พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ พ.ร.บ.เงินทดแทนหลังยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแจ้งผลอุทธรณ์
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2537 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2538 ป.บุตรโจทก์ที่ 1 และเป็นบิดาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 2 (6) และข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งเกี่ยวกับเงินทดแทน
การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าลักษณะงานที่จำเลยจ้าง ป.ทำในคดีนี้เป็นงานเกษตรกรรมที่มิได้จ้าง ป.ให้ทำงานตลอดปีและไม่มีงานอื่นรวมอยู่ด้วยกรณีจึงมิได้อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม เมื่อเป็นการนำกฎหมายในส่วนที่ถูกยกเลิกไปแล้วมาบังคับ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อปัญหาว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ เรื่องเงินทดแทน เพราะจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นที่สุดตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสามหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วหรือไม่เสียก่อนเมื่อศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสาม จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2538 ป.บุตรโจทก์ที่ 1 และเป็นบิดาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 2 (6) และข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งเกี่ยวกับเงินทดแทน
การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าลักษณะงานที่จำเลยจ้าง ป.ทำในคดีนี้เป็นงานเกษตรกรรมที่มิได้จ้าง ป.ให้ทำงานตลอดปีและไม่มีงานอื่นรวมอยู่ด้วยกรณีจึงมิได้อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม เมื่อเป็นการนำกฎหมายในส่วนที่ถูกยกเลิกไปแล้วมาบังคับ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อปัญหาว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ เรื่องเงินทดแทน เพราะจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเป็นที่สุดตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสามหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วหรือไม่เสียก่อนเมื่อศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสาม จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการประกาศ คสช. ต่อการเลือกตั้งสุขาภิบาล และผลของ พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศ คสช.
เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติประกาศให้เลื่อนการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรออกไปโดยไม่มีกำหนด จึงเป็นการยกเลิกประกาศจังหวัดภูเก็ตที่ให้เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลที่โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่ง แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 19 และฉบับที่ 20 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 โดยมาตรา 4 ให้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแทนผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผลของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 19 ก็ตาม ก็ได้มีการรับสมัครเลือกตั้งเพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกาศควบคุมราคาสินค้า ไม่กระทบความผิดที่เกิดขึ้นก่อนการยกเลิก
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฉบับที่ 86 พ.ศ. 2528 ซึ่งให้ ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่76 พ.ศ. 2527 เรื่อง กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิตการจำหน่ายและการป้องกันการกักตุนสินค้าควบคุม มีผลเพียงว่านับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2528 อันเป็นวันที่ประกาศฉบับที่86 พ.ศ. 2528 มีผลใช้บังคับ บุคคลซึ่งมีหน้าที่แจ้งปริมาณการจำหน่าย ปริมาณสินค้าคงเหลือและสถานที่เก็บสินค้าตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527 ก็เป็นอันไม่ต้องยื่นแบบแจ้งรายละเอียดดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกเท่านั้น จึงไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติว่า การกระทำของผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527 ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดจึงไม่มีผลลบล้างการกระทำของ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527ที่ออกตามความใน พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฯซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น กรณีไม่ต้องตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมราคาข้าวและการสิ้นสุดความผิดอาญา การยกเลิกประกาศควบคุมราคาไม่ลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุมประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัย อำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 ภายหลังจำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2 ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (5) (7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมราคาข้าวและการมีผลย้อนหลังของประกาศยกเลิกการควบคุมราคา ความผิดยังคงอยู่แม้มีประกาศยกเลิก
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุม ประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ภายหลังที่จำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)(7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363-1365/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้: การปิดประกาศยกเลิกไม่ต้องเป็นไปตามมาตรา 5 พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
ประกาศของรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องคัดสำเนาประกาศไว้ณที่ต่างๆ ตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 นั้น เป็นประกาศ ซึ่งรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามบท แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้อันเป็นเรื่องที่จะให้มีผลบังคับแก่ประชาชนทั่วไป เช่นประกาศกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ เป็นต้น ส่วนประกอบยกเลิกประกาศนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ต้องการให้ประกาศนั้นมีผลบังคับแก่ประชาชนต่อไป จึงหาจำต้องนำไปปิดในที่ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ไม่ ก็ย่อมมีผลใช้ได้
ประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการมีข้อความยกเลิกประกาศฉะบับแรก ๆ ที่กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ไว้ แล้วมีข้อความกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ขึ้นใหม่ แต่ประกาศฉบับนี้หาได้มีการคัดสำเนาปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการกำนัน หรือที่สาธารณะสถานในท้องที่ในเขตที่เกี่ยวข้องไม่ ดังนี้ ประกาศฉะบับหลังนี้คงมีผลใช้ได้เฉพาะที่ให้ยกเลิกประกาศฉะบับแรก ๆ ที่ กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้เท่านั้น
ประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการมีข้อความยกเลิกประกาศฉะบับแรก ๆ ที่กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ไว้ แล้วมีข้อความกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ขึ้นใหม่ แต่ประกาศฉบับนี้หาได้มีการคัดสำเนาปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการกำนัน หรือที่สาธารณะสถานในท้องที่ในเขตที่เกี่ยวข้องไม่ ดังนี้ ประกาศฉะบับหลังนี้คงมีผลใช้ได้เฉพาะที่ให้ยกเลิกประกาศฉะบับแรก ๆ ที่ กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายเกินราคาที่ประกาศ: การยกเลิกประกาศไม่ลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นก่อนหน้า
ขายเนื้อสุกรเกินราคาตามประกาศคณะกรมการจังหวัด แม้ต่อมามีประกาศยกเลิกการกำหนดราคา ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แจ้งข้อมูลผ้าตามกฎหมายควบคุม แม้มีการยกเลิกประกาศควบคุมภายหลัง ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความผิด
ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บผ้าตามประกาศ แม้ต่อมามีประกาศเลิกการควบคุมผ้า ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิด
กฎหมายที่ใช้ในขณะทำผิดมีโทษเท่ากับกฎหมายขณะที่พิจารณาคดีศาลใช้กฎหมายขณะที่ทำผิดลงโทษ
กฎหมายที่ใช้ในขณะทำผิดมีโทษเท่ากับกฎหมายขณะที่พิจารณาคดีศาลใช้กฎหมายขณะที่ทำผิดลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกาศควบคุมราคาไม้ขีดไฟ ไม่กระทบความผิดที่เกิดขึ้นก่อนการยกเลิก
เดิมมีประกาศควบคุมราคาขายปลีกไม้ขีดไฟ จำเลยทำผิดประกาศนั้นแล้วต่อมามีประกาศให้ยกเลิกประกาศเดิม ดังนี้ไม่ใช่มีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเดิมจำเลยไม่พ้นผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าเกินราคาที่กำหนด แม้มีประกาศยกเลิกภายหลัง ก็ไม่ถือเป็นการลบล้างความผิด
ขายเนื้อสุกรเกินราคาที่คณะกรมการประกาศกำหนดไว้ ต่อมามีประกาศยกเลิกประกาศเดิม ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิด โดยไม่ถือว่าเป็นกฎหมายยกเลิกความผิด