คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พัสดุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อโดยมิชอบตามระเบียบพัสดุ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และความเสียหายต่อโจทก์
ร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิพาทโดยตรง อีกทั้งหนังสือพิพาทไม่ใช่หนังสือภาคบังคับตามหลักสูตรของโจทก์ เพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือพิพาทหากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย การจัดซื้อหนังสือพิพาทจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 แม้การจัดซื้อดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือเวียนที่มีถึงส่วนราชการต่าง ๆ หนังสือดังกล่าวก็มิใช่คำสั่ง แต่เป็นเพียงข้อเสนอแนะชักชวนให้สนับสนุนกิจการด้านสหกรณ์กลาโหม จำกัดเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น การที่จำเลยที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขออนุมัติจัดซื้อหนังสือพิพาท จำเลยที่ 9 ในฐานะรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นกรรมการจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีพิเศษ ซึ่งเป็นการผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ และเป็นการเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อวัสดุก่อสร้างโดยมิได้ทำตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้
แม้พันตำรวจเอก ผ. นายกเทศมนตรีจะสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยเขียนข้อความลงในนามบัตรของตนแล้วมอบให้ ว. ไปติดต่อสั่งซื้อจากโจทก์ก็ตามแต่การซื้อโดยวิธีพิเศษนี้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 17,20 และ 22 กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุต้องจัดทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจสั่งซื้อถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหลังสุดภายในเวลา 2 ปีงบประมาณวงเงินที่จะซื้อ กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น รวมทั้งการขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อเพื่อในนายกเทศมนตรีอนุมัติก่อน แต่ปรากฏว่าโจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้จำเลยทันทีทั้งที่เจ้าหน้าที่พัสดุยังไม่ได้ทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรี เมื่อนายกเทศมนตรียังมิได้ให้ความเห็นชอบในรายงานดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ด้วยวิธีพิเศษ การที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่จำเลยจึงเป็นการกระทำโดยพลการของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8341/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อพัสดุโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย การกระทำละเมิดของข้าราชการและการรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 ข้อ 14 ระบุว่าการซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 10,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น(5) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง แต่หนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นั้น มิใช่แบบเรียนที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น ดังนั้นแม้ทางโรงเรียนจะเปิดเรียนถึงเทอมที่ 2 ก็ไม่ใช่กรณีเร่งด่วนเพราะเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น แม้จะล่าช้าไปบ้างก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย และแม้ว่าเป็นช่วงปลายปีงบประมาณก็ไม่ใช่เป็นเหตุเร่งด่วนที่จะต้องจัดซื้อตามระเบียบดังกล่าวอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ก็ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงตามข้อ 14(5) แห่งระเบียบดังกล่าวนั้น การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มต้นเสนอเรื่องขออนุมัติจัดซื้อหนังสือดังกล่าวจากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด โดยผ่านจำเลยที่ 2 ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้อนุมัติเมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องซื้อหนังสือพิพาทแพงไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากหน้าที่ตรวจสอบการจัดซื้อพัสดุ: ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจอนุมัติ
หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อในของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอ และเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ.เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ว่า ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7 รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซอง คณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8 อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเองดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4ซึ่งเป็นวันทำละเมิด
จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด
แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่จำเลยที่ 3ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัด เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆ ซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529 ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายังรองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไปกรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่องไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอเลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการตรวจรับสินค้าและการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาซื้อลูกสูบจากโจทก์ แม้ปรากฏว่าลูกสูบชุดแรกที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยเป็นลูกสูบที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา แต่จำเลยก็ไม่ได้นำสืบว่าโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าลูกสูบดังกล่าวเป็นลูกสูบที่ ไม่ถูกต้อง ยังขืนนำมาส่งมอบให้แก่จำเลย ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าจำเลยมีความสงสัยว่าลูกสูบนั้นไม่ถูกต้องตามสัญญาจึงได้บันทึก ในใบส่งของว่า รับลูกสูบไว้เพื่อตรวจสอบ จำเลยจึงมีหน้าที่ ตรวจสอบแล้วแจ้งให้โจทก์ทราบว่าถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ เพื่อ โจทก์จะได้จัดการหามาเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อสัญญา จำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบดังกล่าว ต่อมาจำเลยกลับมีหนังสือ ถึงโจทก์ว่าบัดนี้ได้เกินกำหนดอายุสัญญาแล้ว โจทก์ไม่ส่งของให้ จำเลยอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์ได้ยืนยันว่าส่งลูกสูบให้จำเลยแล้ว แทนที่จำเลยจะมีหนังสือชี้แจงต่อโจทก์ว่าสินค้าของโจทก์ที่ส่งไป ชุดแรกไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยกลับมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งของตาม สัญญาและให้นำค่าปรับมาชำระ โจทก์จึงยืนยันกลับไปยังจำเลยว่า ส่งสินค้าให้จำเลยถูกต้องตามสัญญาแล้ว ต่อมาเพื่อตัดความรำคาญ โจทก์จึงส่งสินค้าลูกสูบอีกชุดหนึ่งให้จำเลย จำเลยรับว่าลูกสูบ ชุดหลังถูกต้องตามสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์ส่งลูกสูบที่ถูกต้อง ให้จำเลยล่าช้าเกิดจากความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 48 ประกอบระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยการ บริหารงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2522ข้อ 91 โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่าย ผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิปรับโจทก์และเมื่อจำเลยได้รับลูกสูบ ชุดหลังไว้ถูกต้องตามสัญญาจำเลยจะต้องชำระราคาสินค้าดังกล่าว ให้โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ย แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของพนักงานจัดเก็บพัสดุ: ไม่ต้องรับผิดหากไม่มีส่วนรู้เห็นและหัวหน้างานไม่ควบคุมดูแล
จำเลยเป็นพนักงานรับจ่ายพัสดุ ทั่วไป ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล รักษาพัสดุ ในคลังพัสดุ ถึงแม้ ก. หัวหน้าแผนกวัสดุทั่วไปมีคำสั่งให้จำเลยกับพวกจัดเก็บพัสดุ ในคลังพัสดุ เข้าที่เก็บให้เรียบร้อยก็ตาม แต่โดยหน้าที่ ก. จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุในคลังพัสดุ โดยตรง ความรับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุ ที่เก็บรักษาไว้ในคลังพัสดุ หาโอนไปยังจำเลยกับพวกที่จัดเก็บไม่ ทั้งจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับพัสดุ หัวฉีด ที่หายไปตั้งแต่ต้น การที่หัวฉีด ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในช่องเก็บของให้เรียบร้อยมาตั้งแต่แรกก็ไม่ใช่ความผิดของจำเลย นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่ามีคนร้ายงัดคลังพัสดุ แล้วขโมยพัสดุ ไปหรือพัสดุ ได้หายไปในระหว่างที่จำเลยทำหน้าที่พนักงานรับจ่ายพัสดุ หรือในระหว่างที่จำเลยจัดเก็บพัสดุ เข้าที่เก็บ การที่จำเลยไม่รายงานเกี่ยวกับการจัดเก็บพัสดุ ให้ ก. ทราบไม่ใช่ผลโดยตรง อันเป็นเหตุให้หัวฉีด ของโจทก์หายไป ก. สามารถที่จะตรวจตราพัสดุ ในคลังและสั่งให้ผู้อื่นเข้าไปทำหน้าที่แทนจำเลยได้ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้หัวฉีด ของโจทก์สูญหายไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่พัสดุ: การเก็บรักษาพัสดุที่ปลอดภัยและแจ้งตรวจรับ
จำเลยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ กองคลังของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานพัสดุ จำเลยได้รับพัสดุเครื่องมือแพทย์จำนวน 7 หีบห่อมาเก็บรักษาแต่ห้องเก็บพัสดุของโจทก์มีของเก็บอยู่เต็ม จำเลยจึงนำพัสดุดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่ห้องพัสดุของอีกกองหนึ่งโดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งห้องเก็บพัสดุดังกล่าวอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องไม่มีหน้าต่าง มีประตู 2 ประตู ประตูหนึ่งใส่กลอนไว้อีกประตูหนึ่งมีกุญแจลูกบิด มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจ ชั้นบนของห้องดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ การนำพัสดุไปฝากเก็บที่กองอื่นก็ไม่มีระเบียบให้ต้องขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว แม้จำเลยจะมิได้จัดเวรยามเฝ้าก็ปรากฏว่าหลังเลิกงานมีเวรยามของกรมดูแลอยู่แล้ว และการที่จำเลยจัดให้คณะกรรมการตรวจรับหลังจากรับของประมาณ 10 วัน เนื่องจากต้องตรวจสอบและแปลเอกสารก็มิได้เนิ่นนานเกินสมควร การที่พัสดุดังกล่าวหายไปบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อความเสียหายของพัสดุ: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและเหตุสุดวิสัย
จำเลยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ กองคลัง ของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุ จำเลยได้รับพัสดุเครื่องมือแพทย์จำนวน 7 หีบห่อมาเก็บรักษา แต่ห้องเก็บพัสดุของโจทก์มีของเก็บอยู่เต็ม จำเลยจึงนำพัสดุดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่ห้องพัสดุของอีกกองหนึ่งโดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งห้องเก็บพัสดุดังกล่าวอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องไม่มีหน้าต่างมีประตู 2 ประตูประตูหนึ่งใส่กลอนไว้ อีกประตูหนึ่งใช้กุญแจลูกบิด มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจ ชั้นบนของห้องดังกล่าวมีเจ้าหนี้ที่ทำงานอยู่การนำพัสดุไปฝากเก็บที่กองอื่นก็ไม่มีระเบียบให้ต้องขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชาถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วแม้จำเลยจะมิได้จัดเวรยามเฝ้าก็ปรากฏว่าหลังเลิกงานมีเวรยามของกรมดูแลอยู่แล้ว และการที่จำเลยจัดให้คณะกรรมการตรวจรับหลังจากรับของประมาณ 10 วัน เนื่องจากต้องตรวจสอบและแปลเอกสารก็มิได้เนิ่นนานเกินสมควร การที่พัสดุดังกล่าวหายไปบางส่วนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสินค้าสูญหาย: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจาก ส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกา เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรก ที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส.มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส.จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่ กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1 จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่ง ประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับ กฎหมายไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของพัสดุ: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุและข้อตกลงระหว่างประเทศ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจากส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรกที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส. มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส. จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่งประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับกฎหมายไม่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่ การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จำนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
of 2