พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้ออาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้มิได้อ้างเหตุว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาตจึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรณีเทศบาลสั่งรื้ออาคารและงดจ่ายน้ำประปาจากการกระทำที่ผิดข้อบังคับ ผู้กระทำไม่ถึงขั้นเป็นความผิดตาม ม.157
แม้โจทก์จะเคยยื่นฎีกาและคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป เพื่อรอเสนอคำรับรองให้ฎีกาของอัยการสูงสุดในกระทงความผิดที่ต้องห้ามฎีกามาก่อน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งฎีกาของโจทก์ไปให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาอีกทางหนึ่งได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเทศมนตรี และจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นปลัดเทศบาลได้ร่วมกันประชุมคณะเทศมนตรีแล้ว มีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บรายได้ของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นเทศบาล แม้แผนที่นี้จะมีการแสดงเส้นประว่าที่ดินบางส่วนของโจทก์พังลงน้ำไปแล้ว หรือไม่ถูกต้องตรงกับรูปแผนที่ระวางในโฉนดที่ดินของโจทก์ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์และไม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ลงมติดังกล่าวการที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนของราษฎรที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้น มีความเห็นว่าอาคารของโจทก์ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และที่ดินที่ทำการก่อสร้างอาคารมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เพราะโจทก์ถมดินเลยตลิ่งลงไปในลำน้ำเจ้าพระยา จนจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5มีมติแก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 ไปแล้วการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกคำสั่งห้ามโจทก์ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร และออกคำสั่งยกเลิกใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คณะทำงานที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้นทำรายงานว่าที่ดินที่จำเลยที่ 6 อนุญาตให้โจทก์สร้างรั้วคอนกรีตนั้น โจทก์ถมดินเลยตลิ่งลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นกรณีที่จำเลยที่ 6 ไม่มีอำนาจอนุญาตให้สร้างรั้วดังกล่าวได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งรื้อรั้วคอนกรีตตามรายงานของคณะทำงานจึงเป็นผลต่อเนื่องจากมติที่ประชุมของคณะเทศมนตรีของจำเลยที่ 6ซึ่งเป็นมติที่มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งหกจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เดิม ม.ซึ่งเป็นมารดาของ ป. เป็นผู้ยื่นคำขอให้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ในที่ดินของ ป. ต่อมา ม. ถึงแก่กรรมแล้วป. และโจทก์ซึ่งซื้อที่ดินจาก ป. ในเวลาต่อมาได้ใช้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ต่อไปโดยปริยายต่อมาโจทก์เปลี่ยนท่อน้ำประปาเข้าที่ดินของโจทก์จากเดิมขนาด 6 หุน ให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด2 นิ้ว และเปลี่ยนที่ตั้งมาตราวัดน้ำนั้นได้กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตรวจการจ่ายน้ำประปาให้โจทก์ตามข้อบังคับ จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้ออาคารตามคำพิพากษาศาลฎีกา: การพิจารณาความสูงที่แท้จริงและการไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเกินควร
คำพิพากษาศาลฎีกาสั่งให้จำเลยรื้ออาคารเหลือความสูง 8 เมตรโดยไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าวัดจากจุดไหนถึงจุดไหน จำเลยได้รื้ออาคารออกไปแล้ว 2 ชั้น เหลือพื้นชั้นที่ 3 เป็นหลังคา ถ้าวัดส่วนสูงสุดของอาคารถึงพื้นที่ทำการจะสูง 8.59 เมตร แต่ถ้าวัดถึงพื้นโดยรอบอาคารจะสูง 7.90 เมตร หากจะให้จำเลยรื้อออกอีก 1 ชั้น ก็จะทำให้อาคารของจำเลยมีความสูงต่ำกว่า 8 เมตรมาก ทั้งจะเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยมากเกินควร สำหรับห้องคลุมบันไดนั้นห่างจากผนังตึกที่ติดกับอาคารของโจทก์ 4 เมตร และผนังตึกของอาคารพิพาทห่างจากชายคาบ้านโจทก์ถึง 3 เมตร รวมแล้วห่างจากชายคาบ้านโจทก์ 7 เมตร ไม่มีผลที่จะบังลมหรือแสงอาทิตย์ที่จะเข้าบ้านโจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำพิพากษาศาลฎีกาแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้ออาคาร: กฎหมายวิธีสบัญญัติมีผลย้อนหลัง เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนสั่งรื้อ
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาต และแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างโดยมิได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติท้องถิ่นเสียก่อนที่จะมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารอย่างกฎหมายเดิมพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในส่วนซึ่งบัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่ง เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ จึงมีผลย้อนหลังไปใช้บังคับถึงการปลูกสร้างอาคารของจำเลยในปี พ.ศ. 2521 ด้วย ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว กลับมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทอันเป็นการปฏิบัติข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดและฟ้องคดีนี้ภายหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ถึง 3 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทคดีนี้ได้ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลใช้อำนาจสั่งรื้ออาคารชำรุดไม่ได้ หากอาคารยังมั่นคงแข็งแรง และสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่น่ารังเกียจ
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลสั่งรื้ออาคารต้องพิจารณาตัวอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมจริง มิใช่แค่บริเวณที่ดูไม่น่าดู
อำนาจของเทศบาลที่จะสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 นั้น หมายความถึงตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ มิใช่หมายความถึงบริเวณ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์ยังไม่ชำรุดทรุดโทรม เป็นแต่ตั้งปะปนอยู่กับอาคารอื่นเมื่อรื้ออาคารอื่นแล้วทำให้เกิดที่ว่างคั่นอาคารของโจทก์ ทำให้มีสภาพไม่น่าดูเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นเหตุให้อาคารของโจทก์ตกเป็นอาคารที่อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจและไม่อาจแก้ไขได้ เช่นนี้ เทศบาลจึงจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งกฎหมายดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
เมื่ออาคารของโจทก์ไม่อยู่ในลักษณะที่เทศบาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 บังคับได้ การที่เทศบาลสั่งรื้อและดำเนินการรื้อถอนอาคารของโจทก์เอง โดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้ออาคารกับบุคคลภายนอกและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์ เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาทหากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาลเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11,12, และพระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3,4,5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาลเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11,12, และพระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3,4,5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้ออาคารต่อเติม: ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด แม้มีกฎหมายใหม่ใช้อำนาจย้อนหลังไม่ได้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารนั้น ความผิดสำเร็จตั้งแต่ขณะทำการต่อเติมอาคารเสร็จ
อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะสั่งการ(สั่งระงับการก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาต) ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงต้องใช้วิธีการร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรค 2 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะสั่งการ(สั่งระงับการก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาต) ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงต้องใช้วิธีการร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรค 2 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้ออาคารต่อเติม: ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด แม้มีกฎหมายใหม่ที่บทลงโทษรุนแรงกว่า
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารนั้น ความผิดสำเร็จตั้งแต่ขณะทำการต่อเติมอาคารเสร็จ
อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะสั่งการ (สั่งระงับการก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาต) ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงต้องใช้วิธีการร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่จะสั่งการ (สั่งระงับการก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงและหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาต) ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง จึงต้องใช้วิธีการร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยคำสั่งรื้ออาคาร กรณีจำเลยอ้างเป็นเพียงผู้รับเหมา
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารที่สร้างขึ้นผิดเทศบัญญัติและจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นเพียงรับเหมาก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็มอบอาคารให้เจ้าของ มีผู้เช่าเต็ม ดังนี้ แม้จะฟังว่าการสร้างอาคารไม่มีอนุญาตจริง ก็ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยต่อสู้ไว้เสียก่อนที่จะวินิจฉัยถึงปัญหาอื่นว่าจะสั่งให้รื้อหรือไม่