พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาสิ้นสุดคดีผิดสัญญาประกัน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันผู้ประกันนำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ถึงวันนัดผู้ประกันไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ประกันไม่ติดใจขอลดค่าปรับและจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับเข้ามาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้ ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้ศาลส่งความเห็น ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าว จะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้นและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่ เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่อง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ เมื่อคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ของโจทก์และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งนั้นให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุด ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ ได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ โจทก์ชอบที่จะ โต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว การที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งว่า มาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญฯควรใช้บังคับกับกฎหมายสารบัญญัติซึ่งเป็นแก่น แท้ของคดีที่ฟ้อง ส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นคำสั่งเรื่องวิธีพิจารณาและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันทำให้กฎหมายสารบัญญัติที่พิพาทกันต้องยุติลงโดยไม่ชอบ เพราะคดีไม่ได้ขึ้นไปสู่ศาลฎีกา และการไม่ชอบเช่นนี้มีรัฐธรรมนูญฯมาตรา 26,27,28 รองรับให้คำสั่งที่ทำให้คดีต้องยุติโดยไม่ชอบนั้นดำเนินต่อไปได้โดยต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยนั้น ถือเป็นเพียงความเห็นของโจทก์ ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264 หาได้มีความหมายดังที่ โจทก์ฎีกาไม่ประกอบกับขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26,27,28 และ 272 หรือไม่นั้นศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้อง ของ ศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ข้อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดคดีเนื่องจากการเสียชีวิตของผู้ร้องซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นกรรมการของมูลนิธิ พ.อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (3) ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของคดีหย่าและแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดี
คดีฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ตายก่อนคดีถึงที่สุดเนื่องจากมีการขอพิจารณาใหม่ ซึ่งมีผลให้การสมรสสิ้นสุดลงเสียก่อนที่คำพิพากษาให้หย่าและแบ่งสินสมรสจะถึงที่สุด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่: เมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องฟ้องคดีใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิ
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยทั้งหมดและบริวารออกจากห้องแถวพิพาท และจำเลยทั้งหมดได้ออกจากห้องแถวพิพาทแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตามแต่การที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมดก็จะทำให้คดีล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี จึงสมควรให้ผู้สอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์สิ้นสุดเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาสิ้นสุดคดี
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด โจทก์อุทธรณ์ และขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่พิพาทในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้คุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์ระหว่างอุทธรณ์จึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 (1) ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์ที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดคดีเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมก่อนศาลพิจารณาฟ้องแย้งเรื่องการหย่าและการแบ่งเงินชดเชย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าให้จำเลยตามข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยยื่นฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลง จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของคดีฟ้องแย้งเกี่ยวกับการจดทะเบียนหย่าหลังคู่สมรสเสียชีวิต
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าให้จำเลยตาม ข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยยื่นฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา เมื่อจำเลยถึง แก่กรรมการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลง จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อ ไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี.