พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือนการทำงานสายและการเลิกจ้างที่เป็นธรรม รวมถึงการหักเงินทดรองจ่าย
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีก ซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมจากเหตุฝ่าฝืนระเบียบ และการหักเงินทดรองจ่ายจากค่าจ้าง
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีกซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเดือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินทดรองจ่ายในวงแชร์: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยโดยโจทก์เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ได้และออกเช็คให้แก่ลูกวงคนอื่น ๆ ไว้ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ในฐานะนายวงได้ชำระเงินตามเช็คไปแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอันเป็นการเรียกเงินที่ออกทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าใบยาสูบที่เหลือหลังหักกลบลบหนี้ ไม่ใช่การฟ้องเรียกเงินทดรองจ่าย
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายใบยาสูบแห้งกัน โดยจำเลยรับเงินล่วงหน้าไปจากโจทก์ เมื่อจำเลยส่งใบยาสูบแห้งให้โจทก์ก็คิดหักราคากัน ต่อมาเมื่อคิดหักหนี้กันแล้วปรากฏว่ายังมีเงินค่าใบยาสูบแห้งที่จำเลยรับล่วงหน้าเหลืออยู่และดอกเบี้ย โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยคืนมิใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินโบนัสชำระหนี้จากการเบิกเงินทดรองจ่าย: สิทธิของนายจ้างเมื่อลูกจ้างได้รับทุนฝึกอบรม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้ ขอเบิกเงินสมทบจากจำเลยเพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมยังต่างประเทศเนื่องจากโจทก์ได้ รับทุนจากต่างประเทศ และจำเลยได้ อนุมัติให้โจทก์ยืมเงินทดรองจ่ายไป การที่โจทก์ขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะ ลูกจ้างและนายจ้างมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 จำเลยจึงมีสิทธินำเงินโบนัสที่จะต้อง จ่ายแก่โจทก์มาหักกับหนี้ ดังกล่าวได้ โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเงินโบนัสเป็นค่าจ้างหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองจ่าย และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
กรณีตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน จากตัวการ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การซื้อ ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีวัตถุประสงค์เก็ง กำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อ ผู้ซื้อดังนั้น การโอนหุ้นในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้มีมูลหนี้จากเงินทดรองจ่าย การสลักหลังเช็คเป็นวิธีชำระหนี้เดิม ไม่ใช่การกู้เงินใหม่
สัญญากู้มีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินในการซื้อขายหุ้นให้จำเลย การที่โจทก์ออกเช็คให้จำเลยและจำเลยสลักหลังคืนแก่โจทก์เป็นวิธีการชำระหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นเท่านั้น เจตนาอันแท้จริงเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงระงับหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายไปโดยวิธีให้จำเลยกู้เงินโจทก์ใช้หนี้ จำนวนเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายแก่จำเลยตามสัญญากู้ก็คือจำนวนเงินที่โจทก์นำไปชำระหนี้เงินทดรองจ่ายนั่นเอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ดังกล่าวและโจทก์ได้นำจำนวนเงินตามสัญญากู้ไปชำระหนี้เงินทดรองจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้นั้น จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจ่าย: ตัวการตัวแทนใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ลูกค้าผู้สั่งซื้อหุ้น กับจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ เป็นลักษณะของตัวการตัวแทน การที่จำเลยเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปแทนโจทก์ในกิจการที่โจทก์มอบหมายให้ปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี อันเป็นลักษณะทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 164หาใช่อายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(1) หรือ (7) ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ค่าใช้จ่ายสำนักงานต่างประเทศ, และเงินทดรองจ่าย
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างจะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดเท่านั้น เงินที่โจทก์จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างโจทก์ทุกเดือน ลูกจ้างโจทก์จะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากงานโดยไม่ผิดระเบียบเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดแล้ว เพราะเมื่อลูกจ้างไม่ออกจากงานก็ยังไม่มีโอกาสได้รับ ทั้งในกรณีที่ออกผิดระเบียบเงินส่วนที่โจทก์จ่ายสมทบลูกจ้างจะไม่ได้รับแต่จะกลับคืนมาเป็นของโจทก์อีก กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2) จึงต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอ เครื่องมือเครื่องใช้และอื่นๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้น แม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้า ช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันจำหน่าย เมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27 (1), (2)
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอ เครื่องมือเครื่องใช้และอื่นๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้น แม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้า ช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันจำหน่าย เมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27 (1), (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการจ่ายเงินให้ผู้จัดการก่อสร้าง: ไม่ใช่เงินทดรองจ่ายจึงใช้บังคับตามอายุความ 10 ปี
เงินที่บริษัทผู้ล้มละลายมอบให้ผู้ร้องซึ่งเป็นคนของบริษัทเองนำไปใช้จ่ายในการก่อสร้างที่บริษัทรับเหมาทำ หาเข้าลักษณะเป็นค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป"ตามความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่ จึงมิใช่หนี้ที่มีอายุความสองปีหรือห้าปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว หากเป็นหนี้ที่มีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อนับจากวันที่บริษัทผู้ล้มละลายจ่ายเงินให้ผู้ร้องจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ยังไม่ถึงสิบปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่ขาดอายุความ