คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค่าชดเชยหลังฟื้นฟูกิจการ: ฟ้องใหม่เป็นคดีต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และได้เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้บริหารแผนแล้ว ต่อมาโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้าง โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชย จำเลยที่ 2 มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วยก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนหุ้นที่ฉ้อฉลกระทบสิทธิบุคคลภายนอก คดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิม แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉล อันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237ก็ตาม แต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ อันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ถือเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์
คู่ความพิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินว่าเป็นของผู้ร้องหรือผู้คัดค้าน หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า พยานผู้ร้องล้วนเป็นเครือญาติกับผู้ร้อง มีการซักซ้อมกันมาเบิกความ ชี้ให้เห็นว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบมาเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีราคาไม่เกิน 50,000 บาทคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ผู้คัดค้านฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์คดีต้องห้าม และการยกเหตุผลประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษ
เมื่อพนักงานอัยการได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาเห็นว่า ควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ก็รับรองให้อุทธรณ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับรองในวันที่ยื่นอุทธรณ์ เพียงแต่ให้มีคำรับรองปรากฏให้เห็นขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ และถ้อยคำที่ใช้ให้มีความหมายให้เห็นว่าเป็นการรับรองข้อที่ต้องห้ามก็ชอบแล้ว ส่วนเหตุผลในการรับรองนั้นกฎหมายมิได้กำหนดแบบว่าจะต้องปรากฏในคำรับรองนั้นด้วยแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ว่าการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราเป็นภัยอันตรายเพราะรัฐบาลต้องใช้งบประมาณสร้างถนนในวงเงินที่สูงขึ้น...นั้นเป็นการอ้างเหตุผลเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่อ้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะถือว่าไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคดีต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 50 บาท ถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีจำเลยซึ่ง มีที่ดินติดต่อกับที่ดินของโจทก์ มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชน ต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา การฟ้องคดีเดิมซ้ำต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยที่1เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลยในข้อหาว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่โจทก์จ้างจำเลยที่1ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์และโจทก์ได้สั่งให้จำเลยที่1ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1จึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่1เท่าใดศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่1เพราะจำเลยที่1ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่1และจำเลยที่2เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้วจึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไปแต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามมาตรา148เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม จำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่1จึงมีผลถึงจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเดิมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว คดีนี้จึงต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกพ. ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลตั้งตนเองและโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ ศาลพิพากษาให้ยกคำคัดค้านโดยฟังว่าเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ คดีถึงที่สุด ดังนี้ถือได้ว่า พ.ได้ยื่นคำร้องในคดีก่อนแทนโจทก์ด้วย การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ศาลตั้งโจทก์และ พ.เป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างพินัยกรรมนั้นอีก อันเป็นประเด็นข้อโต้เถียงอย่างเดียวกันกับที่ พ.ร้องคัดค้านแทนโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
เรื่องฟ้องซ้ำเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ศาลยกฟ้องตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม.148
ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะดจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานนั้น ถือว่าพยานหลักฐานของโจทก์ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 87(2) อันเป็นเหตุให้ศาลวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่า คำฟ้องโจทก์ไ่ม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
โจทก์จะมารื้อฟ้องขึ้นใหม่อีกไม่ได้ คดีต้องห้ามตาม ป.ม.ว.แพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาโทษเท่ากัน แม้รูปแบบการลงโทษต่างกัน ถือเป็นการแก้ไขมาก คดีต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ลงโทษจำเลย 1 ปี 6 เดือน แม้ศาลหนึ่งจะลงโทษเป็นกะทง อีกศาลหนึ่งลงโทษเป็นบท ก็ไม่เป็นการแก้ไขมาก คดีต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญา ม. 218
of 2