พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองร่วมและสิทธิในการคุ้มครองส่วนแบ่งที่ดิน: ผู้รับจำนองมีสิทธิยึดขายทอดตลาดที่ดินแปลงรวมทั้งหมดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันซื้อที่ดิน 2 แปลง โดยตกลงแบ่งการครอบครองเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจำเลยได้ส่วนแบ่งทางด้านทิศตะวันตก ส่วนผู้ร้องได้ส่วนแบ่งด้านทิศตะวันออกคนละครึ่ง อันเป็นข้อตกลงภายในระหว่างกันเองว่ามีการแบ่งแยกการครอบครองอย่างไรเท่านั้น หาได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนไม่ เมื่อจำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองต่อโจทก์ ผู้ร้องก็ทราบและให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองนอกจากผู้ร้องจะไม่ให้ปากคำใด ๆ แล้ว ยังไม่ส่งมอบเอกสารการแบ่งแยกการครอบครองที่ผู้ร้องกับจำเลยทำต่อกันแก่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อทราบ ซึ่งนับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ร้องอย่างมาก ฉะนั้น การที่จะให้โจทก์เรียกเอกสารประกอบอื่นใดที่อาจมาบั่นทอนกรรมสิทธิ์ของหลักประกันนั้นย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์พึงกระทำ เว้นแต่ผู้ร้องจะเสาะหามาแสดงเอง กรณีต้องถือว่าผู้ร้องและจำเลยได้ร่วมกันครอบครองที่ดินทุกส่วนทั้งสองแปลงอันโจทก์มีสิทธิยึดเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กันส่วนของตนในที่ดินทั้งสองแปลงออกก่อนขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136-8139/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้แรงงาน: สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องบังคับค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 686 บัญญัติให้เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ผิดนัด เมื่อบริษัทนายจ้างผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามมาตรา 686 ได้ แม้มาตรา 688 และมาตรา 689 จะให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ให้โจทก์ทั้งสี่ไปเรียกร้องให้ลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ก่อนที่จะเรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน ก็มิได้หมายความว่า ถ้าโจทก์ทั้งสี่ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากบริษัทนายจ้างลูกหนี้แล้ว โจทก์ทั้งสี่จะไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลย ประกอบกับหากจำเลยประสงค์จะให้บริษัทนายจ้างลูกหนี้ชั้นต้นรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบริษัทนายจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ จำเลยจึงหามีสิทธิยกมาตรา 688 และมาตรา 689 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่
การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย บริษัทนายจ้างได้ตกลงแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นงวด จำนวน 10 งวด งวดละเท่า ๆ กัน แต่บริษัทนายจ้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เพียงงวดแรกงวดเดียว จนถึงวันฟ้องก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสี่อีก แม้โจทก์ทั้งสี่จะฟ้องคดีนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้งวดสุดท้าย ก็ถือได้ว่าบริษัทนายจ้างผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว โจทก์ทั้งสี่ย่อมถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ค้ำประกันให้รับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ได้ ผู้ค้ำประกันจะยกมาตรา 687 ขึ้นต่อสู้เพื่อโต้แย้งว่าตนไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด ไม่ใช่หมดอายุความของลูกหนี้ และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปีไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด แม้คดีล้มละลายยังไม่สิ้นสุด
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปี ไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามคำพิพากษาตามยอม ผู้ค้ำประกันมีหน้าที่ชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจำเลยตกลงจะนำบริษัท ค. เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้โดยยินยอมผูกพันตนรับผิดกับจำเลยอย่างลูกหนี้ร่วม และบริษัท ค.ได้ทำสัญญาดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงถือว่าบริษัท ค. เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาล โดยทำหนังสือประกันเพื่อการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 แล้ว เมื่อจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้เอากับบริษัท ค.ผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ สัญญาไม่เลิกทันที โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา แต่เมื่อสัญญามิได้ระบุว่าหากจำเลยผิดนัดผิดสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ดังนี้ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังมีผลผูกพันอยู่ และจำเลยย่อมมีสิทธิขอชำระหนี้ตามสัญญาได้ เมื่อกรณียังฟังไม่ได้ตามทางนำสืบว่าจำเลยขอปฏิบัติชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่เมื่อคดีกลับได้ความต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากสัญญาค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด: เป็นค่าเสียหาย มีอายุความ 10 ปี
ดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน เพราะเหตุลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับเจ้าหนี้อันเป็นการผิดสัญญานั้น เป็นดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก และเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหาย ดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการเพิกถอนการซื้อขายเมื่อลูกหนี้ผิดนัด คดีนี้ใช้ ม.237 มิใช่ ม.118
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนจึงถือว่าผู้ค้ำประกันตกเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้นเป็นต้นไป ถ้าผู้ค้ำประกันโอนทรัพย์ของตนไปภายหลังระยะเวลานี้เป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วเจ้าหนี้อาจขอให้เพิกถอนได้การสมยอมกันโอนขายทรัพย์ไปโดยปราศจากเจตนาลวงระหว่างคู่กรณี แต่เป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบต้องบังคับตาม ม. 237 มิใช่ 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และสิทธิของฝ่ายขายในการบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านเอื้ออาทรกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมบ้านให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์ผิดนัด 3 งวดติดต่อกัน จำเลยที่ 2 จึงขอให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดแทน ซึ่งตามสัญญาค้ำประกันข้อ 2 กำหนดว่า "หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ โดยมีจำนวนหนี้ค้างชำระทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นสะสมรวมกันตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป ... ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดสัญญากู้เงิน และเป็นผลให้หนี้ตามสัญญากู้ถึงกำหนดชำระทันที และผู้ค้ำประกันยินยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน." และตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าก่อนจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้จำเลยที่ 2 แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนแล้วตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านเอื้ออาทร ข้อ 9 ให้ถือว่าโจทก์ผู้ซื้อผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
การใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนไม่อยู่ในบังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2544 ข้อ 3 (2) เพราะประกาศดังกล่าวเป็นการควบคุมเฉพาะธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา มิได้หมายรวมถึงธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรในการกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 2 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อการบริโภค กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ ดังกล่าว ทั้งเมื่อโจทก์ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด จำเลยที่ 2 เจ้าหนี้จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่จำเลยที่ 2 เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างชำระแทนโจทก์ผู้กู้ยืมจึงชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ต้องแก้ไขการผิดสัญญาก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทได้ตามฟ้องแย้ง
การใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนไม่อยู่ในบังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2544 ข้อ 3 (2) เพราะประกาศดังกล่าวเป็นการควบคุมเฉพาะธุรกิจการให้กู้ยืมเงินเพื่อผู้บริโภคของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา มิได้หมายรวมถึงธุรกิจการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรในการกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 2 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อการบริโภค กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ ดังกล่าว ทั้งเมื่อโจทก์ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด จำเลยที่ 2 เจ้าหนี้จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่จำเลยที่ 2 เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างชำระแทนโจทก์ผู้กู้ยืมจึงชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ต้องแก้ไขการผิดสัญญาก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทได้ตามฟ้องแย้ง