พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คพิพาท แม้ผู้สั่งซื้อไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค และการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้อง
แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์แล้วออกเช็คพิพาทชำระราคา แต่ทางพิจารณาได้ความว่า อ. เป็นผู้สั่งซื้อ จำเลยไม่มีหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ที่ อ. มีอยู่กับโจทก์อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มของโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า อ. เป็นผู้สั่งซื้อนั้น จำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่อยู่ที่ว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาเสาเข็มแก่โจทก์หรือไม่ มิได้อยู่ที่ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มหรือไม่ ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธลอยและมิได้นำสืบต่อสู้เฉพาะในข้อเท็จจริงนี้เท่านั้น จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ศาลก็ยังคงลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นเหตุถึงกับจะต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มของโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า อ. เป็นผู้สั่งซื้อนั้น จำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่อยู่ที่ว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาเสาเข็มแก่โจทก์หรือไม่ มิได้อยู่ที่ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งซื้อเสาเข็มหรือไม่ ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธลอยและมิได้นำสืบต่อสู้เฉพาะในข้อเท็จจริงนี้เท่านั้น จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ศาลก็ยังคงลงโทษจำเลยได้ มิได้เป็นเหตุถึงกับจะต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทคู่ความเดิม: ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดีใหม่ แม้เปลี่ยนฐานฟ้อง
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย เหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 กับพวกลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป โดยจำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 ลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่าจำเลยที่ 2 ลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไปหรือไม่ และแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2จะเป็นฝ่ายโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์จะเป็นฝ่ายฟ้องจำเลยที่ 2 แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: แม้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงในชั้นพิจารณา ก็ไม่กระทบอำนาจเดิม
ป.ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ.โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้น และการไม่รับวินิจฉัยฎีกาในประเด็นใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดและตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307อ้างว่าที่ดินสองแปลงพร้อมอาคารพาณิชย์ที่ยึดมาบังคับคดีติดจำนองเจ้าหนี้รายอื่นร่วมกับที่ดินของจำเลยอีกหลายแปลงพร้อมอาคารพาณิชย์ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าภายหลังศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงหลายประการโดยจำเลยได้นำเงินสดไปวางที่กรมบังคับคดีเพื่อชำระหนี้รายอื่นแล้ว และได้ขอปลดหนี้จำนองอีกรายหนึ่งในวงเงินสิบหกล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีเช็ค: การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อทำให้เข้าใจผิดถึงมูลหนี้
จำเลยฟ้องโจทก์ในคดีเดิมขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2499 และเบิกความในคดีดังกล่าวว่า โจทก์ออกเช็คพิพาทนำไปแลกเงินสดจากจำเลย ความจริงโจทก์ออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเช็คฉบับอื่นที่มี ส. เป็นผู้สั่งจ่าย โดยพ. น้องชายโจทก์นำไปแลกเงินสดจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องจำเลยคดีนี้ว่าเบิกความเท็จ เมื่อโจทก์ได้ออกเช็คพิพาทแล้วนำไปให้จำเลยเพื่อแลกเช็คของ ส.คืนมาเพราะต้องการชำระหนี้แทนพ.เช่นนี้เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่โจทก์ออกเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยข้อที่ว่าโจทก์นำเช็คไปแลกเงินสดหรือแลกเช็คอื่นจากจำเลยจึงมิใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยจะเบิกความแตกต่างไปบ้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797-3798/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง และผลของการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาวินิจฉัย
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่พิพาท แม้ไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละเท่าใด แต่ก็ได้ความจากคดีในสำนวนหลังซึ่งมีผู้ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกให้ร่วมกันใช้ค่าขาดประโยชน์จากที่พิพาทเป็นเงินปีละ 2,400 บาท ถือได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัย คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาได้ ข้อเท็จจริงคงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับคดีสำนวนแรกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลัง (โจทก์ในสำนวนแรก) ซึ่งคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245, 247
คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง) แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก) ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่ พ.จำเลยที่ 1 ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป
คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง) แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก) ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่ พ.จำเลยที่ 1 ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามฟ้องซ้ำคดีเดิมที่ถึงที่สุดแล้ว แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงบางส่วน ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์จำเลยเป็นความกันเกี่ยวกับการรังวัดแบ่งที่พิพาทตามคำพิพากษา จนศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์จัดการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว โจทก์จะมาฟ้องคดีคัดค้านคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาซึ่งได้เคยพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ผู้ใช้คำพิพากษายันได้ โจทก์อ้างเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงต้องนำสืบก่อน
ผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความ ผู้ร้องใช้คำพิพากษานั้นยันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นได้ เมื่อโจทก์ให้การในคดีร้องขัดทรัพย์ใหม่อีกเรื่องหนี่งว่า ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป โดยจำเลยซื้อทรัพย์รายพิพาทจากผู้ร้องภายหลังจากศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีภาระในการนำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงต้องชัดเจน การไม่ขอสืบพยานเพิ่มเติมไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
ในฟ้องฎีกาจำเลยบรรยายไว้เป็นข้อกฏหมายแต่เพียงว่า ศาลสั่งให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนยังไม่ชอบ ขอให้พิพากษาแก้คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนมิได้กล่าวว่าหากสืบโจทก์ก่อนแล้วจะยังผลให้เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงไปได้อย่างไรหรือไม่ ทั้งมิได้ขอให้สืบพยานใหม่ด้วย ดังนี้ ไม่อาจยังผลให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลล่างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ - การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง - คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในฟ้องฎีกาจำเลยบรรยายไว้เป็นข้อกฎหมายแต่เพียงว่า ศาลสั่งให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนยังไม่ชอบ ขอให้พิพากษาแก้คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน มิได้กล่าวว่าหากสืบโจทก์ก่อนแล้วจะยังผลให้เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงไปได้อย่างไรหรือไม่ ทั้งมิได้ขอให้สืบพยานใหม่ด้วย ดังนี้ ไม่อาจยังผลให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลล่างได้