็มิใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชายนั้น และเมื่อชายนั้นตายเสียในระหว่างหญิง
ตั้งครรภ์ เมื่อบุตรนั้นคลอดออกมา ชายนั้นก็ไม่มีโอกาศจะรับรองเด็กนั้นตาม แ.ม.แพ่งฯมาตรา 1627 ได้ เด็กนั้นจึง
ไม่ใช่บุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว จึงย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับมรดกจากชายนั้น ในฐานะผู้สืบสันดาน./
of 91