คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่ออายุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวน กรณีต่ออายุอนุญาตล่าช้า และการพิสูจน์การซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อครบกำหนดอนุญาตแล้ว โจทก์ได้ยื่นหนังสือต่อทางราชการขอทำกินต่อไปอีก ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวถึงปี 2531 นั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาทางราชการจะส่งเจ้าหน้าที่มารับคำขอเพื่อนำไปจัดทำใบ สทก.2ต่อไป แต่ในปี 2532 ทางราชการมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอจึงไม่ได้จัดส่งคนไปรับคำขอเพิ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปรับคำขอเมื่อปี 2533 กรณีจึงเป็นเรื่องตกค้างจากปี 2533 ซึ่งป่าไม้เขตมีคำสั่งรับใบคำขอของโจทก์แล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทอยู่ต่อเนื่องตลอดมา โจทก์ซึ่งมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการคิดดอกเบี้ยหลังหมดอายุ
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณีที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาชำระหนี้และการต่ออายุสัญญากู้ของผู้กู้มีผลผูกพันผู้ค้ำประกันตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันในการประกันการเพิ่มวงเงินมีข้อความว่าถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือต่ออายุสัญญาเงินกูัให้แก่ผู้กู้โดยจะแจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยการให้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือการให้ต่ออายุสัญญาเงินกู้เช่นว่านั้นทุกครั้งไป แม้สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนการค้ำประกันการเพิ่มวงเงินกู้นั้นจะมีข้อความแตกต่างไปโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเงินกู้ แต่ก็มีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาให้แก่ผู้กู้ชำระหนี้โดยจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป การต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้ในกรณีนี้ก็หมายถึงการผ่อนเวลาชำระหนี้นั่นเอง แม้ไม่มีข้อความระบุถึงการต่ออายุสัญญาโดยตรง เมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยต่ออายุสัญญากู้ให้ลูกหนี้ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมตกลงด้วยผู้ค้ำประกันจึงยกเอาเหตุนี้มาปลดเปลื้องความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตหลังต่ออายุ และผลผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้ ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงต่ออายุอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานจริง
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบกำหนด12 เดือนแล้วไม่มีการต่ออายุสัญญากันใหม่ให้ถือว่าต่อสัญญากันอีกคราวละ 6 เดือนก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 12 เดือนแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีหรือโจทก์ยินยอมให้เบิกได้ คงมีแต่รายการโจทก์นำยอดดอกเบี้ยเข้าทบต้นเดือนละครั้ง จำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าฝากในบัญชีเลย จึงถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยายตั้งแต่วันครบกำหนดตามสัญญาและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันดังกล่าวแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต่ออายุ โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ผ่อนผันเวลาชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้งโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน เช่นนี้จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการต่ออายุตั๋ว
โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทว.ออกให้แก่บริษัทท.โดยจำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทว.ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดบริษัทว.ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วต่อบริษัทท.ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้ง โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำร้องของบริษัทว.ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัทท.ตามที่ได้รับการทวงถาม ดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทว.ในวงเงินที่กำหนดหาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่า หากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้งโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด หากไม่มีการต่ออายุ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อ
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลาของสัญญา 12 เดือนตามสัญญานี้โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยต้องนำเงินเข้าบัญชี มีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลผูกพัน แม้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยล่าช้า และตัวแทนยังไม่ได้นำส่งเบี้ยประกัน
เมื่อเงื่อนไขการเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดมิได้บังคับไว้โดยเด็ด ขาด โดยกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนด บริษัทจำเลยยังผ่อนผันขยายเวลาให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างได้ ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยที่ขาดชำระให้แก่ตัวแทนของจำเลยแล้ว ถือได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตามเงื่อนไขนั้นแล้ว ไม่จำต้องให้จำเลยอนุญาตหรือแสดงเจตนาใหม่ในการรับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แม้ตัวแทนจำเลยยังไม่ได้นำเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่จำเลย และในวันรุ่งขึ้นผู้เอาประกันภัยถูกรถชนถึงแก่ความตาย จำเลยก็ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินต่ออายุได้หลายคราว ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าระยะยาวที่ต้องจดทะเบียน
สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนด 3 ปี แต่มีข้อสัญญาระบุไว้ต่อไปว่าเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าจะต่อสัญญาเช่าที่ดินนี้ให้แก่ผู้เช่าต่อไปอีกคราวละ 3 ปี จนครบ 20 ปี เป็นสัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลาไม่เกินคราวละ 3 ปี และในกรณีเช่นนี้โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 20 ปี ไม่ได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 698/2522)
of 4