พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5214/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึง, การใช้ก่อน, และสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ในสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั่วไปก่อนที่จำเลยจะใช้คำว่า SUN เป็นคำนำหน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้สินค้าของจำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUN นำหน้าจำนวนมากมาย แต่เป็นการใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า SUNGARD เลียนแบบหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าภายใต้คำว่า SUN นำหน้าของจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยคำนึงถึงจำนวนตัวอักษร, เสียงเรียกขาน, และความหมาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งที่เป็นคำ และเป็นรูปกับคำต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันแบบพิมพ์ใหญ่และแบบอักษรประดิษฐ์ 4 ตัว คือ "F" "O" "R" และ "D" โดยเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำจะมีวงรีล้อมรอบตัวอักษรประดิษฐ์ดังกล่าวอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ 3 ตัว คือ "F" "O" และ "R" ดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนจะเห็นได้ว่า แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่างมีตัวอักษรขึ้นต้นด้วยอักษร "F" และตามด้วยตัวอักษร "O" และ "R" ตามลำดับเช่นเดียวกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร "D" อยู่ในตอนท้ายด้วย ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนจะมีจำนวนตัวอักษรต่างกันเพียงตัวอักษรเดียว แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรเพียง 4 ตัว เท่านั้น สาธารณชนจึงสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนได้โดยง่าย และโดยเหตุที่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันเช่นเดียวกัน การเขียนจึงต้องมีตัวสะกดซ้ำกันบ้าง ในกรณีเช่นนี้จะสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ นอกจากนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนมีเสียงเรียกขานว่า "ฟอร์" และมีคำแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยชัดเจนคือแปลว่า "สำหรับ" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานว่า "ฟอร์ด" ซึ่งมีที่มาจากชื่อผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีความหมายและเสียงเรียกขานที่ต่างกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากความเหมือน/คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว และการฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.25374 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว ประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่า การฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่ การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ต้องตัดรูปแผนที่ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมถึงเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาโดยไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้ ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.25374 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว ประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่า การฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่ การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ต้องตัดรูปแผนที่ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมถึงเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาโดยไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าเพื่อตัดสินว่ามีการลอกเลียนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้าน ภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ และที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (U) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ ในลักษณะตั้งกับพื้น และมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่าLite - Joy อยู่ด้านล่างด้วย จึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่าFoot - Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่าJoy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า GREEN - JOYS,SOFT - JOYS, SOFT - JOYS II, ULTRA - JOYS, DRYJOYS, COOL -JOYS และ COURT - JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite - Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้จริงและผลกระทบต่อสาธารณชน
ในคดีเครื่องหมายการค้าเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องวินิจฉัยไม่เพียงแต่ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะต้องเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณะทำนองเดียวกันด้วย จะชี้ขาดว่าเครื่องหมายการค้าไม่เหมือนกันโดยเอามาเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างนั้นไม่ได้ จำต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและใช้กันโดยสุจริตถึงประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าประจำและถึงสภาพแห่งท้องตลาดคือแยกปริมาณที่ประชาชนจะพึงซื้อ
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึงจนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศ ใช้อักษรโรมัน มี 2 พยางค์เท่ากัน โดยเฉพาะพยางค์ต้นของโจทก์ใช้คำว่า PLAY แต่ของจำเลยดัดแปลงตัวอักษร A ให้ต่างกันเล็กน้อยเป็น play ซึ่งทั้งสองคำก็อ่านออกเสียงเหมือนกันว่าเพลย์ ส่วนพยางค์หลังของโจทก์คำหนึ่งอ่านว่า BOY และอีกคำหนึ่งอ่านว่า MATE แต่ของจำเลยได้ดัดแปลงให้ออกเสียงแตกต่างไปจากคำว่า MATE เล็กน้อยโดยเปลี่ยนใหม่ว่า man เมื่ออ่านออกเสียงคำว่า playman (เพลย์แมน) ของจำเลย จึงมีสำเนียงเรียกขานเกือบเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำว่า PLAYMATE (เพลย์เมท) ของโจทก์ ลักษณะตัวอักษรและจำนวนตัวอักษรก็ไล่เลี่ยกัน ของโจทก์ใช้อักษร 7 ตัว และ 8 ตัว ของจำเลยใช้อักษร 7 ตัว อักษรส่วนใหญ่เป็นตัวพิมพ์เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าคำว่าplayman ที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนจึงมีลักษณเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในสินค้าได้ เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7679/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่แค่ตัวอักษรหรือสำเนียง
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ของจำเลยที่ 1 มีตัวอักษรโรมันตรงกับตัวอักษรโรมัน 5 ตัวท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTAของโจทก์ก็ตาม แต่การที่เครื่องหมายการค้ารายใดจะเหมือนกันหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจำต้องพิเคราะห์องค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน จะพิเคราะห์แต่ตัวอักษรหรือสำเนียงที่ออกเสียงแต่อย่างเดียวมาเป็นข้อวินิจฉัยหาได้ไม่ สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA และ ALACTA-NF ของโจทก์เป็นนมผงสำหรับเลี้ยงทารก ปัจจุบันในประเทศไทยไม่มีสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTAจำหน่าย คงมีจำหน่ายเฉพาะสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA-NFซึ่งประชาชนเรียกขานกันสั้น ๆ ว่า นมอะแล็คต้า โดยสินค้าดังกล่าวบรรจุอยู่ในภาชนะกระป๋องโลหะทรงกลมขนาดต่าง ๆ สินค้าของโจทก์ขนาดเล็กสุดจำหน่ายในราคากระป๋องละ 62.50 บาท ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA เป็นนมสดพร้อมดื่มบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษสี่เหลี่ยมจำหน่ายในราคากล่องละ 5 ถึง 6 บาท นอกจากการวางรูปตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTAสำหรับสินค้าของจำเลยที่ 1 มีลักษณะไม่เหมือนกันแล้ว ยังปรากฏว่ามีรูปวัวอยู่ที่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ของกล่องกระดาษบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมีการระบุไว้โดยชัดแจ้งบนกล่องกระดาษนั้นด้วยว่าผลิตโดยจำเลยที่ 1 ในขณะที่กระป๋องโลหะทรงกลมบรรจุสินค้าของโจทก์มีชื่อโจทก์ปรากฏอยู่และมีข้อความระบุว่าผลิตจากประเทศนิวซีแลนด์ ดังนี้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีข้อแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 5 ตัว และเป็นคำมี 2 พยางค์ โดยมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว "L" ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่าALACTA ของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัว และเป็นคำมี 3 พยางค์ โดยมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว "A" สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองนั้นเป็นสินค้าคนละชนิด บรรจุอยู่ในภาชนะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีราคาแตกต่างกันมาก สาธารณชนย่อมไม่หลงผิดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTAเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA ของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ที่จำเลยที่ 1 โอนให้จำเลยที่ 2 แล้ว เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ดีกว่าจำเลยทั้งสองและไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA
คดีนี้จำเลยทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคตมาด้วย จำเลยทั้งสองจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาต้องคืนแก่จำเลยทั้งสอง
คดีนี้จำเลยทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคตมาด้วย จำเลยทั้งสองจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาต้องคืนแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการจดทะเบียนภายหลัง
ฟ้องโจทก์มิได้โต้เถียงเรื่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับของจำเลยหรือไม่ซึ่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วแต่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1) ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงมิได้วินิจฉัยปัญหาอื่นศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาได้เลยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ พฤติการณ์ที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเป็นการจงใจให้ผู้อื่นหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"POLO"มาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และความเป็นคำสามัญ
คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊กแต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยอุทธรณ์นอกประเด็น และการพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้า
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกงมีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่งเมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราดุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEEKUMKEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า ลีคุมกี หรือลีคุมคีหรือลีคัมกีหรือลีกัมกี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลาง เป็นรูปวงกลมมีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านซ้ายมีอักษรจีนอ่านว่า ลีกัมกี และชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEE อ่านว่า ลีกัมลี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอลเคเคอยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่า ลีคัมกี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลีคุมกี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEEKUMKEEอ่านว่า ลีคัมกี อยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพและตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูปส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐ์ล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีน เหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่า LEEMIANKEE อ่านว่า ลีเมียนกี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรู)2 รูปเรียงกัน รูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจานอาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดด้านขวามีอักษรโรมันอ่านว่า LEEMAINKEE อ่านว่า ลีเมียนกีกับอักษรจีนอ่านว่า ลีเมียนกี รูปที่ 2 ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลง มีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอลเอ็มเคและอักษรจีนอ่านว่าลีเมียนกีอยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูปแม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อย คดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย