พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการนำเช็คไปแลกเงินสดและการรับสภาพหนี้
จำเลยมีเจตนาก่อหนี้ด้วยวิธีนำเช็คไปแลกเงินสด อันเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่ใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระเงินแต่เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้จนครบ หนี้อันเกิดจากนำเช็คไปแลกเงินสดกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ปรากฏว่าจำเลยชำระหนี้เป็นบางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2534 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2536 ภายในอายุความสิบปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือกฎหมายลักษณะกู้ยืม เมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า 50 บาท มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น จำเลยให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า การนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือกฎหมายลักษณะกู้ยืม เมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า 50 บาท มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น จำเลยให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็คและการพ้นผิด: การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตามกฎหมายเช็คฉบับใหม่
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงเป็นกรณีที่ต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง แม้คดีนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดนั้น และต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหนี้สินระหว่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีกฎหมายฉบับใหม่ คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่าตามกฎหมายฉบับใหม่การออกเช็คจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากโจทก์ ขณะแลกทรัพย์สินระหว่างกันนั้น ผู้แลกต่างไม่มีหนี้ต่อกันมาก่อน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้สินจริง
คำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องที่ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดเป็นพยานเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิด ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติภายหลังจากจำเลยออกเช็คพิพาท จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นการชำระหนี้จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้นจะต้องปรากฏในเบื้องต้นว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระแล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยนำเช็คมาแลกเงินสดจากโจทก์แสดงว่าก่อนออกเช็คจำเลยหาได้มีหนี้ต่อโจทก์ไม่ การออกเช็ค ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังจำเลยจึงพ้นจาก การเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คฉบับใหม่ หากไม่ใช่การชำระหนี้เดิม
จำเลยออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดไปจากโจทก์ การออกเช็คแลกเงินสดดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แต่การกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันจะเป็นความผิดได้ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค พ.ศ. 2534 หากไม่มีหนี้สินเดิม
ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497การออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จะต้องปรากฏว่าผู้ออกเช็คกับผู้รับเช็คมีหนี้ต่อกันแล้วผู้ออกเช็คได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้ผู้รับเช็ค แต่ขณะที่จำเลยออกเช็คและนำไปแลกรับเงินสดจากโจทก์นั้นเป็นเพียงนำเช็คไปก่อหนี้ด้วยการแลกรับเอาเงินสดจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่แล้วให้แก่โจทก์ การออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังจำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อน
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก ว.ต่อมาว. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วม การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหนี้สินระหว่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดแต่ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจาก ว. ก่อนออกเช็คจำเลยและว. หาได้มีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดชอบตามเช็คของผู้สั่งจ่าย แม้มีการแลกเงินสด และประเด็นดอกเบี้ยเกินอัตรา
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 นำมาแลกเงินสดจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้เงินตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900,914,989ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาทและเงินสดจากโจทก์ไปโดยโจทก์หักเป็นค่าดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ก็ตามก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 จะอ้างมาเพื่อไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ผู้ทรงเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์.