คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: เจ้าพนักงานสอบสวนไม่ใช่ผู้เสียหาย
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย โจทก์เป็นเพียงพนักงานสอบสวน แม้จะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ แต่กฎหมายก็ให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(6) เท่านั้น และโจทก์ก็มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อผู้บังคับบัญชา มิใช่เจ้าพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
แม้พลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 แต่ตามหนังสือที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ซึ่งบุคคลทั้งสองต่างเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ ทั้งนี้เพื่อประสงค์ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ และย้ายโจทก์ออกจากพื้นที่รับผิดชอบทางราชการ จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับความประพฤติโจทก์ต่อบุคคลทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาโจทก์ มิใช่ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด และพลตำรวจโท ป. มิได้มีคำสั่งให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนความผิดในทางอาญาแก่โจทก์ คงมีคำสั่งให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้ความคุ้มครองจำเลยที่ 1 แล้วรายงานให้พลตำรวจโท ป. ทราบด้วยเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคืนของกลาง: เจ้าของรถยนต์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับเจ้าพนักงานสอบสวนให้คืนของกลางที่ถูกยึดในคดีป่าไม้
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงานป่าไม้จับกุมพร้อมไม้แปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดรถยนต์พิพาทถูกยึดไว้เป็นของกลางในความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานป่าไม้ซึ่งมิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยจำเลยเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีดังกล่าวดังนี้การที่เจ้าพนักงานป่าไม้เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ที่ให้อำนาจไว้แม้คดีอาญาดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุดพนักงานสอบสวนยังมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไปก็ตามแต่การขอคืนของกลางรถยนต์พิพาทต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา64ตรีซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษกล่าวคือผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลางคือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ได้แก่เจ้าพนักงานป่าไม้จำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการคืนของกลางรถยนต์พิพาทแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบของกลางให้ผู้เช่าซื้อเก็บรักษา และความรับผิดของเจ้าพนักงานสอบสวนต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้กับกรมตำรวจกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดไว้ แต่มิได้ระบุว่าพนักงานสอนสวนจะต้องเป็นผู้เก็บรักษาไว้เอง ทั้งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการเก็บรักษาของกลางกำหนดให้พนักงานสอบสวนจัดสถานที่สำหรับรักษาพาหนะของกลาง หรือมอบให้ผู้ที่สมควรรักษาไว้แทนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนมอบรถยนต์ของกลางให้ ท. ผู้เช่าซื้อนำไปเก็บรักษาไว้เนื่องจากจำเลยไม่มีสถานที่เก็บรักษา และสถานีตำรวจที่จำเลยปฏิบัติงานอยู่ในเขตผู้ก่อการร้าย จึงมีเหตุผลอันสมควร เป็นการใช้ดุลพินิจปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ และไม่ขัดต่อข้อตกลงดังกล่าว การที่ ท. ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ของกลางไปใช้ และโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ยึดคืนแล้วนำไปขายต่อให้แก่ผู้อื่นเนื่องจาก ท.ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ซึ่งต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางผู้ซื้อได้รับความเสียหายและฟ้องโจทก์ให้รับผิดนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ การกระทำของจำเลยจึงห่างไกลต่อผลที่เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: การผิดสัญญาต้องพิจารณาตามเหตุผลประกอบ หากเจ้าพนักงานสอบสวนผ่อนปรนได้ย่อมไม่ถือว่าผิดสัญญา
พฤติการณ์ที่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประกันส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของเจ้าของสิทธิที่ถูกละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานสอบสวน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้นได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้นดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการปล่อยปละละเลยฟ้องคดีเอง ไม่ถือเป็นการละเมิดของเจ้าพนักงานสอบสวน
พนักงานสอบสวนรับแจ้งความคดียักยอกทรัพย์ของโจทก์ไว้แล้วปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการสอบสวนให้เสร็จจนคดีขาดอายุความฟ้องร้อง แต่โจทก์ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องร้องผู้ยักยอกได้เองทั้งทางอาญาและทางแพ่งก็ มิได้ฟ้องร้องผู้ยักยอกจนคดีขาดอายุความ ดังนี้ หากโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีไว้แล้ว ความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้น ความเสียหายของโจทก์จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย กรณีของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้อง: เหตุผล 'ความพลั้งเผลอของเจ้าพนักงานสอบสวน' ไม่เพียงพอต่อการอนุญาต
คำร้องขอแก้ตำบลที่เกิดเหตุในฟ้องโดยอ้างว่า "ยังคลาดเคลื่อนอยู่โดยความพลั้งเผลอของเจ้าพนักงานสอบสวน." นั้นถือว่า โจทก์ไม่แสดงเหตุอันควรศาลไม่อนุญาตให้แก้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องต้องมีเหตุอันควร ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหากอ้างเพียงความพลั้งเผลอของเจ้าพนักงานสอบสวน
คำร้องขอแก้ตำบลที่เกิดเหตุในฟ้องโดยอ้างว่า 'ยังคลาดเคลื่อนอยู่โดยความพลั้งเผลอของเจ้าพนักงานสอบสวน' นั้นถือว่า โจทก์ไม่แสดงเหตุอันควรศาลไม่อนุญาตให้แก้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานสอบสวน แม้ไม่ใช่สาระสำคัญของคดี ก็มีความผิด หากอาจทำให้ราชการเสียหาย
จำเลยจดคำให้การชั้นสอบสวนมิได้จดต่อหน้าบุคคล 2 คน เมื่อข้าหลวงสอบถามจำเลย ๆ ก็ยืนยันว่าการเป็นไปตามที่จดไว้ในคำให้การนั้น ซึ่งไม่ตรงกับความในเรื่องสถานที่ ๆ จดคำให้การ ทั้งมิได้จดต่อหน้าบุคคล 2 คนนั้นดังนี้จำเลยมีผิดฐานแจ้งความเท็จ
of 2