คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้ำซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มละคดี เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีหนึ่งไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งซ้ำซ้อนหลังมีคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญา ศาลต้องห้ามรับฟ้องในส่วนดอกเบี้ยและเงินต้น
คดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลอมใบรับน้ำมันแล้วนำใบรับน้ำมันปลอมไปขอรับน้ำมันจากสถานีคลังน้ำมันของโจทก์โดยไม่ชอบ รวมเป็นเงินค่าน้ำมันทั้งสิ้น 724,239.38 บาท ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 946,037.69 บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 724,239.38 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคำขอโจทก์ในคดีอาญาเรื่องก่อนคือการคืนหรือให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลในคดีอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาได้และเมื่อศาลในคดีอาญาได้รับคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาโดยชอบแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ศาลจึงไม่อาจรับวินิจฉัยคำขอเรื่องดอกเบี้ยในคดีนี้ได้ แม้ในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์มิได้มีคำขอในคดีอาญาก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนี้เป็นดอกผลที่เกิดตามเงินต้นตามกฎหมาย การฟ้องร้องในคดีแพ่งเรื่องนี้ที่ขอบังคับจำเลยในส่วนดอกเบี้ยจึงอาศัยและพึงต้องฟ้องมาในคราวเดียวกับเงินต้น จึงต้องห้ามตามคำฟ้องในส่วนเงินต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าภาษีซ้ำซ้อนเมื่อคดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา และอายุความสะดุดหยุดลงจากการแจ้งประเมิน
ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่1ได้ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีที่จำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ในคดีนี้และคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาดังนี้การที่จำเลยที่1ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามความในมาตรา30(2))แห่งประมวลรัษฎากรคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภาษีอากรที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวนอกจากนี้การที่จำเลยที่1ยังไม่ชำระเงินค่าภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์และไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยที่1ทราบเท่ากับเป็นการสั่งให้จำเลยที่1ชำระค่าภาษีอากรประเมินตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติให้อำนาจไว้ซึ่งหากจำเลยที่1ไม่ชำระค่าภาษีอากรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดโดยไม่จำต้องมีการฟ้องคดีอีกการที่โจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบจึงมีผลบังคับตามกฎหมายที่ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการที่เจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173เดิมซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำซ้อน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลแรงงานกลาง เนื่องจากข้อเท็จจริงในคดีก่อนผูกพันโจทก์
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นจากโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยจำเลยไม่ได้กระทำผิดแม้โจทก์จะให้การต่อสู้คดีในคดีนั้นว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยเพราะโจทก์เลิกจ้างจำเลยเนื่องจากจำเลยกระทำผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์หายไป5,621,315.14บาทประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนก็มีเพียงว่าจำเลยฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นจากโจทก์ได้ดังฟ้องของจำเลยเพียงใดหรือไม่แต่ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปให้โจทก์เพียงใดหรือไม่การที่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำละเมิดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไป5,621,315.14บาทคดีนี้จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ดังฟ้องโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนคดีนี้จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้ำกับคดีก่อนแต่เนื่องจากในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาอันถึงที่สุดแล้วว่าโจทก์ในคดีนี้ได้เลิกจ้างจำเลยในคดีนี้โดยจำเลยไม่ได้กระทำความผิดจำเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปดังที่โจทก์ให้การต่อสู้คดีในคดีก่อนคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ในคดีนี้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปโจทก์จึงกลับมาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าโจทก์สูญหายไปไม่ได้ทั้งนี้ตามนัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน: โจทก์ต่างฐานะสิทธิ แม้คำขอบังคับเหมือนกัน ก็ไม่ถือว่าฟ้องซ้ำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์เข้าไปก่อสร้างอาคารเพื่อรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคารขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่ากับผู้จองเช่าอาคารส่วนคดีซึ่งจำเลยอ้างนั้นโจทก์รับมอบอำนาจจากผู้จองเช่าอาคารฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่าโจทก์คดีนี้กับคดีที่ผู้จองเช่าอาคารเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่างกันด้วยฐานะบุคคลและฐานะสิทธิก็แยกแตกต่างกันจึงมิใช่โจทก์เดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)ส่วนคำขอบังคับท้ายฟ้องแม้จะเหมือนกันแต่ในชั้นบังคับคดีย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6123/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับไถ่ถอนจำนองที่ซ้ำซ้อนกับคดีบังคับคดีเดิม ศาลไม่รับฟ้องคดีใหม่ ต้องแก้ไขในชั้นบังคับคดี
คดีเดิมจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องบังคับจำนองเอาแก่โจทก์คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์คดีนี้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแต่โจทก์คดีนี้ไม่ชำระจำเลยคดีนี้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนองออกขายทอดตลาดโจทก์คดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อนโดยอ้างว่าได้ชำระหนี้ให้จำเลยคดีนี้แล้วและได้ยื่นฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าได้ชำระหนี้ให้จำเลยคดีนี้แล้วขอให้บังคับให้ไถ่ถอนจำนองดังนี้คำฟ้องคดีนี้เป็นข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการบังคับคดีในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิมในชั้นบังคับคดีไม่ชอบที่จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน: คดีที่ฟ้องก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นและคู่ความเดียวกัน
โจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกับคดีนี้ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้กับโจทก์ในคดีก่อนเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 8ถึงที่ 20 ในคดีนี้ก็เป็นคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ในคดีก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20 เป็นคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อนซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อน: การฟ้องคดีหมิ่นประมาทในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลอื่นรับไว้แล้ว ทำให้ฟ้องต้องห้าม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครเหนือว่าจำเลยโฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในหนังสือพิมพ์รายวันศาลแขวงพระนครเหนือได้ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในเหตุอย่างเดียวกันอีกวันกระทำผิดและสถานที่เกิดเหตุก็ตรงกัน คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427-2428/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน-การบอกเลิกสัญญา-การลดค่าจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้อง, สิทธิบอกเลิกสัญญา, และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
สำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารพักอาศัยจากจำเลยผู้ว่าจ้าง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้าง จำเลยเสียหายและได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าปรับและค่าเสียหาย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยฟ้องโจทก์สำนวนหลังฐานผิดสัญญาจ้างนั้นเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว ดังนี้ สำนวนหลังเป็นฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) เพราะเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องเดิมที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว การที่จำเลยสงวนสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไว้ในฟ้องแย้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษขึ้นแต่ประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยฟ้องสำนวนหลังให้ จึงเป็นการไม่ชอบ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้หยิบยกขึ้น ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
สัญญามีกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จเป็นงวดไว้แน่นอน และกำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นรายวันในกรณีมีการผิดสัญญา แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันเมื่อโจทก์ก่อสร้างล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะถือเอากำหนดเวลาก่อสร้างเป็นสารสำคัญ แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ก่อสร้างให้เสร็จให้เสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังก่อสร้างไม่เสร็จอีก จำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้
การชำรุดบกพร่องของการก่อสร้างงวดที่ได้รับมอบงานไปแล้ว จำเลยได้แต่จะเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 แต่จะยกมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นลดเงินค่าจ้างโจทก์ลงมา มีผลเท่ากับให้จำเลยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน ในขั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้เพียงว่าโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้อง เพราะจำเลยนำสืบมีหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยดังฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กล่าวโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายตอนใดผิดถูกอย่างใด เหตุใดจึงควรได้ค่าเสียหายตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ในชั้นฎีกาจำเลยจึงได้แสดงรายละเอียดที่จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427-2428/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน-การบอกเลิกสัญญา-ความเสียหายจากการก่อสร้างชำรุด: ศาลฎีกาพิพากษาการฟ้องซ้ำซ้อนเป็นเรื่องที่กฎหมายห้าม และชี้ว่าการบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามขั้นตอน
สำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารพักอาศัยจากจำเลยผู้ว่าจ้าง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้าง จำเลยเสียหายและได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าปรับและค่าเสียหาย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยฟ้องโจทก์สำนวนหลังฐานผิดสัญญาจ้างนั้นเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว ดังนี้ สำนวนหลังเป็นฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) เพราะเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องเดิมที่ได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว การที่จำเลยสงวนสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมไว้ในฟ้องแย้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษขึ้นแต่ประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยฟ้องสำนวนหลังให้ จึงเป็นการไม่ชอบ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้หยิบยกขึ้น ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
สัญญามีกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จเป็นงวดไว้แน่นอน และกำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นรายวันในกรณีมีการผิดสัญญา แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันเมื่อโจทก์ก่อสร้างล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะถือเอากำหนดเวลาก่อสร้างเป็นสารสำคัญ แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้ จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้ จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ก่อสร้างให้เสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังก่อสร้างไม่เสร็จอีก จำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาได้
การชำรุดบกพร่องของการก่อสร้างงวดที่ได้รับมอบงานไปแล้วจำเลยได้แต่จะเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600 แต่จะยกมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นลดเงินค่าจ้างโจทก์ลงมา มีผลเท่ากับให้จำเลยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้เพียงว่าโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้อง เพราะจำเลยนำสืบมีหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยดังฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้กล่าวโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อกฎหมายตอนใดผิดถูกอย่างใด เหตุใดจึงควรได้ค่าเสียหายตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ในชั้นฎีกาจำเลยจึงได้แสดงรายละเอียดที่จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 2