พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6783/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: อำนาจบริหารเต็มและการไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาทำให้ไม่เข้าข่ายลูกจ้าง
ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้างซึ่งต้องทำงานตามที่นายจ้างมอบหมายในวันเวลาทำงานที่นายจ้างกำหนด และต้องปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากฝ่าฝืนนายจ้างลงโทษได้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มาตรา 119 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อโจทก์มีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการและไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์บริหารกิจการของจำเลยที่ 1 ไปตามที่เห็นสมควร เพียงแต่รายงานผลการทำงานให้กรรมการอื่นทราบเดือนละครั้ง ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทำงานให้บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการจ้าง สวัสดิการรักษาพยาบาล การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และอำนาจบริหารกิจการของนายจ้าง
การที่จำเลยจัดให้มีสวัสดิการพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้จำเลยกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลใช้บังคับ เพราะกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บังคับให้ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสภาพการจ้างนี้
จำเลยย้ายพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไปประจำแท่นผลิตแล้วจัดเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชา 7 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการพยาบาลเบื้องต้นมาทำหน้าที่แทน และจัดให้มีเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เพื่อติดต่อด้านการรักษากับแพทย์และพยาบาลตลอดเวลา ซึ่งแพทย์และพยาบาลสามารถเดินทางมาถึงเรือในกรณีฉุกเฉินได้ภายใน 15 ถึง 20 นาที ดังนี้แม้จะไม่มีพยาบาลอยู่ประจำบนเรือเช่นเดิม แต่ก็มิได้ทำให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่จำเลยมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
จำเลยย้ายพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไปประจำแท่นผลิตแล้วจัดเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชา 7 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการพยาบาลเบื้องต้นมาทำหน้าที่แทน และจัดให้มีเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เพื่อติดต่อด้านการรักษากับแพทย์และพยาบาลตลอดเวลา ซึ่งแพทย์และพยาบาลสามารถเดินทางมาถึงเรือในกรณีฉุกเฉินได้ภายใน 15 ถึง 20 นาที ดังนี้แม้จะไม่มีพยาบาลอยู่ประจำบนเรือเช่นเดิม แต่ก็มิได้ทำให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่จำเลยมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานพนักงานระดับเดียวกัน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหกแม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานซักรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตามก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงาน ในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญา ว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลย รับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะ โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลย ก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลย ว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้ งาน ใน ตำแหน่งรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยน ไป ทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้า โดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลย จัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหก เมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้ มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลย ย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกจากราชการเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร ศาลไม่มีอำนาจเพิกถอน
นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจยืนตามมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นชอบด้วยกับคำสั่งของกรมตำรวจที่ให้ไล่โจทก์ทั้งสองออกจากราชการและคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเป็นที่สุดแล้ว ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ทั้งสองออกจากราชการได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจการเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การเข้าใจผิดและอำนาจบริหาร
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคารอ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรง กัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่า ไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบ จนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ. แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด นายจ้างมีอำนาจบริหาร แต่ต้องไม่เลือกปฏิบัติ
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ.แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวินิจฉัยความผิดทางวินัยเป็นของฝ่ายบริหาร ศาลไม่มีอำนาจแทรกแซงหากจำเลยปฏิบัติตามขั้นตอนและใช้ดุลพินิจชอบ
การที่จำเลยพิจารณาแล้วเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดทางวินัยตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน และมีคำสั่งลงโทษโจทก์ เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 84 กรณีหาได้เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตราดังกล่าวไม่ และการที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดทางวินัยหรือไม่นั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษโจทก์ไปตามความเหมาะสมกับสภาพความผิดเท่าที่อยู่ในอำนาจของจำเลยโดยชอบอย่างไรแล้ว ศาลไม่มีอำนาจจะเข้าไปชี้ขาดว่าโจทก์มีความผิดทางวินัยหรือไม่อีก ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวินิจฉัยความผิดทางวินัยเป็นของฝ่ายบริหาร ศาลไม่มีอำนาจชี้ขาดหากจำเลยปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
การที่จะวินิจฉัยว่าข้าราชการผู้ใดมีความผิดทางวินัยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2518ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดและใช้ดุลพินิจสั่งลงโทษโจทก์ไปตามความเหมาะสมกับสภาพความผิดเท่าที่อยู่ในอำนาจของจำเลยโดยชอบอย่างไรแล้วศาลไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปชี้ขาดว่าโจทก์มีความผิดทางวินัยหรือไม่อีกเมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสั่งปลดนายทหารเป็นอำนาจบริหาร ศาลไม่ชี้ขาดความชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งกระทรวงกลาโหมให้นายทหารออกจากประจำการรับบำเหน็จบำนาญ เป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ไม่ใช่หน้าที่ศาลชี้ขาดว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
เมื่อศาลเห็นว่าคดีวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป ก็งดการสืบพยานได้
เมื่อศาลเห็นว่าคดีวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป ก็งดการสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารกิจการต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คน คือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้าน และ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป