พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลูกจ้างลาป่วยหลังจากเคยถูกตักเตือนเรื่องลากิจ
การที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจมาแล้วนั้น ต่อมาโจทก์ลาป่วย ไม่ว่าการลาป่วยของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การวินิจฉัยพยานหลักฐาน และการพิจารณาคำเตือนซ้ำ ศาลฎีกาเห็นว่าการลากิจไม่ถือเป็นความผิดซ้ำคำเตือน
การลากิจตามเอกสารหมาย ร.16 ของผู้คัดค้านนั้นผู้ร้องมิได้บรรยายหรือกล่าวไว้ในคำร้องว่าผู้คัดค้านได้ขาดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบการลาซึ่งผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลแรงงานนำมาฟังเป็นโทษแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนเอกสารหมาย ร.21 เป็นการลากิจซึ่งผู้คัดค้านได้ยื่นใบลาล่วงหน้าจึงไม่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง แต่เป็นการลาเกินกำหนด 4 วันเป็นกรณีไม่ได้รับค่าจ้างตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งผู้ร้องก็ไม่ได้อนุมัติการลา แต่ผู้ร้องได้หมายเหตุไว้ว่าในกรณีนี้ผู้จัดการบุคคลได้เรียกมาว่ากล่าวตักเตือนให้นำไปปรับปรุง ผู้คัดค้านรับปากว่าขอเป็นครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ ซึ่งหากมีอีกจะยอมถือเป็นขาดงานและลงชื่อผู้จัดการไว้ ตามข้อความดังกล่าวผู้ร้องไม่ติดใจเอาโทษแก่ผู้คัดค้านและไม่ถือว่าเป็นความผิดแล้วผู้ร้องจะนำการลากิจครั้งนี้มากล่าวโทษผู้คัดค้านอีกหาได้ไม่ผู้คัดค้านจึงมิได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้างเป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุผลลากิจ/ลาป่วย ต้องปรับปรุงแก้ไขก่อน
เหตุเลิกจ้างที่ นายจ้าง อ้างว่าลูกจ้างลากิจ ลาป่วยเป็นจำนวนมากมิใช่เหตุจำเป็นนอกเหนือจากข้อยกเว้น 5 ประการ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานขาดสมรรถภาพในการทำงานเพราะลากิจ ลาป่วยหรือขาดงานบ่อย ๆ นายจ้างจะต้องหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขด้วยหลักการบริหารงานบุคคลหรือตักเตือนให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน หาก่อให้เกิดสิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123(1) ถึง (5) ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วย ลากิจ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การตีความข้อบังคับของบริษัท
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้พนักงานประจำรายวันมีสิทธิลาป่วยในปีหนึ่งได้ไม่เกิน 30 วัน พนักงานประจำรายวันที่เป็นหญิงมีสิทธิลาป่วยเกี่ยวกับการคลอดบุตรได้ไม่เกิน 45 วัน หรือพนักงานประจำรายวันมีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ไม่เกิน 20 วันนั้นเป็นกรณีที่แบ่งแยกสิทธิในการลาหยุดงานแต่ละประเภทไว้ต่างหากจากกัน โดยลูกจ้างมีสิทธิลาหยุดงานในแต่ละประเภทได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดมิได้หมายความว่าลูกจ้างจะมีสิทธิลาหยุดงานผิดประเภทได้หรือลาหยุดงานประเภทใดเป็นเวลานานมากน้อยเท่าใดก็ได้เพียงแต่วันลาต้องไม่เกินยอดรวมของวันลาตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ลาป่วยเกินกำหนด โดยจำเลยได้บอกกล่าวตักเตือนเป็นหนังสือล่วงหน้าก่อนแล้วว่า หากโจทก์ลาป่วยเกินกำหนดอาจถูกพิจารณาเลิกจ้างนั้น เป็นคำสั่งที่มีเหตุสมควร และมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ลาป่วยเกินกำหนด โดยจำเลยได้บอกกล่าวตักเตือนเป็นหนังสือล่วงหน้าก่อนแล้วว่า หากโจทก์ลาป่วยเกินกำหนดอาจถูกพิจารณาเลิกจ้างนั้น เป็นคำสั่งที่มีเหตุสมควร และมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลากิจจำเป็นเร่งด่วน ลูกจ้างมีสิทธิลาได้แม้ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หากมีเหตุผลอันสมควร และการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจเสนอใบลาหรือไม่อาจรอรับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวได้ตามข้อบังคับของจำเลยหมายถึงเหตุที่ลูกจ้างไม่สามารถยื่นใบลาก่อนหยุดงานหรือยื่นใบลาไว้แล้วแต่ไม่สามารถรอฟังคำสั่งอนุญาตของจำเลยได้มิได้หมายถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของธุรกิจการงานซึ่งลูกจ้างจะต้องไปกระทำมิฉะนั้นข้อบังคับจะไร้ผลเพราะในกรณีที่ลูกจ้างได้รับหนังสือหรือโทรเลขเรียกตัวกลับบ้านโดยมิได้ระบุรายละเอียดของธุรกิจการงานหรือระบุรายละเอียดอันเป็นเท็จลูกจ้างก็ไม่อาจหยุดงานไปก่อนได้ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นใบลากิจส่วนตัวต่อจำเลยโดยแนบโทรเลขซึ่งได้รับจากญาติซึ่งแจ้งให้โจทก์กลับบ้านด่วนนั้นเป็นการยื่นใบลาพร้อมทั้งชี้แจงเหตุจำเป็นซึ่งไม่อาจรอฟังคำสั่งอนุญาตจากจำเลยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้วแม้ธุรกิจการงานที่โจทก์ลาไปทำนั้นเป็นเพียงไปกู้เงินให้พี่ชายไปทำงานต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่งทราบภายหลังจำเลยจะถือเป็นข้ออ้างไม่อนุมัติใบลาของโจทก์ไม่ได้ จำเลยไม่อนุมัติใบลาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ขาดงานและมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์และตัดค่าจ้างเป็นเงิน348บาทโดยไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างที่ตัดได้ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มีสิทธิได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา224เพราะเป็นเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยตัดโดยมีกรณีกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ใช่เงินค่าจ้างซึ่งจำเลยผิดนัดในการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ31เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดวันใดหรือโจทก์ทวงถามจำเลยแล้วหรือไม่ศาลให้รับผิดตั้งแต่วันฟ้อง จำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์ขาดงานครั้งนี้เป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณาไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้โจทก์เมื่อเหตุดังกล่าวไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์การที่จำเลยนำเหตุนี้ไปประกอบการพิจารณาเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้วยังมีเหตุอื่นอีกหลายประการที่จำเลยใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีจำเลยจึงต้องพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของโจทก์ใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558-2559/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหย่อนความสามารถต้องไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการลากิจ/ลาป่วยที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปี ติดต่อกัน 2 ปี โดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบ ไม่ถือเป็นความผิดและไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หนังสือทัณฑ์บนมีข้อความเพียงบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า ถ้าถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือน โจทก์ถูกเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558-2559/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถต้องพิจารณาความผิดจริง การลากิจ/ลาป่วยโดยได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นความผิด และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีติดต่อกัน2ปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบไม่ถือเป็นความผิดและไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหนังสือทัณฑ์บนมีข้อความเพียงบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าถ้าถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนโจทก์ถูกเลิกจ้างฐานหย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, การลากิจ/ลาป่วย, และการคำนวณวันเลิกจ้าง
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด 45 วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไป ยอมให้เลิกจ้างได้ ดังนี้ แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปี อีก ก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้น ส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า หากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้าง ทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ 14 และวันที่ 28 ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ 19กันยายน 2528 การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ 19 กันยายน 2528 โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม รวม 9 วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม 4 วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา 13 วัน
เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ 14 และวันที่ 28 ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ 19กันยายน 2528 การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ 19 กันยายน 2528 โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม รวม 9 วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม 4 วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา 13 วัน
เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ย กรณีลูกจ้างลากิจ/ลาป่วยเกินกำหนด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด45วันต่อปีได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไปยอมให้เลิกจ้างได้ดังนี้แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีอีกก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้นส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าหากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้างทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ลูกจ้างประจำรายวันทุกวันที่14และวันที่28ของเดือนเมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่19กันยายน2528การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่14ตุลาคม2528ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปการที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่19กันยายน2528โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่1ตุลาคม2528และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่13ตุลาคมรวม9วันเพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์เสาร์อาทิตย์รวม4วันและต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา13วัน. เงินบำเหน็จเงินประกันและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้างโจทก์จึงต้องทวงถามก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมาย แม้มีการลากิจ/ลาป่วยเกินเกณฑ์ ระเบียบของนายจ้างไม่ตัดสิทธิ
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งไม่มีวันลาเกิน36 วัน มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 10 วันนั้น ใช้บังคับเฉพาะพนักงานที่มิได้ลาเกินกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ถึง 10 วันเท่านั้น หามีผลเป็นการตัดสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาเกินกำหนดซึ่งมีอยู่ 6 วันทำงานตามกฎหมายไม่