พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12213/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด: ความแตกต่างระหว่างมาตรา 29 และ 30, สิทธิในการขอคืนทรัพย์สิน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 ซึ่งกระบวนการการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินทั้งสองกรณีกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกันโดยแยกต่างหากจากกัน ทั้งขั้นตอนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินหรือร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 และ 30 ก็มีความแตกต่างกันคือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 จะต้องมีการปิดประกาศไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และที่สถานีตำรวจท้องที่ที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างน้อยเจ็ดวันและให้ประกาศอย่างน้อยสองวันติดต่อกันในหนังสือพิมพ์ที่มีแพร่หลายในท้องถิ่น ส่วนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 30 นั้น ไม่ต้องมีการปิดประกาศในที่ใด ๆ แต่ต้องมีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน นอกจากนี้การขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 นั้น ผู้เป็นเจ้าของสามารถร้องขอคืนได้ก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบคำสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิบุคคล: หลักการตามมาตรา 30 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งมุ่งหมายให้ศาลทำหน้าที่ค้นคว้าหาความจริงและตรวจสอบการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ หาใช่เพียงแต่ควบคุมการพิจารณาและปล่อยให้คู่ความคอยระวังรักษาผลประโยชน์ของตนดังเช่นคดีแพ่งไม่ แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่า คู่ความประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 3, 4, 5 และ 37 หรือไม่ โดยมิได้กล่าวถึงมาตรา 30 ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์แล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้ศาลตรวจสอบการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องถือว่าโจทก์ยังประสงค์ให้ศาลพิจารณาและวินิจฉัยว่า การออกคำสั่งที่ 689/2540 ของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 30 หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสละประเด็นข้อนี้แล้ว
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) บัญญัติมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แก่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง ส่วนงานใดเป็นงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 อันว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 ถึงมาตรา 89 ซึ่งเป็นแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแนวทางที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงชี้แจงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาแล้ว งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คืองานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตาม มาตรา 4 (7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 4 (3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 689/2540 ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 50
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) บัญญัติมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แก่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง ส่วนงานใดเป็นงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 อันว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 ถึงมาตรา 89 ซึ่งเป็นแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแนวทางที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงชี้แจงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาแล้ว งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คืองานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตาม มาตรา 4 (7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 4 (3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 689/2540 ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าคอนเดนเซอร์ และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้ กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการ ผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรสำหรับคอนเดนเซอร์เครื่องปรับอากาศ และข้อยกเว้นการประเมินภาษีตามมาตรา 30
สินค้าคอนเดนเซอร์ ที่จำเลยนำเข้ามาเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายมิใช่เครื่องปรับอากาศที่ใช้ระบาย ความร้อนของเครื่องจักรและเครื่องคอนเดนเซอร์ ที่จำเลยนำเข้ามานั้นในตัวเอง ไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าตัวอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15 ข .จำเลยจึงต้องเสียอากรในพิกัดอัตราร้อยละ 80 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของปี พ.ศ. 2522 อันเป็นเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 จึงได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติ มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 โจทก์ที่ 2 จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม กับเงินเพิ่มหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข. จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากร และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการยื่นคำขอตามมาตรา 30
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย: การส่งหนังสือแจ้งประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตามมาตรา 30
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นทุกประการ
พิพากษายืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 30
จำเลยส่งแบบแจ้งการประเมินแก่โจกท์ ไม่มีผู้ใดยอมรับ จำเลยจึงนำแบบแจ้งการประเมินไปปิดไว้ที่หน้าประตูสำนักงานโจทก์ตามที่โจทก์ระบุในการยื่นแบบ อ.1 แม้สำนักงานดังกล่าวจะเป็นสำนักงานสาขาของโจทก์ก็รวมอยู่ในความหมายของคำว่าสำนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ที่ให้ใช้บังคับขณะนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปิดแบบแจ้งการประเมิน ณ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 วรรคหก (2) กำหนดไว้มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 30 บังคับแก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสีย...โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนด นี้ใช้บังคับ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบก่อนวันที่พระราชกำหนดใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ทั้งการประเมินของจำเลยเป็นการประเมินภาษีการค้า ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา30 เป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้โจทก์จะเสียภาษีส่วนนี้ไปแล้วก็เป็ฯภาษีคนละประเภทกัน โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529โดยนัยนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 การประเมินภาษีหลังพระราชกำหนดมีผล
มาตรา 30 วรรคหก (2) แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติมิให้นำมาตรา 30 ดังกล่าว มาใช้แก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากร โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 แจ้งให้โจทก์นำภาษีเงินได้นิติบุคคลไปชำระอันเป็นเวลาภายหลังที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอตามแบบ อ.1 และชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดตาม ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์ได้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดดังกล่าวโดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรแล้ว การประเมินและคำสั่งของจำเลยตามหนังสือลงวันที่30 เมษายน 2529 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลบังคับ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินและไม่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1360/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
จำเลย 4 คนถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 ปรับร่วมกันเป็นเงิน 66,789.80 บาท ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ศาลจะสั่งกักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลย 4 คน ก็ต้องแบ่งการกักขังได้คนละ 6 เดือน ตามนัยฎีกาที่ 535/2493 ที่ศาลชั้นต้นให้กักขังคนละ 1 ปี เป็นผลร้ายแก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้