พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษตามความผิดที่บรรยายฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุวรรคของมาตราในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยเนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำเลยในความผิดอื่น แม้โจทก์มิได้ขอตามมาตรานั้น
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 343ก็ตาม แต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำที่มีองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกง ป.อ.มาตรา 341 ด้วย ดังนั้นเมื่อปรากฏในชั้นพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 แม้โจทก์จะไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.192 วรรคสาม หาใช่เป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(1) วรรคแรก มีโทษหนักกว่า มาตรา 336 วรรคแรก ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรก และมาตรา 335 (1)วรรคแรก เป็นบทกฎหมายที่ระวางโทษขั้นสูงเท่ากัน แต่มาตรา 335 (1)วรรคแรก มีระวางโทษขั้นต่ำไว้ด้วย ความผิดตามมาตรา 335 (1) วรรคแรกจึงมีโทษหนักกว่าความผิดตามมาตรา 336 วรรคแรก ต้องลงโทษตามมาตรา 335 (1) วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุมาตราในฟ้องอาญา ไม่จำเป็นต้องระบุวรรค ศาลมีหน้าที่ปรับบทตามข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด..." เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าว เพียงแต่อ้างบทมาตราก็เพียงพอแล้วหาจำต้องระบุวรรคด้วยไม่ เพราะการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดวรรคใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทมาตราและวรรคให้ถูกต้องตามฟ้องและข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเรียกเก็บอากรเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: เงื่อนไขและข้อแตกต่างของมาตรา
การเรียกอากรขาเข้าเพิ่มเอีกร้อยละยี่สิบตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะสองกรณีคือ กรณีมิได้ชำระอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ ประการหนึ่ง กับกรณีมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 อีกประการหนึ่ง มิได้มีกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา19 ตรีแต่อย่างใด และสาระสำคัญของมาตรา 40 กับมาตรา 19 ตรี ก็แตกต่างกันกล่าวคือ มาตรา 40 เป็นเรื่องกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรทั่ว ๆ ไป แต่มาตรา 19 ตรีเป็นเรื่องค้ำประกันการนำเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 19 ทวิ ที่เกี่ยวกับสิทธิในการจะขอคืนอากรขาเข้าและเป็นกรณีสำหรับเฉพาะสินค้าหรือสิ่งของบางประเภทหรือบางกรณีเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา40 จึงมิได้ใช้บังคับกับกรณีมาตรา 19 ทวิ และ 19 ตรี และเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: ศาลต้องระบุมาตราและวรรคที่ผิดชัดเจน การแก้คำพิพากษาโดยอุทธรณ์ชอบแล้ว
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 8เป็นบทกำหนดโทษที่แก้ไขใหม่ของมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 8เท่ากับลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 76(ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งความผิดตามมาตรา 76 ดังกล่าวมีหลายวรรคแต่ละวรรคกำหนดโทษไว้แตกต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่ระบุว่าจำเลยมีความผิดวรรคใดย่อมไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์แก้เสียให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์: การระบุวรรคมาตราที่ถูกต้องและการพิจารณาบทเพิ่มโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวและใช้ยานพาหนะในการกระทำผิดโดยไม่ระบุวรรคในมาตราที่จำเลยกระทำผิดและใช้คำว่าเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี นั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 340 ตรี เป็นบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง,83,340 ตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฉ้อโกงประชาชน: ศาลไม่ต้องปรับบทลงโทษซ้ำหากลงโทษตามมาตราอื่นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,343 ดังนี้ เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 341 อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานชิงทรัพย์ผิดมาตรา: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสมกับพฤติการณ์ความผิด
ความผิดฐานชิงทรัพย์ จะปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแปด ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะความในบทบัญญัติมาตรานี้มีเพียง 5 วรรคเท่านั้น และที่ลงโทษจำคุก 12 ปีนั้นอยู่ในระวางโทษของวรรคสี่ แต่เมื่อการชิงทรัพย์รายนี้เพียงแต่กระทำในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ จึงเข้าเกณฑ์ของวรรคสอง ไม่ใช่วรรคสี่ โทษที่ลงแก่จำเลยนั้นจึงเกินอัตราไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายยาสูบ แม้ฟ้องอ้างมาตราเดิม ศาลลงโทษตามมาตราแก้ไขใหม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบโดยคำขอท้ายฟ้องระบุอ้างพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 24ซึ่งเป็นบทมาตราความผิดและมาตรา 50 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 มาแล้ว เมื่อศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 24 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุอ้างมาตรา 18 พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2512 ซึ่งยกเลิกแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติกำหนดโทษขึ้นใหม่แทนกำหนดโทษในมาตรา 50 เดิม ศาลก็ลงโทษจำเลยตามกำหนดโทษในมาตรา 18 พระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2512 ได้