พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801-2802/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ ‘เครื่องกระสุนปืน’ และความผิดฐานผลิต/ครอบครองวัตถุออกฤทธิ์/อาวุธปืน: ความผิดหลายกรรมต่างกัน
แม้ลูกระเบิดชนิดซ้อมขว้างแบบเอ็ม 21 อยู่ในสภาพใช้การไม่ได้เพราะไม่ได้บรรจุชนวนถูกทำลายและวัตถุระเบิด ไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนก็ตาม แต่ปรากฏตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้ตรวจพิสูจน์ว่า ลูกระเบิดซ้อมขว้างของกลางอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ จึงต้องฟังว่าลูกระเบิดดังกล่าวใช้การได้ ทั้ง พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(2) หาได้บัญญัติว่าลูกระเบิดที่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนตามบทวิเคราะห์ศัพท์จะต้องทำอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้จึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนไม่ดังนั้น เมื่อเป็นลูกระเบิดที่ใช้การได้ แม้จะไม่มีอานุภาพทำลายล้างไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
การมีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสอง ส่วนการมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่งย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน และความผิดสองฐานนี้แยกออกได้จากการกระทำผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้ครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ความผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขายนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิตเป็นจำนวนเดียวกับที่มีไว้ในครอบครองเพื่อขายแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษเป็นสองกรรมแต่การกระทำในส่วนนี้เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
การมีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสอง ส่วนการมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามมาตรา 55,78 วรรคหนึ่งย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน และความผิดสองฐานนี้แยกออกได้จากการกระทำผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย แม้ครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ความผิดฐานผลิตกับมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขายนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนที่จำเลยผลิตเป็นจำนวนเดียวกับที่มีไว้ในครอบครองเพื่อขายแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษเป็นสองกรรมแต่การกระทำในส่วนนี้เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'เนยเทียม' ตามกฎหมายภาษีอากร โดยพิจารณาจากส่วนประกอบและคุณสมบัติของสินค้า
คำว่า "เนยเทียม" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(3) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิได้ให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะ จึงมีความหมายตามธรรมดา ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามคำว่า "เนยเทียม" ไว้ว่า สิ่งที่ทำจากไขมันหรือน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์นำมาทำให้บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย ในนมจะทำให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนยใช้เป็นอาหารได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์เอาน้ำมันปาล์มไปกลั่นทำให้ได้น้ำมันปาล์มโอเลอีนและไขมันสเตียรีน อันเป็นสินค้า รายพิพาทจึงเป็นเพียงไขมันที่ได้จากพืช ที่ยังไม่ได้ผสมวิตามินเอ และดี กับยังไม่ได้เติมนมและสีที่เหมาะสมให้แบคทีเรีย ในนมทำให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย สเตียรีน จึงไม่เป็นเนยเทียมตามบัญชีที่ 1หมวด 1(3) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1.(ก) แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติเรื่องถอนสัญชาติ ต้องตีความตามกฎหมายว่าหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ที่ว่า ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น คำว่า "บิดา" ในประโยคที่ว่า "บิดาเป็นคนต่างด้าว" กฎหมายมิได้กล่าวว่าให้หมายรวมทั้งบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายบทนี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า "บิดา" ในที่นี้เป็นคำในกฎหมาย จึงต้องตีความว่าหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
บ. คนสัญชาติญวนซึ่งเป็นบิดาโจทก์มิได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย บ. จึงมิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
บ. คนสัญชาติญวนซึ่งเป็นบิดาโจทก์มิได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย บ. จึงมิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และการตีความคำว่า 'ใบอนุญาตขับรถ' ตามกฎหมาย
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่าใบอนุญาตขับรถให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่ง จึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบก เมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงเป็น 'ไม้หวงห้ามประเภท ก.' หรือ 'ไม้อื่น' ที่ต้องออกพระราชกฤษฎีกากำหนด
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางแดงจัดเป็น 'ไม้อื่น' ตามกฎหมาย แม้ถูกกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 5 บัญญัติว่าไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางแดงถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 จึงต้องแปลว่าไม้ยางแดงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2503 มาตรา 5(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 35/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรในอดีตและการพิพากษาคดีตามกฎหมายที่ใช้ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า 'เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา' การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความมาตรา 207(1) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง และการไต่สวนพยานในคำร้องพิจารณาคดีใหม่
การตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207(1)จะต้องตีความอย่างจำกัด อนุมาตรานี้บัญญัติท้าวถึงกรณีตามมาตรา 204 เมื่อมาตรา 204 ถูกยกเลิกไปแล้ว ผลก็เป็นเสมือนว่ามาตรา 207(1) ถูกยกเลิกไปด้วยโดยปริยาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลควรไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนจะพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาต ให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205(3)แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลควรไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนจะพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาต ให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205(3)แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้ามและการตีความกฎหมาย: การออกกฎหมายย้อนหลัง และความรับผิดชอบของผู้แปรรูปไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้วถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลเหนือการตีความกฎหมาย การบังคับคดีต้องยึดตามสัญญา
ในชั้นบังคับคดีตามสัญญายอมความข้อที่ว่า ยอมให้รื้อเอาฉางข้าวหลังเก่ารวมทั้งอุปกรณ์บางอย่างเท่าที่มีอยู่ไปเป็นสิทธิ นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่จะมาตีความของคำว่า "เครื่องอุปกรณ์" ตาม ป.พ.พ. ไม่ ศาลจำต้องวินิจฉัยไปตามสัญญายอม. จะฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากสัญญายอมหาได้ไม่.