คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลวงขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง การลวงขาย และการใช้ชื่อทางการค้าโดยไม่ชอบ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเลียนแบบเครื่องหมายการค้าตราเด็กสมบูรณ์และคำว่า หยั่นหว่อหยุ่น ของโจทก์ โดยนำเอารูปรอยประดิษฐ์ตลอดจนสีสันในฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปดัดแปลงเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเพื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันทำให้สาธารณชนผู้บริโภคเกิดความสับสนในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ดังนี้ ตามฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการลวงขายนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ เพียงแต่คล้ายกันเช่นอย่างที่ปรากฏในคดีนี้ก็ถือว่าเป็นการลวงขายได้แล้ว ที่สำคัญก็คือเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ฉะนั้น แม้ภาคส่วนอื่นๆ ในฉลากที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้ตามมาตรา 46 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าและการลวงขายสินค้า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
การที่ ต. บิดาของโจทก์ที่ 2 ได้รับพระราชทานตราตั้งและพระครุฑจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ใช้กิจการของห้างทองตั้งโต๊ะกังเมื่อปี 2464 แสดงให้เห็นว่ากิจการค้าทองของห้างตั้งโต๊ะกังเป็นกิจการค้าทองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพิ่งจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าทองโดยใช้ชื่อว่า "บริษัทห้างทองโต๊ะกังบุญสิริ จำกัด" เมื่อปี 2528 หลังจากกิจการห้างทองตั้งโต๊ะกังมีชื่อเสียงมาถึงประมาณ 64 ปี การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำคำว่า "โต๊ะกัง" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 มาใช้ประกอบเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าทองและโลหะอันมีค่าต่างๆ เช่นเดียวกับกิจการของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้รับอนุญาต และที่จำเลยทั้งสี่ติดป้ายประกาศชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเน้น คำว่า "โต๊ะกัง" และใช้ตัวอักษรใหญ่กว่าคำว่า "บุญสิริ" มาก แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาไม่สุจริตแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าคำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ และเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าทองของจำเลยทั้งสี่เป็นกิจการค้าทองของโจทก์ทั้งสอง และทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหาย และขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ "โต๊ะกัง" ประกอบอยู่ในชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "บริษัทห้างทองโต๊ะกังบุญสิริ จำกัด" ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 420 และ 421
โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1 มิให้มีคำว่าโต๊ะกังประกอบอยู่ในชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นไม่ถูกต้อง เพราะบทบัญญัติมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 2 คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" หรือคำว่า "โต๊ะกัง" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ทั้งที่เป็นภาษาไทย จีน และภาษาอังกฤษจะได้รับการจดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.ลักษณะเครื่องหมายแลยี่ห้อการค้าขาย พระพุทธศักราช 2457 และโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แต่ปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวกับสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองผลิตออกจำหน่ายตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายดังกล่าวจึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 2 ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิดีกว่านั้นได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายนั้น
การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไป 10 ปี นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม โจทก์ทั้งสองฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว คดีของโจทก์ทั้งสองที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้านั้นจึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งสองที่ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรไทยและจีนคำว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" เป็นสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป มาใช้เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ เช่นเดียวกับของโจทก์ทั้งสอง กับถือโอกาสนำเครื่องหมายการค้าทั้งห้าไปยื่นขอจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวในจำพวกที่ 14 ทั้งจำพวก ด้วยเห็นว่าขณะนั้นโจทก์ที่ 2 ยังมิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรไทยและจีน คำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" กับสินค้าจำพวกที่ 14 ดังกล่าว ทั้งยังแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ชอบมาตั้งเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าทองของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์ทั้งสอง พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า จำเลยที่ 2 ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าทั้งห้าดังกล่าวโดยมีเจตนาไม่สุจริต และมีเจตนาเพื่อทำลวงขายสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ว่าเป็นของโจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ที่ 2 จะยังมิได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่ 14 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และแม้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลวงขายนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายอักษรไทยและจีน คำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ที่ยังไม่จดทะเบียน โจทก์ที่ 2 ไม่อาจจะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายนั้นกับสินค้าทุกประเภทของจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า.2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสี่ได้เพียงมิให้จำเลยทั้งสี่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งห้านั้นกับสินค้าจำพวกที่ 14 ทั้งจำพวกในลักษณะที่เป็นการลวงขายสินค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่ว่าเป็นสินค้าโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
คดีก่อนผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะในประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคำว่า"Kyuta" ที่ใช้กับสินค้าเคมีอาหารและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "Kyuta" ไว้กับสินค้าเคมีอาหารในจำพวกที่ 42 เดิมเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องในประเด็นที่ว่า ระหว่างปี 2529 ถึงปี 2542 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการผลิตสินค้าเคมีอาหารออกจำหน่ายแก่ลูกค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "Kyuta" เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีลักษณะการบรรจุสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงสาธารณชนให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองอาศัยชื่อเสียงและยี่ห้อทางการค้าของโจทก์ที่แพร่หลายทั่วไปแล้วในวงการเคมีอาหารนั้น เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "Kyuta" และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 29 วรรคสอง และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46 วรรคสอง ซึ่งศาลในคดีก่อนยังไม่ได้วินิจฉัยไว้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีก่อนถึงการกระทำอันเป็นการลวงขายของจำเลยทั้งสอง ก็เพื่อเป็นเหตุผลแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การลวงขายนั้นแต่อย่างใด ดังนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่การรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148
การฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดฐานลวงขายของจำเลยทั้งสองต้องฟ้องบังคับภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองทำการลวงขายสินค้าตั้งแต่ปี 2529 ถึงที่ 2542 เป็นเวลาต่อเนื่องกันโดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 อันเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2529 ตลอดมาจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2542 แล้ว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2543 จึงเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการทำละเมิดตั้งแต่ปี 2529 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2542 เกินกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าวของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมสำหรับการละเมิดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองทำการลวงขายในวันที่ 24 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องภายในอายุความ 1 ปี เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีการลวงขาย
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2524 อันเป็นเวลาที่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ใช้บังคับอยู่ การโต้แย้งสิทธิอันเกิดจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมต้องนำ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาใช้บังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องตกอยู่ในบังคับของมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มิใช่บทบัญญัติของมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 41 มิได้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธินั้นได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับแต่วันที่ 14 กันยายน 2524 อันเป็นวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2539 จึงเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 7 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ชนิดสินค้าเครื่องฉีดพ่นที่ใช้กำลังเครื่องจักรและส่วนของเครื่องดังกล่าวซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2520 ตามทะเบียนเลขที่ 62856 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ชนิดสินค้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบฉีดน้ำ และเครื่องฉีดยาฆ่าแมลง (ที่มีมอเตอร์) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2524 ตามทะเบียนเลขที่ 76857 โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราเพชรที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรตามทะเบียนเลขที่ 76857 กับสินค้าท่อน้ำและสายยางมาตั้งแต่ปลายปี 2511 การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรกับสินค้าเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงและเครื่องสูบน้ำตรงตามรูปเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าดังกล่าวและระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ที่ตัวสินค้าให้เห็นได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะสินค้าของจำเลยที่ 1 ได้ระบุหมายเลข "76857" ซึ่งเป็นเลขทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปเพชรของจำเลยที่ 1 ไว้ที่ใต้รูปเครื่องหมายการค้าเพชรติดไว้ที่ตัวสินค้าด้วย จำเลยที่ 1 มิได้เอาชื่อบริษัทโจทก์มาติดไว้ที่ตัวสินค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมิได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้แต่อย่างใด พฤติการณ์และลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรของจำเลยที่ 1 กับสินค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันจะเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปเพชรของโจทก์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงที่มีมอเตอร์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเนื่องจากการลวงขายตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า การลวงขายสินค้า และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++ ทดสอบตัดต่องานในเครื่องเท่านั้น ++
++ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่านั้น เป็นการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเคยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง แต่หลังจากครบกำหนดอายุ 10 ปี จำเลยมิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยเพิ่งขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใหม่ และได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 จึงยังไม่เกิน 5 ปี คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยมิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำสามัญที่มีความหมายหรือคำแปลหรือเป็นคำที่ใช้โดยทั่วไป ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ การที่โจทก์อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และอนุญาตให้ดัดแปลงเครื่องหมายการค้าและรูปแบบซองบรรจุสินค้าได้นั้น เป็นสิทธิที่โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะทำได้ มิได้เป็นการแสดงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ++
++ เครื่องหมายการค้าชุดแรกของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีอักษรภาษรญี่ปุ่นเหมือนกัน คงมีแตกต่างกันคือ อักษรตัวแรกของเครื่องหมายการค้า โดยของโจทก์และโจทก์ร่วมตัวแรกมีขีดเฉียงด้านบน 1 เส้น ส่วนของจำเลยไม่มีขีด ส่วนคำอักษรโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมใช้คำว่า "cha" ของจำเลยใช้คำว่า "Na" ซึ่งอยู่ในวงกลมพื้นสีดำ ส่วนเครื่องหมายการค้าชุดหลังของจำเลยมีรูปภาพประกอบคือสตรีกำลังวาดรูปดอกไม้ ส่วนของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นรูปสตรีกำลังวาดแบบเสื้อ เมื่อพิจารณาข้อความภาษาญี่ปุ่นกับการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก คงแตกต่างเฉพาะอักษรภาษาญี่ปุ่นตัวแรก ย่อมทำให้ประชาชนผู้พบเห็นหลงผิดได้ว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ทั้งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม อาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดในความเป็นเจ้าของได้ ++
++ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อใช้กับสินค้าประเภทกระดาษและกระดาษลอกลายที่ประเทศญี่ปุ่น และได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าดังกล่าวเรื่อยมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปี รวมทั้งได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักสินค้าของโจทก์ดี และในประเทศไทยก็มีผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายจนเป็นที่นิยม ต่อมาในปี 2512 โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมในสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนจำเลยแม้จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยเมื่อปี 2522 ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ จึงเป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าประเภทกระดาษลอกลาย
++ สินค้ากระดาษลอกลายของโจทก์มีผู้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้นิยมใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว ส่วนจำเลยเริ่มใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในนามบริษัทของจำเลยเมื่อปี 2535 ลักษณะสีสันและเครื่องหมายการค้าที่พิมพ์อยู่บนซองบรรจุสินค้าก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์มาก ย่อมทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการลวงขายสินค้า ทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมเสียหาย แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย โจทก์และโจทก์ร่วมก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ และมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน การลวงขายสินค้า และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียน ไว้แล้วโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่านั้น เป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยซึ่งเคยจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แต่หลังจาก ครบกำหนดอายุ 10 ปี จำเลยมิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยเพิ่งขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใหม่ และได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 โจทก์ ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 จึงยังไม่เกิน 5 ปี คดีไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นคำสามัญที่มีความหมายหรือคำแปลหรือเป็นคำที่ใช้โดยทั่วไป ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอย่างไร อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะ นำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลย และนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ การที่โจทก์อนุญาตให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และอนุญาตให้ดัดแปลงเครื่องหมายการค้าและรูปแบบซอง บรรจุสินค้าได้นั้น เป็นสิทธิที่โจทก์ในฐานะเจ้าของ เครื่องหมายการค้าจะทำได้ มิได้เป็นการแสดงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีลักษณะ บ่งเฉพาะแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าชุดแรกของโจทก์และโจทก์ร่วม กับของจำเลยนั้นมีอักษรภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน คงมีแตกต่างกันคือ อักษรตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นตัว "F" ส่วนของจำเลยเป็นตัว "t" โดยของโจทก์และโจทก์ร่วม ตัวแรกมีขีดเฉียงด้านบน 1 เส้น ส่วนของจำเลยไม่มีขีด ส่วนคำอักษรโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม ใช้คำว่า "cha" ของจำเลยใช้คำว่า "Na" ซึ่งอยู่ในวงกลม พื้นสีดำส่วนเครื่องหมายการค้าชุดหลังนั้น ของจำเลย มีรูปภาพประกอบคือสตรีกำลังวาด รูปดอกไม้ของโจทก์และโจทก์ร่วม เป็นรูปสตรีกำลังวาด แบบเสื้อ เมื่อพิจารณาข้อความ ภาษาญี่ปุ่นกับการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายแล้ว จะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก คงแตกต่างเฉพาะอักษร ภาษาญี่ปุ่นตัวแรกดังกล่าว ย่อมทำให้ประชาชนผู้พบเห็น หลงผิดได้ว่า เป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ทั้งเมื่อ นำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันคือกระดาษลอกลายเช่นเดียวกันแล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และโจทก์ร่วม อาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสน และหลงผิดในความเป็นเจ้าของได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อใช้กับสินค้าประเภทกระดาษและกระดาษลอกลายที่ประเทศญี่ปุ่นและได้ใช้ เครื่องหมายการค้ากับสินค้าดังกล่าวเรื่อยมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว รวมทั้งได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่น จนแพร่หลายคนทั่วไปรู้จักสินค้าของโจทก์ดี และในประเทศไทย ก็มีผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายจนเป็นที่นิยม ต่อมาในปี 2512 โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วม ในสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนจำเลยแม้จะได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยเมื่อปี 2522 ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้าย กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมจนอาจทำให้ สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ จึงเป็น การที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าประเภทกระดาษลอกลาย สินค้ากระดาษลอกลายของโจทก์มีผู้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้นิยมใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังกล่าว ส่วนจำเลยนั้นเริ่มใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ในนามบริษัทของจำเลยเมื่อปี 2535 ลักษณะสีสันและ เครื่องหมายการค้าที่พิมพ์อยู่บนซองบรรจุสินค้าก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์มาก ย่อมทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการลวงขายสินค้า ทำให้โจทก์และโจทก์ร่วม เสียหาย แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ และมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของ เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท เฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ และโจทก์ร่วมเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณา และแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและการลวงขายสินค้าทำให้สาธารณชนสับสน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวง-ขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) และมาตรา 29 (2)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า 'ธูปหอมโบตั๋น' การลวงขาย และความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า
เดิมเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 2 คำว่า"ธูปหอมโบตั๋น"โดยมีรูปดอกกุหลาบในกรอบลายไทยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสระคนปนอยู่ จะมีลักษณะคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า"ธูปดอกกุหลาบ" ซึ่งมีรูปดอกกุหลาบในกรอบลายไทย รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสระคนปนอยู่เช่นกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขอแก้ไขคำขอจดทะเบียนโดยตัดรูปดอกกุหลาบ และลายไทยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ระคนปนอยู่ออกเสีย คงเหลือแต่เครื่องหมายการค้า คำว่า "ธูปหอมโบตั๋น"อย่างเดียวเท่านั้นแล้ว เครื่องหมายการค้าฉบับที่ขอแก้ไขแล้วของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้นำมาจดทะเบียนไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยที่ 2มิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "ธูปหอมโบตั๋น" อย่างเดียวตามคำขอฉบับที่แก้ไขแล้ว แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนแก้ไขนั้น จะมีลักษณะคล้ายกันบางประการ แต่เมื่อพิจารณาจากสลากเครื่องหมายการค้าที่ห่อธูปของโจทก์และจำเลยแล้ว มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ดูจากลักษณะภายนอกเห็นความแตกต่างในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอย่างชัดเจนประชาชนผู้บริโภคซึ่งซื้อธูปดังกล่าวไม่อาจเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ และเสียงเรียกขานชื่อสินค้าธูปของโจทก์จำเลยก็ต่างกันเมื่อเลือกซื้อสินค้าผู้บริโภคย่อมบอกความประสงค์ว่าจะซื้อสินค้าของผู้ใดได้โดยง่าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงยังไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ, การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการลวงขายสินค้า
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า๓ คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๔๗ คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๑๒ และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๓๘ โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง ๓ จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า ๒ จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย
จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก ๓๘โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา
โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "S T" กับสินค้าจำพวกที่ ๔๗ คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก ๑๒ คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก ๓๘ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก๑๒ และ ๔๗ แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนฟ้องคดีเพียง ๔ ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก ๑๒ และ ๔๗ ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก ๑๒ และ ๔๗ ของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ vs. การลวงขายสินค้า - สินค้าคนละประเภท
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า3 คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 47 คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 12 และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 38 โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง 3 จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า 2 จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก 38โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "ST" กับสินค้าจำพวกที่ 47 คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก 12 คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก 38 เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก12 และ 47 แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ก่อนฟ้องคดีเพียง 4 ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก 12 และ 47 ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก 12 และ 47 ของโจทก์หาได้ไม่
of 2