คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้บริษัทผู้ถือหุ้นขาดทุน แต่จำเลยยังมีกำไรและงานยังไม่ลดลง
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดที่ชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว บริษัทที่ถือหุ้นของจำเลยจะประกอบกิจการขาดทุนก็ไม่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของจำเลย แม้ผลประกอบการของจำเลยจะมีกำไรสุทธิน้อยลง แต่ก็ยังคงมีกำไรอยู่ ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่างานของจำเลยได้ลดน้อยลงมากหรือประสบกับการขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดรายจ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อพยุงฐานะของจำเลยให้อยู่รอด การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้บริษัทมีกำไร แต่ไม่มีเหตุผลความจำเป็นทางธุรกิจ
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดที่ชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว บริษัทที่ถือหุ้นของจำเลยจะประกอบกิจการขาดทุนก็ไม่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของจำเลย แม้ผลประกอบการของจำเลยจะมีกำไรสุทธิน้อยลง แต่ก็ยังมีกำไรอยู่ ไม่ปรากฏว่างานของจำเลยลดน้อยลงมากหรือประสบการขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดรายจ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อพยุงฐานะจำเลยให้อยู่รอด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) หรือไม่นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่า เหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วย และเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางเงินมัดจำ ผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวและลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48 (4) (ข) ไม่ได้เช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) หรือไม่นั้นมุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่าเหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วยและเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางมัดจำผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้นที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติหาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว และลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48(4)(ข) ไม่ได้เช่นกัน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 29 เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความเพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน มิได้พิจารณาจากมูลค่าหรือกำไร
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา8บัญญัติว่าค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆแต่อาคารของโจทก์โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่าการที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่และอยู่ใกล้เคียงกันและทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วยค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่1นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทจึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นๆสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆมิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทห้างหุ้นส่วน: การผิดข้อตกลงลงทุน, การแบ่งกำไร, และการฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นหุ้นส่วนกันประกอบกิจการระเบิดหินและย่อยหิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างนำเครื่องมือเครื่องใช้มาลงทุนร่วมกัน ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 นำเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยที่ 1 นำมาลงทุนร่วมกับโจทก์ไปใช้หาผลประโยชน์ในสถานที่อื่นโดยพลการอันเป็นการผิดข้อตกลง ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งกำไรลดลงขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี และให้จำเลยทั้งสองใช้เงินกำไรที่โจทก์ควรจะได้ จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเครื่องโม่หินที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาลงทุนต้องเสียเวลาซ่อมทุกเดือน เป็นเหตุให้ได้ผลิตผลไม่มากเท่าที่ควรทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งกำไรน้อยลงจากที่เคยได้รับ ขอให้โจทก์ใช้เงินกำไรที่จำเลยที่ 1 ได้รับน้อยลง เช่นนี้ ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นเรื่องการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน มูลกรณีเดียวกัน ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของกับการประเมินภาษี: รายได้จากวัสดุอุปกรณ์และกำไรที่ส่งจากต่างประเทศ
สัญญาข้อ 3.2 ระบุหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์มีหน้าที่จัดหาแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดและปฏิบัติงานทั้งสิ้นกับข้อ 3.3 ระบุว่า การไฟฟ้ามีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้และงานที่โจทก์ทำไป ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587ส่วนการที่โจทก์ที่ประเทศอินเดียมีโรงงานผลิตเสาไฟฟ้าแรงสูงจำหน่ายทั่วโลกนั้น ก็มิได้หมายความว่าผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายจะรับจ้างทำของด้วยไม่ได้ และข้อที่ปรากฏว่าการส่งเสาไฟฟ้าแรงสูงมายังประเทศไทย การไฟฟ้าจะเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและดำเนินการต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ซื้อนั้น ก็ปรากฏว่าค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างครั้งนี้ การไฟฟ้าจะจ่ายจากเงินที่กู้จากธนาคารโลกโดยให้ธนาคารโลกส่งเงินไปให้โจทก์โดยตรงที่ประเทศอินเดีย ฉะนั้น วิธีการปฏิบัติดังกล่าวน่าจะเพื่อให้สามารถแยกราคาค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ออกไปได้และเพื่อความสะดวกเท่านั้น หาทำให้สัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายรวมอยู่กับสัญญาจ้างทำของไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าโดยนำเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มารวมเป็นค่าจ้างหรือรายรับจากการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิดตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประมวลรัษฎากร จึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์จัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทยเพื่อดำเนินการตามสัญญาจ้างทำของก็เท่ากับว่า โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรับจ้างทำของในประเทศไทย วัสดุที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยจึงเป็นสัมภาระที่โจทก์จัดหามาเพื่อการรับจ้างทำของของโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการในประเทศไทยของโจทก์ ตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ส่วนที่การนำเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆเข้ามาได้กระทำโดยการไฟฟ้าสั่งซื้อ และการจ่ายเงินก็ได้ให้ธนาคารโลกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ประเทศอินเดียโดยตรง ก็เป็นเพราะการไฟฟ้าได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาจ่ายเป็นค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ วิธีการได้วัสดุมาดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและเพื่อความสะดวกบางอย่างเท่านั้น ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์จึงมิใช่เงินที่การไฟฟ้าซื้อจากโจทก์ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวก็ย่อมรวมอยู่ในค่าจ้างทำของของโจทก์อันได้ดำเนินการในประเทศไทยนั่นเอง เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย มิใช่นำมาคำนวณเฉพาะค่าติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง เมื่อโจทก์มิได้นำเงินจำนวนนี้มาคำนวณในการเสียภาษีด้วย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตรวจสอบภาษีและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพียงพอแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์มิได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อหาต้นทุนสินค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) การประเมินจึงชอบแล้ว การที่เงินกำไรที่รวมอยู่ในค่าเสาไฟฟ้าแรงสูง และวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้ส่งจากธนาคารโลกซึ่งอยู่ต่างประเทศไปยังประเทศอินเดียให้โจทก์โดยตรง ก็เนื่องจากการไฟฟ้าได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้จากธนาคารโลก การกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสะดวกเท่านั้นกรณีเท่ากับว่าธนาคารโลกได้ส่งเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มาให้การไฟฟ้าในประเทศไทย แล้วการไฟฟ้าผู้ว่าจ้างได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้สาขาโจทก์ในประเทศไทย และสาขาโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินไปยังโจทก์ในประเทศอินเดียนั่นเอง สาขาโจทก์ในประเทศไทยก็คือตัวโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ส่งหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย กรณีต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีโดยคำนวณหากำไรจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน, หนี้ส่วนแบ่งกำไร, และความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯมีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้อง และในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันที เจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้
ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาท เจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯ เมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนอง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯรับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทยโดยผ่านสาขาของบริษัทต่างชาติ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก การพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของลักษณะการกระทำของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้น จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารหรือการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้นมาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยไม่ได้ โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละสี่ของราคาขาย เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้า อันเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับคู่กรณี ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อันมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ เมื่อโจทก์ส่งเงินกำไรของบริษัท อ. ซึ่งเกิดจากการซื้อขายในประเทศไทยออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามมาตรา 70 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัท: พิจารณาจากทรัพย์สินและศักยภาพในการทำกำไร แม้ขาดทุนในระยะแรก
บริษัทผู้คัดค้านดำเนินกิจการสร้างศูนย์การค้าซึ่งในปีต้น ๆประสบการขาดทุนแต่ไม่มากนัก กิจการของผู้คัดค้านเจริญก้าวหน้าขึ้น มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินจำนวนมาก และมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเมื่อผู้คัดค้านก่อสร้างศูนย์การค้าและโครงการอื่น ๆ เสร็จแล้วก็จะมีกำไร จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าการค้าของผู้คัดค้านทำไปมีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ กรณีไม่มีเหตุจะเลิกบริษัทผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1237(3).
of 4