พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาตกเพราะยื่นหลังกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับกับคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมก่อน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาตามยอมก่อนที่ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมจะมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2546 หลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติมีผลใช้บังคับแก่คู่ความแล้ว คดีของจำเลยจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยลูกหนี้ตามพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้อีกต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาในการขอศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่
ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ฯลฯ... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ยังไม่ใช้บังคับ การนับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64วรรคสอง เดิม แม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม.เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 แล้ว จะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิม ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 61วรรคสอง จึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช-บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 ดังนั้น การร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม.เป็นคนสาบสูญในคดีนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสองเดิม คือใช้ระยะเวลา 3 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งที่แก้ไขใหม่: ใช้กฎหมายเดิมเมื่อระยะเวลาเดิมยังไม่สิ้นสุด
ตาม พระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535มาตรา14บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯลฯซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ"ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ยังไม่ใช้บังคับการ นับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้วทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมแม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม. เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับแล้วและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา61วรรคสองที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตามแต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535แล้วจะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา61วรรคสองจึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา14ดังนั้นการร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม. เป็นคนสาบสูญในคดีนี้จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมคือใช้ระยะเวลา3ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อาจฎีกาได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2533 หลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้ บังคับแล้ว โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13 เพราะการพิจารณาว่าโจทก์ฎีกาได้ หรือไม่ต้อง พิจารณาตาม กฎหมายที่ใช้ อยู่ในขณะยื่น ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษจำคุกรวมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แก้ไขใหม่: โทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นข้อยกเว้น
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 อนุมาตรา 3 นั้นศาลจะลงโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงรวมกันเกิน 50 ปีไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า 'เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต' นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วเมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวมศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น
จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง ศาลลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนักให้จำคุกตลอดชีวิตและฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตให้จำคุก 2 ปี ดังนี้ เมื่อศาลลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นจำคุก 25 ปี และลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปีแล้วศาลรวมโทษทั้งสองกระทงเป็นจำคุกจำเลย 26 ปีได้.
จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง ศาลลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นอันเป็นบทหนักให้จำคุกตลอดชีวิตและฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตให้จำคุก 2 ปี ดังนี้ เมื่อศาลลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งคงลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นจำคุก 25 ปี และลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปีแล้วศาลรวมโทษทั้งสองกระทงเป็นจำคุกจำเลย 26 ปีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายยาที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างอิงกฎหมายเก่า และความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาอันตราย
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4, 32, 107 พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 4 ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ได้ถูกยกเลิกไปตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 นั้น เห็นว่า แม้โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองโดยอ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 ซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว และมิได้อ้าง พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ แต่คำว่า ขาย ตามมาตรา 4 ซึ่งแก้ไขใหม่ยังคงหมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายและถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 32 จะต้องมีการขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" หมายความว่า ขายปลีก ขายส่ง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน หาใช่ต้องมีการขายกันจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3157/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ โดยอาศัยหลักกฎหมายอาญา มาตรา 3(1)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุจำนวน 130 เม็ดครึ่ง น้ำหนัก 9.13 กรัม โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเท่าใด กรณีจึงต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่และมาตรา 66 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่โดยมาตรา 65 วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทหนักมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาทแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียว โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่าต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอ ศาลจึงชอบที่จะกำหนดโทษจำเลยที่ 1 เสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 2 กำลังรับโทษอยู่และสำนวนความปรากฏแก่ศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตาม ป.อ.มาตรา 3 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9323/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและบทลงโทษ: การปรับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 88 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี แต่กฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 17 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 20 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า แต่เมื่อกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี คดีความผิดฐานดังกล่าวจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดนับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี แล้ว คดีของโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ กรณีความผิดพรากเด็กและกระทำชำเราโดยมีการสมรสภายหลัง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 ถึงวันใดไม่ปรากฏชัด เดือนมิถุนายน 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ... แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้สืบให้ได้ความชัดว่าเหตุเกิดในวันเวลาใด แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลย คือจำเลยกระทำความผิดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ซึ่งมาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) เป็นคุณกว่ามาตรา 277 วรรคท้าย (ที่แก้ไขใหม่) เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรากฏว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกระบี่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ดังนี้ สำหรับความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำขอท้ายฟ้อง และการปรับบทกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ ศาลไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องดังกล่าว กล่าวถึงการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 11 โดยชัดแจ้งแล้วการที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี ย่อมหมายถึงมาตรา 160 ตรี ที่เพิ่มเติมแล้วนั่นเอง แม้โจทก์ไม่ได้อ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 11 ก็เป็นเพียงโจทก์อ้างบทกฎหมายไม่ครบถ้วนชัดเจนเท่านั้น และถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี ซึ่งเพิ่มโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 11 แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ