พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีปลอม – ความสัมพันธ์ผู้ซื้อ-ผู้ขาย – การใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์ซื้อน้ำมันจากสถานีบริการน้ำมันของ จ. แล้ว จ. นำใบกำกับภาษีของบุคคลอื่นมามอบให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มิได้ซื้อน้ำมันจากผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงออกโดยผู้ที่มิได้ขายน้ำมันให้แก่โจทก์โดยตรง การที่ใบกำกับภาษีดังกล่าวระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อจึงไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ถือได้ว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมปลอมและผลต่อการบังคับคดี การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้โดยไม่ยินยอม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์เพียง 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลังเกินกว่าจำนวนเงินกู้ที่แท้จริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9042-9043/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้ตั๋วเงิน (เช็ค) ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 และ 268
แม้เช็คเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) และโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารสิทธิ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ได้ เช็คถือเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 898 การที่จำเลยนำเช็คธนาคาร ก. ของโจทก์ร่วมมาแก้ไขและเติมข้อความในช่องสั่งจ่ายบ้าง ช่องจำนวนเงินบ้างหรือปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมในช่องสั่งจ่าย แล้วนำเช็คไปขอเบิกเงินจากธนาคาร ก. ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นเช็คที่แท้จริงของโจทก์ร่วม จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการแก้ไขเติมข้อความและลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่โจทก์ร่วมทำขึ้น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคาร ก. การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมตั๋วเงิน จำเลยหาจำต้องปลอมเช็คขึ้นทั้งฉบับ จึงจะเป็นความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินและนำไปใช้เอง จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 (4) ตามมาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย คือลงโทษในบทมาตราที่เบากว่า ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด
เมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงรวมทั้งดุลพินิจในการกำหนดโทษได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงรวมทั้งดุลพินิจในการกำหนดโทษได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ปลอมและพิรุธ โจทก์ฟ้องผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยได้กู้เงินไปเพียง 30,000 บาท แต่โจทก์กลับไปกรอกข้อความในสัญญาเงินกู้เป็นเงินถึง 109,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศไม่กระทบเจตนาพิเศษ
การที่เครื่องหมายการค้าคำว่า FOX-D เครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์ร่วมได้มีการจดทะเบียนในประเทศไทยโดยชอบแล้วมาตั้งแต่ปี 2513 ปี 2518 และปี 2536 โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีสิทธิเพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามดังกล่าวสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 หากบุคคลอื่นเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมดังกล่าวไปใช้กับสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมโดยชอบแล้ว ก็ย่อมมีความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วม หรือถ้าได้มีการจัดทำเครื่องหมายการค้าขึ้นโดยการดัดแปลงแก้ไขให้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมแล้ว ก็ย่อมมีความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมได้
เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จนถึงเวลาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 114 ดังกล่าวโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ และปรากฏว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดมากกว่ากฎหมายเดิม เพราะตามมาตรา 114 เดิม โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้กระทำความผิดเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการและผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย หน้าที่พิสูจน์ให้พ้นความผิดจึงตกอยู่แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ตามมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่หน้าที่พิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตกอยู่แก่โจทก์ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้กระทำความผิดทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสามผลิตโดยใช้เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะไม่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทยโดยจำเลยทั้งสามส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้งหมดก็ตาม แต่เจตนาพิเศษที่จำเลยทั้งสามได้กระทำขึ้นเพื่อให้ประชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมนั้น เป็นเจตนาพิเศษของจำเลยทั้งสามที่เกิดขึ้นเมื่อจำเลยทั้งสามเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วจะได้หลงเชื่อในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทั้งสามได้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
คำว่า "ประชาชน" ตามความหมายในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หมายถึงบุคคลอื่นโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนใดคนหนึ่งหรือเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศแต่อย่างใด หากได้เคยเห็นหรือเคยรู้ว่าเครื่องหมายการค้า BOSNY เป็นของโจทก์ร่วมแล้วได้มาเห็นเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำว่า BOTNY ก็ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษครบองค์ประกอบความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แล้ว
เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จนถึงเวลาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 114 ดังกล่าวโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ และปรากฏว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดมากกว่ากฎหมายเดิม เพราะตามมาตรา 114 เดิม โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์เพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้กระทำความผิดเท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการและผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย หน้าที่พิสูจน์ให้พ้นความผิดจึงตกอยู่แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ตามมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่หน้าที่พิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตกอยู่แก่โจทก์ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 114 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้กระทำความผิดทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสามผลิตโดยใช้เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะไม่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทยโดยจำเลยทั้งสามส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้งหมดก็ตาม แต่เจตนาพิเศษที่จำเลยทั้งสามได้กระทำขึ้นเพื่อให้ประชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมนั้น เป็นเจตนาพิเศษของจำเลยทั้งสามที่เกิดขึ้นเมื่อจำเลยทั้งสามเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วจะได้หลงเชื่อในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทั้งสามได้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
คำว่า "ประชาชน" ตามความหมายในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หมายถึงบุคคลอื่นโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนใดคนหนึ่งหรือเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศแต่อย่างใด หากได้เคยเห็นหรือเคยรู้ว่าเครื่องหมายการค้า BOSNY เป็นของโจทก์ร่วมแล้วได้มาเห็นเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำว่า BOTNY ก็ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษครบองค์ประกอบความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมและการพิสูจน์การกู้ยืมเงิน
จำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์โดยขณะกู้ยืมและขณะจำเลยลงลายมือชื่อหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทยังไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้เลย ต่อมาโจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินกู้ขึ้นเองในภายหลังเป็นจำนวนเงินมากกว่าที่กู้จริงโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นสัญญากู้ปลอม ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อปลอมในคดีอาญา ศาลฎีกาชี้ว่าความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงข้อมูลประกอบ ไม่ผูกพันศาล
แม้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจพิสูจน์จะเห็นว่าลายมือ มีคุณลักษณะและรูปลักษณะของการเขียนแตกต่างกัน น่าจะไม่ใช่ ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยตลอดแล้วการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ รับสภาพหนี้เป็นเอกสารที่ทำไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2536 ไม่ปรากฎว่าโจทก์มีเอกสารที่ได้ทำขึ้นในช่วง ระยะใกล้เคียงกับวันดังกล่าวซึ่งเป็นการเขียนแบบบรรจงส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบลายมือชื่อโจทก์ด้วยทั้งรูปแบบการเขียนลายมือชื่อโจทก์ที่ระยะเวลาใกล้เคียงกับเอกสารที่จะต้องตรวจพิสูจน์ก็ไม่มี ดังนั้น ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้น เนื่องจากลายมือชื่อโจทก์มีคุณสมบัติการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อโจทก์ในใบแต่งทนายความซึ่งเป็นลายมือเขียนหวัดและเวลาเขียนต่างกันตามกาลเวลา ผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อโจทก์ และการวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มี กฎหมายบังคับให้ศาลต้องฟังตามข้อสันนิษฐานหรือข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใด ทั้งมิใช่ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรแล้วศาลต้องฟังเสมอไป เมื่อโจทก์ยังมี ภาระหน้าที่นำสืบว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด การที่โจทก์รับว่าเช็คทั้งสามฉบับอยู่ในความครอบครองของ จำเลยที่ 1 ตลอดมาย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นในลักษณะ ลายมือชื่อโจทก์มาก่อนที่มีการทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ จึงไม่มีเหตุผลประการใดที่จำเลยทั้งสองจะทำการปลอมลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นแบบตัวบรรจงให้แตกต่างออกไปให้เห็นได้โดยประจักษ์พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมและการวินิจฉัยประเด็นนอกคำคู่ความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญจะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5356/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงจากการใช้เช็คเดินทางปลอมเป็นกรรมเดียวแต่หลายกรรมต่างกันตามแต่ละธนาคาร
จำเลยที่ 1 กับพวกปลอมหนังสือเดินทางและเช็คเดินทางรวม 12 ฉบับแล้วแยกนำไปใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารต่าง ๆ รวม 4 ธนาคารในคราวเดียวกันในแต่ละธนาคาร โดยมีเจตนาเพียงประการเดียวเพื่อฉ้อโกงเงินจากธนาคารแต่ละธนาคารด้วยการขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้นให้ได้ ความผิดข้อหาปลอมหนังสือเดินทางและเช็คเดินทางกับใช้เอกสารปลอมดังกล่าวแต่ละครั้งในแต่ละธนาคาร จึงเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษข้อหาใช้เช็คเดินทางปลอมซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด แต่จำเลยที่ 1ได้ใช้เช็คเดินทางปลอมดังกล่าวที่ธนาคารต่าง ๆ รวม 4 ธนาคารการกระทำความผิดในส่วนนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมรวม 4 กรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตวัตถุมีพิษปลอมและการกำหนดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ ข. เป็นการผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปน เพื่อการค้าอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา 11,36 ส่วนตามฟ้องข้อ ค.เป็นการผลิตยาฆ่าปู มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา12,37 การกระทำความผิดในฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นการผลิตวัตถุมีพิษต่างชนิดกัน กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ความผิด 2 ฐานนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่ความจริงนั้น เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา13 ตรี(1),13 จัตวา(3),38 ตรี ลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90ส่วนที่จำเลยผลิตยาฆ่าปูมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงดังกล่าวปลอม โดยได้แสดงชื่อ หรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริงนั้น เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด คือ ตาม พ.ร.บ. วัตถุมีพิษฯ มาตรา 13 ตรี(1),13 จัตวา(3),38 ตรี ลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90.