คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างต้องรับผิดจากงานชำรุดบกพร่อง แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเป็นเหตุให้รั้วพังล้มลงแม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้นโจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางเมื่อจำเลยไม่มีความผิด: หลักการความเชื่อมโยงระหว่างความผิดและการลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้ไม้ตีทำร้าย ผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษและริบไม้ของกลาง เมื่อการริบทรัพย์สินเป็นโทษอย่างหนึ่ง และคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยนี้กระทำความผิด แม้ไม้ของกลางจะเป็นทรัพย์สินที่ผู้อื่นใช้ในการกระทำผิด ก็จะพิพากษาให้ริบในคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ. 2477 และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า "เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา" การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบเมื่อจำเลยรับข้อเท็จจริง: ความรับผิดทางละเมิดและหลักการ ป.พ.พ. มาตรา 437
แม้ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.84 จะบังคับให้ฝ่ายที่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ๆ เป็นฝ่ายนำสืบก็ดี แต่เมื่อจำเลยรับแล้วว่า รถยนต์ที่จำเลยควบคุมมาชนรถจักรยานสามล้อโจทก์เช่นนี้ หน้าที่นำสืบปลดเปลื้องความรับผิดย่อมตกแก่จำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 437.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยนอกเหนือจากคำขอในฟ้อง: หลักการและขอบเขต
ได้ความว่าน้ำสุราในไหของกลางที่จับได้จากจำเลยได้หกออกจากไหไปหมดแล้ว ส่วนที่อยู่ในไหของกลางที่โจทก์นำมาฟ้องมิใช่น้ำสุราที่จับได้จากจำเลยเป็นน้ำสุราที่นำมาใส่ไว้ในไหภายหลังโดยจะเป็นของใครไม่ปรากฏเมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยมีน้ำสุราที่มีอยู่ในไหโดยมิได้ประสงค์ฟ้องน้ำสุราที่หกออกจากไหไปหมดแล้ว เมื่อศาลฟังว่าน้ำสุราในไหมิใช่เป็นของจำเลยก็ต้องยกฟ้องโจทก์ เพราะจะลงโทษจำเลยฐานมีน้ำสุราที่หกออกจากไหไปหมดแล้วซึ่งอยู่นอกข่ายคำขอของโจทก์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโทษคดีอาญาต่อเนื่อง - หลักการนับโทษ
การที่จำเลยได้ทำผิดจนต้องคำพิพากษาให้ลงโทษ 2 คดีนั้น จำเลยจะต้องรับโทษทั้ง 2 คดีติดต่อกัน เว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะสั่งให้นับโทษเป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์: การพิสูจน์หลักการและเจตนาในการกระทำ
จำเลยมีจดหมายถึงบุคคลผู้หนึ่งขู่ให้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมที่จำเลยตั้งขึ้นอันมีหลกการว่าชักชวนให้ประชาชนหรือรัฐทำการล้มล้างระบอบการปกครองแห่งสยามปัจจุบัน ดังนี้จำเลยยังไม่มีผิดตาม ม.104 แห่งกฎหมายอาญา เพราะจำเลยมิได้กระทำการให้ปรากฎแก่คนทั้งหลาย,
ลัทธิคอมมิวนิสม์ตามหลักการของเลนินเป็นประการใดนั้นเป็นข้อที่โจทก์จะต้องนำสืบ เพียงแต่จำเลยเขียนจดหมายกล่าวว่าสมาคมนี้ทำการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสม์ตามหลักการของเลนินเท่านั้น ยังไม่พอที่ถือว่าลัทธิที่จำเลยกล่าวถึงเป็นลัทธิคอมมิวนิสม์ตามวิเคราะห์ศัพท์แห่งพ.ร.บ. ข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องอาญาต้องอาศัยผลการสอบสวน การพิจารณาของศาลไม่ถือเป็นการสอบสวน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยหาว่ากระทำอนาจาร ครั้งสืบพะยานโจทก์ได้ 3 ปาก โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยพยายามชิงทรัพย์อีกกะทงหนึ่งโดยอาศัยข้อความที่ได้จากการพิจารณาของศาลดังนี้ ศาลตัดสินยกฟ้องเพราะข้อหาเรื่องพยายามชิงทรัพย์นี้ไม่มีการสอบสวนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญาโดยการสืบพยานเพิ่มเติมขัดต่อหลักการพิจารณาคดี
สัญญา ค่านายหน้าขายที่ดินสืบเพิ่มเติมแก้ไขสัญญาที่เปนเอกสาร ประมวลแพ่ง ม. 848 นายหน้าวิธีพิจารณาแพ่ง พะยานบุคคล สืบแก้ไขต่อเติมพะยานเอกสารที่ชัดแจ้งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาต้องพิจารณาตามหลักการในคดีอาญา ไม่สามารถยึดตามคำพิพากษาคดีแพ่งโดยตรง
แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีแพ่งจะผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้ ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีแพ่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้ว คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ในคดีแพ่ง ศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนแน่ใจว่าพยานหลักฐานของโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีของศาลแพ่งจึงเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ในคดีนี้ว่ามีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดจริงตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และของจำเลยทั้งสองในคดีนี้หาได้ไม่ การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
of 2