คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากมีพฤติการณ์ไม่สุจริตและไม่พยายามชำระหนี้
จำเลยและสามีต่าง รับราชการมีเงินเดือนซึ่ง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่ สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วย เงินเดือนได้ จำเลยจึงมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใด อีกถือ ได้ ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินภายหลังศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อความเสียหายของพัสดุ: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและเหตุสุดวิสัย
จำเลยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ กองคลัง ของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพัสดุ จำเลยได้รับพัสดุเครื่องมือแพทย์จำนวน 7 หีบห่อมาเก็บรักษา แต่ห้องเก็บพัสดุของโจทก์มีของเก็บอยู่เต็ม จำเลยจึงนำพัสดุดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่ห้องพัสดุของอีกกองหนึ่งโดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งห้องเก็บพัสดุดังกล่าวอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องไม่มีหน้าต่างมีประตู 2 ประตูประตูหนึ่งใส่กลอนไว้ อีกประตูหนึ่งใช้กุญแจลูกบิด มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจ ชั้นบนของห้องดังกล่าวมีเจ้าหนี้ที่ทำงานอยู่การนำพัสดุไปฝากเก็บที่กองอื่นก็ไม่มีระเบียบให้ต้องขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชาถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วแม้จำเลยจะมิได้จัดเวรยามเฝ้าก็ปรากฏว่าหลังเลิกงานมีเวรยามของกรมดูแลอยู่แล้ว และการที่จำเลยจัดให้คณะกรรมการตรวจรับหลังจากรับของประมาณ 10 วัน เนื่องจากต้องตรวจสอบและแปลเอกสารก็มิได้เนิ่นนานเกินสมควร การที่พัสดุดังกล่าวหายไปบางส่วนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการ และจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐในคดีจำหน่ายยาเสพติด: การใช้ดุลพินิจลงโทษประหารชีวิต
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา 100 บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตเมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำคุกหรือประหารชีวิตสำหรับข้าราชการ/พนักงานรัฐที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษข้าราชการในคดีจำหน่ายยาเสพติด: การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษประหารชีวิตเมื่อกฎหมายกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา 100 บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตเมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดจากข้าราชการนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปให้เกษตรกรเช่าซื้อ/ยืม และละเลยการติดตามหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดกรมโจทก์ ตำแหน่งเกษตรอำเภอจำเลยนำปุ๋ยเคมี เครื่องสูบน้ำ และเงินหมุนเวียนของโจทก์ไปให้เกษตรกรเช่าซื้อ ยืม โดยจำเลยลงชื่อแทนเกษตรกร หรือไม่ได้ให้เกษตรกรลงชื่อในสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อและสัญญายืมเงิน เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถบังคับตามสัญญาเหล่านั้นได้ โจทก์จึงเสียหายนับแต่วันที่จำเลยมอบสิ่งของหรือเงินให้แก่เกษตรกรไปตั้งแต่วันทำสัญญาจำเลยจึงทำละเมิดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าวแล้วเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
ส่วนสัญญาที่กำหนดให้ผู้ยืมชำระเงินคืนตามกำหนด จำเลยมีหน้าทีต้องติดตามทวงถามนับแต่วันที่ผู้ยืมผิดสัญญาไม่ชำระเงินคืน เมื่อจำเลยไม่ติดตามทวงถามเงินคืนทำให้โจทก์เสียหาย ถือว่าจำเลยกระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยไม่ติดตามทวงถามเงินคืนเมื่อถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อนับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินคืนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 เช่นกัน
of 28