พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนกรรมการบริหารสภาองค์การลูกจ้างฯ การแก้ไขข้อบังคับ และสิทธิสมาชิกที่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในประเด็นที่ว่า จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ตามคำขอของ จ. ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม2535 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 4 ที่ขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว โดยโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3ไม่ได้ฟ้อง และขอให้บังคับจำเลยในประเด็นนี้ด้วยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 การจดทะเบียนคณะกรรมการบริหารของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น และตามข้อบังคับสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ข้อ 19ก็กำหนดไว้เพียงว่า ให้คณะกรรมการบริหารมาจากการเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ ไม่มีข้อกำหนดให้ต้องนำรายชื่อคณะกรรมการบริหารไปจดทะเบียน ดังนั้นแม้จะไม่ได้นำรายชื่อคณะกรรมการบริหารไปจดทะเบียน ก็ถือได้ว่าเป็นคณะกรรมการบริหารที่ชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจพิจารณารับสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย และสมาชิกดังกล่าวมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดประชุมใหญ่วิสามัญทั้งมีสิทธิเข้าร่วมประชุมแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้มติที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับบริษัทที่ลดสิทธิลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง สิทธิยึดตามข้อบังคับเดิม
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในเงินกองทุนสงเคราะห์ – การแก้ไขข้อบังคับกระทบสิทธิเดิม – สิทธิเดิมยังคงใช้บังคับ
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนแก้ไข
ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 กำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือตาย เป็นการจ่ายเงินสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ตรงกับความหมายของสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5จำเลยได้ใช้บังคับกับพนักงานตลอดมา จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับนี้ในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน หรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ. ดังกล่าวต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าข้อบังคับดังกล่าวเป็นคำสั่งระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำไปตกลงกับลูกจ้าง ไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายแรงงานมาใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลแรงงานกลางได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้วโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีนี้ไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้บังคับและไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง และศาลแรงงานกลางมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างต้องได้รับความยินยอมหรือแจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายแรงงาน
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูก เลิกจ้างหรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้อง แจ้งข้อเรียกร้องตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลง กัน หรือหากไม่สามารถตกลง กันได้ ก็ต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อ ไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิม ไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้ รับเงินสงเคราะห์ การที่ นายจ้าง ออกข้อบังคับฉบับ ใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดย ข้อบังคับฉบับ ใหม่ได้ตัด สิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้ รับเงินสงเคราะห์ข้อบังคับฉบับ ใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อ ลูกจ้างที่ปฎิบัติ งานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับ ใหม่คงมีผลเฉพาะต่อ ลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อ ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับ ใหม่มีผลใช้ บังคับไม่ แม้จำเลยจะได้ ยกขึ้นต่อสู้ ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่ง ออกโดย กฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลง กับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้ บังคับก็ตาม แต่ เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดย ไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับและไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่ อย่างใดอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การแก้ไขข้อบังคับบริษัท และผลผูกพันต่อลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นส่วนหนึ่งของของสัญญาจ้างแรงงานนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยการตกลงกันโดยชัดแจ้งจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้โดยปริยายอีกด้วย เมื่อธนาคารนายจ้างออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและการแต่งตั้งพนักงานใช้บังคับอยู่แล้วและภายหลังลูกจ้างผู้นั้นเข้ามาเป็นพนักงานก็ได้มีคำสั่งแก้ไขข้อบังคับนั้นในเวลาต่อมา โดยแก้บัญชีอัตราเงินเดือนให้มีขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นและแก้ไขให้ผู้จัดการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ พนักงานทุกคนก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและยอมรับเอาผลจากการแก้ไขข้อบังคับด้วยดีตลอดมา ทั้งสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างผู้นั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จไม่ผูกพันลูกจ้างเก่า และการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ 10 นั้น แม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ข้อบังคับข้อ 12 วรรคแรกจะระบุว่า 'พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น' ก็ตาม แต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า 'ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่ 30 พฤษภาคม 2526' เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบำเหน็จกับค่าชดเชย: ผลบังคับใช้กับลูกจ้างเก่า และการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2527มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ10นั้นแม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างแม้ข้อบังคับข้อ12วรรคแรกจะระบุว่า'พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น'ก็ตามแต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า'ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่30พฤษภาคม2526'เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2509ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์. การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2527ลงวันที่26มิถุนายน2527ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับบริษัทต้องใช้มติพิเศษตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะกำหนดไว้ต่างจากกฎหมายก็ใช้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1145 ห้ามมิให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ทำโดยมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทโดยมติธรรมดาจึงใช้ไม่ได้ หากมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตัดสิทธิลูกจ้างที่ลาออกโดยไม่ออกจากงานชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงาน จำเลยจ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมให้โจทก์ทั้งสาม แต่ไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับในวันที่ 28 มกราคม 2551 แต่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับจดทะเบียนการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ว่าสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ทำให้การแก้ไขข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2550 ตามมาตรา 9 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 จึงตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบตามข้อบังคับที่แก้ไขนั้น
เดิมบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการแก่พนักงานเมื่อตายหรือออกจากงาน ต่อมามีการจัดตั้งจำเลยโดยศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการจัดตั้งจำเลยก็เพื่อนำมาใช้ทดแทนการจ่ายเงินบำเหน็จที่ยกเลิกไป และข้อบังคับของจำเลยทุกฉบับมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ ตลอดจนเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย หรือไร้ความสามารถ หรือลาออก หรือครบเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง ยืนยันให้เห็นว่าจำเลยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อออกจากงานเท่านั้น การที่จำเลยแก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมในส่วนของตนจนเต็มจำนวน จึงเป็นการแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจำเลยตามที่ปรากฏในข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การแก้ไขข้อบังคับของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบด้วยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานหลังจากมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบเช่นกัน
แม้มาตรา 5 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่ากองทุนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างลาออกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนก็ตาม แต่การจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพต้องปฏิบัติตามมาตรา 23 ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติให้ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ผู้จัดการกองทุนของจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับในวันที่ 28 มกราคม 2551 แต่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับจดทะเบียนการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ว่าสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ทำให้การแก้ไขข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2550 ตามมาตรา 9 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 จึงตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบตามข้อบังคับที่แก้ไขนั้น
เดิมบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการแก่พนักงานเมื่อตายหรือออกจากงาน ต่อมามีการจัดตั้งจำเลยโดยศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการจัดตั้งจำเลยก็เพื่อนำมาใช้ทดแทนการจ่ายเงินบำเหน็จที่ยกเลิกไป และข้อบังคับของจำเลยทุกฉบับมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ ตลอดจนเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย หรือไร้ความสามารถ หรือลาออก หรือครบเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง ยืนยันให้เห็นว่าจำเลยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อออกจากงานเท่านั้น การที่จำเลยแก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมในส่วนของตนจนเต็มจำนวน จึงเป็นการแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจำเลยตามที่ปรากฏในข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การแก้ไขข้อบังคับของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบด้วยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานหลังจากมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบเช่นกัน
แม้มาตรา 5 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่ากองทุนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างลาออกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนก็ตาม แต่การจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพต้องปฏิบัติตามมาตรา 23 ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติให้ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ผู้จัดการกองทุนของจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ