พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องกระทำภายในกำหนด หากเลยกำหนดต้องใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม หากโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (3) โดยโจทก์ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง คือภายใน 7 มีนาคม 2545 ตามมาตรา 229 แต่โจทก์หาได้อุทธรณ์ไม่ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 โดยไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้วินิจฉัยด้วยเหตุดังกล่าวจึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของมาตรา 138 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ภูมิลำเนาบริษัท และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด แม้ศาลอนุญาตให้ขยายเวลาแล้ว การยื่นหลังกำหนดถือเป็นเหตุไม่รับอุทธรณ์
วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ และยังมีข้อความอีกว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้เช่นกัน ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้น หากแต่ได้มีคำสั่งในวันที่ 13 มีนาคมก็ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้ว ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ว่าอย่างไร เพราะสำนวนความเสนอศาลอยู่และยังคัดถ่ายสำเนาคำสั่งศาลไม่ได้ก็มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ถึงวันที่ 22 มีนาคม การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในวันที่ 23 มีนาคม จึงเกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายไว้ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139-8142/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ล่าช้าเกินกำหนดและไม่มีเหตุจำเป็นพิเศษ ศาลฎีกายืนคำสั่งศาลแรงงานกลาง
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างปฏิเสธเลยว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งคำบังคับไปให้จำเลยเป็นการส่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คงกล่าวอ้างเพียงว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและ สำเนาคำฟ้อง ส่วนคำบังคับก็ได้รับล่าช้ามากเพราะพนักงานของจำเลย ที่รับคำบังคับไว้แทนจำเลยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จงใจขาดนัด พฤติการณ์ตามข้ออ้างของจำเลยดังนี้ยังถือไม่ได้ ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด
โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้นำเงินค่าขึ้นศาลที่จะต้องชำระเพิ่มไปมอบให้แก่ทนายโจทก์ ทนายโจทก์ยืนยันว่าจะนำไปชำระต่อศาลภายในกำหนด แต่ทนายโจทก์กลับฉ้อฉลไม่นำเงินดังกล่าวไปชำระต่อศาลชั้นต้นโดยโจทก์ไม่ทราบข้ออ้างของโจทก์ แม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับทนายโจทก์ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันในลักษณะของตัวการตัวแทน การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลของทนายโจทก์ย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะตัวการ หากมีข้อผิดพลาดประการใดชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวแก่ทนายโจทก์กันเอง กรณีหาเป็นเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่อาจขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เมื่อโจทก์ไม่วางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในกำหนด ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ขอขยายเวลาแล้ว ศาลไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไป ก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือ เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2542 เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาต จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: การยื่นคำร้องขัดแย้งที่ล่าช้าเกินกำหนดตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ อ้างว่าคู่ความและศาลตกลงกันให้ยกเลิกวันนัดวันที่ 29กรกฎาคม 2540 แล้ว ข้อความตกเติมในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ให้นัดวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ได้กระทำขึ้นภายหลังหลังจากที่คู่ความและศาลได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์และจำเลยมาศาลในวันนัดวันที่ 24 พฤศจิกายน2540 จึงทราบเรื่องศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำร้องของโจทก์ดังกล่าวต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคสอง โจทก์ทราบว่าถูกศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดระเบียบเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 แต่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 12ธันวาคม 2540 ช้ากว่ากำหนดตามกฎหมาย โจทก์จึงหมดสิทธิยื่น และศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้โจทก์
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้ายในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้ายในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว สิทธิฎีกาเป็นอันสิ้นสุด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 และคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาตามเงื่อนไขในมาตรา 221 จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยย่อมทราบวันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่ต้องยื่นฎีกาหรือหากมีพฤติการณ์พิเศษที่จำเลยจะต้องขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเสียก่อนครบกำหนดดังกล่าวได้แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้องไม่ ทั้งการรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาว่าจะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยก็มิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประกันภัย: การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกินกำหนดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยร่วมทั้งสองสำนวนในวันที่ 30เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่จำเลยร่วมยื่นฎีกาว่า รับฎีกาจำเลยร่วมสำเนาให้โจทก์ทั้งสี่ให้จำเลยร่วมส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงให้ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา จำเลยร่วมจึงทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ต่อมาปรากฏว่าส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2539ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นจำเลยร่วมไม่ได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบเพื่อดำเนินการต่อไปแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยร่วมทิ้งฎีกาสำนวนแรกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174
จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยให้การเกี่ยวกับอายุความว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 โจทก์ไม่ติดใจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยร่วมมาแต่แรก คงมีจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิด แต่ก็เพิ่งเรียกเข้ามาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531อันเป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุถึง 5 ปี คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ดังนี้ จำเลยร่วมให้การโดยชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว แม้จำเลยร่วมจะยกบทกฎหมายขึ้นอ้างว่าขาดอายุความละเมิดตามมาตรา 448 ก็ตาม แต่ถ้าตัดข้อความคำว่า "ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448" ออกเสียคำให้การของจำเลยร่วมเกี่ยวกับอายุความในส่วนที่เหลือก็ยังพออนุมานได้ว่าจำเลยร่วมได้ยกอายุความตามมาตรา 882 ขึ้นต่อสู้แล้ว และการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี คำให้การของจำเลยร่วมจึงมีประเด็นเรื่องอายุความการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คดีนี้เหตุวินาศภัยเกิดในวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยถูกเรียกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่7 มิถุนายน 2531 เป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยให้การเกี่ยวกับอายุความว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 โจทก์ไม่ติดใจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยร่วมมาแต่แรก คงมีจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิด แต่ก็เพิ่งเรียกเข้ามาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531อันเป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุถึง 5 ปี คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ดังนี้ จำเลยร่วมให้การโดยชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว แม้จำเลยร่วมจะยกบทกฎหมายขึ้นอ้างว่าขาดอายุความละเมิดตามมาตรา 448 ก็ตาม แต่ถ้าตัดข้อความคำว่า "ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448" ออกเสียคำให้การของจำเลยร่วมเกี่ยวกับอายุความในส่วนที่เหลือก็ยังพออนุมานได้ว่าจำเลยร่วมได้ยกอายุความตามมาตรา 882 ขึ้นต่อสู้แล้ว และการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี คำให้การของจำเลยร่วมจึงมีประเด็นเรื่องอายุความการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คดีนี้เหตุวินาศภัยเกิดในวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยถูกเรียกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่7 มิถุนายน 2531 เป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5947/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด แม้ศาลอนุญาตขยายเวลาแล้ว หากเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ยื่น ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพียงวันที่14มกราคม2537ต่อมาวันที่24มกราคม2537โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าดูตัวเลข14เป็น24จึงเข้าใจว่าศาลอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่24มกราคม2537ดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นได้เขียนวันที่ไว้ชัดเจนแล้วการดูวันที่ผิดเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์เองไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่24มกราคม2537จึงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายให้