พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงและการฟ้องเกิน 1 ปี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ด. บิดาจำเลย ต่อมาก่อน ด. จะถึงแก่ความตาย ด. ได้ขายให้โจทก์โดยการส่งมอบ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมา จึงได้สิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ด. ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อทำกินต่างดอกเบี้ย มิได้ครอบครองเพื่อตน หลังจาก ด. ถึงแก่ความตายโจทก์จำเลยฟ้องร้องกันเป็นคดีอาญาและต่างฝ่ายต่างถอนฟ้องไปแล้วจำเลยได้กลับเข้าครอบครองที่ดินพิพาท เพราะเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้นไม่เคยตกเป็นของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจมีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852-6854/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายก่อนมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเป็นโมฆะ, ฟ้องเกินกำหนดระยะเวลา
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องดำเนินกิจการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่กำหนดว่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เชิญให้โจทก์ที่ 1 มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 มิใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เอกสารที่เป็นหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ เอกสารหมาย จ. 11 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535 เรื่องแจ้งให้โจทก์ที่ 1 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ที่ 1 ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วในวันที่ 7 ธันวาคม 2535 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการฟ้องเกินกำหนด: ผลกระทบต่อการรับฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ส่วนการที่จะนำมาใช้ในท้องที่ใด เมื่อใดนั้นก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาได้ระบุให้ใช้เฉพาะในเขตหรืออำเภอเมืองบุรีรัมย์ คูเมือง นางรอง บ้านกรวด ประโคนชัยลำปลายมาศและสตึกเท่านั้น มิได้ระบุให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ตำบลทองหลางกิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ ในอันที่จะต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้ผัดฟ้องหาได้ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกปัญหาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินกำหนดระยะเวลาโดยมิได้มีการผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดขึ้นวินิจฉัยโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อใด และผลของการฟ้องเกินกำหนด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้น ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ คดีนี้โจทก์ไม่ได้เรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาแก่จำเลย แต่เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น จึงมีอายุความเพียง 1 ปี
โจทก์ตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสืบสวนได้รายงานผลการสืบสวนแก่อธิการบดีในฐานะผู้แทนโจทก์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 อธิการบดีผู้แทนโจทก์ทราบแล้วได้นำไปศึกษา และสั่งให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำเสนอโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ต่อมาผู้แทนโจทก์ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่กับพวกตามที่คณะกรรมการเสนอไว้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 หรืออย่างช้าที่สุดวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการเสนอรายงานครั้งสุดท้าย อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะยังไม่ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ เพราะการสั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นเรื่องภายในของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะยกมาอ้างเป็นข้อยกเว้นในเรื่องอายุความได้ เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนถึงวันที่ 22 กันยายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสืบสวนได้รายงานผลการสืบสวนแก่อธิการบดีในฐานะผู้แทนโจทก์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 อธิการบดีผู้แทนโจทก์ทราบแล้วได้นำไปศึกษา และสั่งให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำเสนอโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ต่อมาผู้แทนโจทก์ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่กับพวกตามที่คณะกรรมการเสนอไว้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 หรืออย่างช้าที่สุดวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการเสนอรายงานครั้งสุดท้าย อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะยังไม่ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ เพราะการสั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นเรื่องภายในของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะยกมาอ้างเป็นข้อยกเว้นในเรื่องอายุความได้ เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนถึงวันที่ 22 กันยายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ว่าในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นซึ่งหมายความว่าถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน1ปีแล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นหรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน1ปีแต่ก็พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่าน.ส.3ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่15มกราคม2525ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรกการกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่15มกราคม2525โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2535จึงพ้น10ปีฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุมีสิทธิฟ้องเกิน 1 ปี หากนำสืบพิสูจน์ได้ว่ายังไม่ขาดอายุความ
เรื่องอายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดแม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทำละเมิดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ทำให้สิทธิฟ้องระงับ แม้จำเลยยังไม่ได้ให้การ
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การฟ้องเกินกำหนด 30 วัน และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม มาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับและข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาวส.อายุ 18 ปีคนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญ มาตรา 95 (3) โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งจากการกระทำละเมิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การฟ้องเกินกำหนดทำให้ขาดอายุความ
การที่จำเลยขุดและล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของนาโจทก์ตามสำนวนคดีอาญา เฉพาะแต่รัฐเท่านั้นที่ฟ้องจำเลยได้ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว การที่โจทก์จะฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เพียงไรหรือไม่ขึ้นอยู่กับโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จากการที่จำเลยขุดและล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะเพียงไรหรือไม่ การฟ้องคดีแพ่งจึงมิได้อาศัยผลแห่งคดีอาญาดังกล่าว จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกินหนึ่งปีนับแต่วันทำละเมิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์