พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและอำนาจวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ กรณีสัญญาพิพาทเป็นโมฆะ
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเกี่ยวกับคำร้องของจำเลยทั้งหกที่ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท และโจทก์รับด้วยว่าฝ่ายจำเลยได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 แล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในสัญญาพิพาทระบุว่า ถ้ามีข้อพิพาทไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวกับหรือสืบเนื่องจากสัญญาหรือทำงานตามสัญญา ไม่ว่าระหว่างการทำงานหรือภายหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จและไม่ว่าก่อนหรือหลังการบอกเลิกสัญญาหรือยุติสัญญาด้วยวิธีอื่นซึ่งรวมถึงข้อพกพาทอื่นๆ ข้อพิพาทนั้นจะต้องเสนอไปยังวิศวกรที่ปรึกษาโดยคำตัดสินดังกล่าวสามารถถูกทบทวนโดยการยุติปัญหาด้วยการประนีประนอมหรือโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและต้องการให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ไปจากโจทก์คืน จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาพิพาทดังกล่าวซึ่งต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก เมื่อโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะและส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย คู่สัญญาจึงต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทในสัญญาพิพาทระบุว่า ถ้ามีข้อพิพาทไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวกับหรือสืบเนื่องจากสัญญาหรือทำงานตามสัญญา ไม่ว่าระหว่างการทำงานหรือภายหลังจากที่ทำงานแล้วเสร็จและไม่ว่าก่อนหรือหลังการบอกเลิกสัญญาหรือยุติสัญญาด้วยวิธีอื่นซึ่งรวมถึงข้อพกพาทอื่นๆ ข้อพิพาทนั้นจะต้องเสนอไปยังวิศวกรที่ปรึกษาโดยคำตัดสินดังกล่าวสามารถถูกทบทวนโดยการยุติปัญหาด้วยการประนีประนอมหรือโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและต้องการให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ไปจากโจทก์คืน จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาพิพาทดังกล่าวซึ่งต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก เมื่อโจทก์อ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะและส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย คู่สัญญาจึงต้องไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งจำหน่ายคดีเพื่ออนุญาโตตุลาการชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์อ้างสัญญาเป็นโมฆะ คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้น ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 ซึ่งในวันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเกี่ยวกับคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่ความแถลงรับว่าได้มีการทำสัญญาพิพาท และโจทก์รับด้วยว่าฝ่ายจำเลยได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว และศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวในรายงานกระบวนพิจารณา อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก ดังนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะ และส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้จำหน่ายคดีตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 บัญญัติว่า คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ให้ถือว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาหลักเป็นข้อสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาหลัก ดังนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาพิพาทตกเป็นโมฆะ และส่งผลต่อความเป็นโมฆะถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการจึงอยู่ในอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการที่จะทำการวินิจฉัย การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้จำหน่ายคดีตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10668/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาพิพากษากลับคำตัดสินเดิม ชี้การวินิจฉัยเหตุสุดวิสัยเป็นอำนาจอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการอ้างเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้คัดค้านที่คณะอนุญาโตตุลาการยกขึ้นกล่าวอ้างในคำวินิจฉัยชี้ขาดไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทั้งเอกสารที่คณะอนุญาโตตุลาการนำมาพิจารณาเป็นเอกสารที่ไม่อาจรับฟังได้ การบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวจึงไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัย มิใช่การโต้แย้งตามกรณีในมาตรา 40 (1) (ก) ถึง (จ) แห่งพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามบทมาตราดังกล่าวได้
คณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากมีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่า มีเหตุสุดวิสัยที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านส่งมอบงานล่าช้า จึงวินิจฉัยให้ผู้ร้องคืนค่าปรับให้แก่ผู้คัดค้านพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดว่ามีเหตุสุดวิสัยตามที่ตกลงกันในสัญญาที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านยังไม่อาจชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญา มิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม มาตรา 40 (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่ามิได้มีเหตุสุดวิสัยดังที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัย การบังคับตามคำชี้ขาดจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นั้น จึงเป็นการเข้าไปวินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ จึงเป็นการไม่ชอบ
คณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากมีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่า มีเหตุสุดวิสัยที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านส่งมอบงานล่าช้า จึงวินิจฉัยให้ผู้ร้องคืนค่าปรับให้แก่ผู้คัดค้านพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดว่ามีเหตุสุดวิสัยตามที่ตกลงกันในสัญญาที่เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านยังไม่อาจชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญา มิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม มาตรา 40 (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่ามิได้มีเหตุสุดวิสัยดังที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัย การบังคับตามคำชี้ขาดจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นั้น จึงเป็นการเข้าไปวินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10660/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมในการวินิจฉัยการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และการยกคำร้องเนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 6 บัญญัติว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้" และมาตรา 211 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" ดังนี้แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 211 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าคำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมหาใช่ว่าเมื่อคู่ความมีคำโต้แย้งอย่างไรแล้ว ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่ คดีนี้จำเลยฎีกาว่า ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2549 มาตรา 3 บังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264, 272 ประกอบมาตรา 2, 4, 29, 30, 233 ใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 6 ซึ่งข้อฎีกาของจำเลยล้วนแต่อ้างว่าการตีความของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้งดการบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นเนื่องจากยังไม่มีการบังคับคดีและจำเลยมิได้ยื่นฟ้องโจทก์ เป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกัน ไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 293 ไม่เป็นธรรมแก่คู่ความ เป็นการตีความที่คับแคบขัดต่อพระราชดำริการตีความและการใช้กฎหมายที่ประสงค์จะให้ตีความอย่างอะลุ่มอล่วย ให้เกิดความสุขในบ้านเมือง ทั้งการอ้างว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 2, 4, 29, 30, 233 ก็ไม่ชัดแจ้งว่าขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตราต่างๆ ดังกล่าวอย่างไร บทบัญญัติดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่กระทำให้บุคคลไม่มีความเสมอกันในกฎหมายหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติอย่างไร ป.วิ.พ. มาตรา 293 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการงดการบังคับคดีเพิ่มเติมจากหลักทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 โดยมาตรา 293 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะของดการบังคับคดีโดยมีสิทธิหักกลบลบหนี้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และแม้จะได้ความตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 293 วรรคหนึ่ง กฎหมายก็ให้อำนาจศาลที่จะให้งดการบังคับคดีหรือไม่ เมื่อกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ในมาตรา 293 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงได้ยกคำร้องของจำเลย คำโต้แย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 แม้ขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยคดีนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จะได้ยกเลิกและไม่มีศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยอายุความ และขอบเขตการอุทธรณ์คำชี้ขาด
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับขณะพิพาทให้อำนาจอนุญาโตตุลาการที่จะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ดังนั้น อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความหรือไม่
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 22 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นที่สุด ส่วนการที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 ที่อนุญาตให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้ หากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้วไม่ได้
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 22 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นที่สุด ส่วนการที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 ที่อนุญาตให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้ หากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10929/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาที่ไม่สมบูรณ์ และการลงโทษฐานหลบหนีจากเจ้าพนักงาน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ยกขึ้น
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 190 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้างมาตรา 190 ซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ฐานหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังจึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการกระทำความผิดฐานนี้ ศาลจะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8357/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม/ผู้จัดการมรดก และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นที่คู่ความยกขึ้น
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของโจทก์ร่วมแล้วทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมและในฐานะมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายด้วยการผูกคอตาย ไม่ได้ตายเพราะถูกจำเลยทั้งสองกับพวกทำร้ายตามฟ้อง ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ผู้บุพการีจะจัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ดังนั้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ 2 ในการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดฐานบุกรุกที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มี่โทษหนักสุด เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมาก็เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยไม่รอการลงโทษและคุมความประพฤติ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทภายในขอบเขตสัญญาเช่า การเพิกถอนคำชี้ขาดต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
สัญญาเช่าระหว่างผู้คัดค้านทั้งสามกับผู้ร้องระบุว่า หากมีความผิดพลาดเกี่ยวกับการเช่าและค่าเสียหายเกิดขึ้นตามสัญญา ให้ทั้งสองฝ่ายเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนมีการฟ้องร้องคดีทุกครั้งโดยมิได้มีข้อกำหนดจำกัดขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการไว้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาเช่าและเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยข้อพิพาทจากพยานหลักฐานที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามนำสืบจึงเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทภายในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ ไม่ต้องด้วยเหตุให้ศาลเพิกถอนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) เมื่ออนุญาโตตุลาการเห็นว่ากรณีฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสามปฏิบัติผิดสัญญา ส่วนการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน ตรวจสอบที่ดิน ชี้แนวเขต ตลอดจนทำรูปแผนที่บอกขนาดของที่ดินเป็นกิจการที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าจะต้องร่วมมือกันดำเนินการในปัญหาการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมและการรังวัดที่ดินให้บรรลุล่วงไปด้วยดีนั้น เป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่คำชี้ขาดเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย ทั้งการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวก็ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่คำชี้ขาดที่ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ก) (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวินิจฉัยการคืนภาษีและการปฏิเสธค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี กรณีเบี้ยประกันภัย
การอุทธรณ์หนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรเป็นกรณีโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งทางปกครองของจำเลยเกี่ยวกับการขอคืนภาษีของโจทก์ กรณีคืนภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ผู้มีอำนาจออกคำสั่งคือ เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งหรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้น ตามมาตรา 44 และ 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ไม่ใช่เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (1) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดและผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น น. สรรพากรภาค 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งจึงมีอำนาจวินิจฉัยและมีคำสั่งทางปกครองได้
การจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท อ. เพื่อประกันความเสี่ยงในการขายลดลูกหนี้การค้าของบริษัทในเครือทั้งสามเพื่อบริการด้านงานสินเชื่อตามสัญญา แม้เป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากการปฏิบัติตามสัญญา แต่การที่โจทก์จ่ายเบี้ยประกันภัยแทนบริษัทในเครือทั้งสาม โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีหน้าที่หรือความจำเป็นอย่างไรที่ต้องไปจ่ายแทนบริษัทในเครือทั้งสาม และค่าเบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้จ่ายไป ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกแก่บริษัทในเครือของโจทก์ โจทก์ได้รับเพียงค่าตอบแทนจากการให้บริการจัดการธุรกิจตามสัญญาเป็นรายปีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดขายสุทธิเท่านั้น ดังนั้น เงินค่าเบี้ยประกันภัยที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงจากการนำลูกหนี้การค้าของบริษัทในเครือทั้งสามไปขายลดให้ธนาคาร จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่ง ป.รัษฎากร
การจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท อ. เพื่อประกันความเสี่ยงในการขายลดลูกหนี้การค้าของบริษัทในเครือทั้งสามเพื่อบริการด้านงานสินเชื่อตามสัญญา แม้เป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากการปฏิบัติตามสัญญา แต่การที่โจทก์จ่ายเบี้ยประกันภัยแทนบริษัทในเครือทั้งสาม โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีหน้าที่หรือความจำเป็นอย่างไรที่ต้องไปจ่ายแทนบริษัทในเครือทั้งสาม และค่าเบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้จ่ายไป ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกแก่บริษัทในเครือของโจทก์ โจทก์ได้รับเพียงค่าตอบแทนจากการให้บริการจัดการธุรกิจตามสัญญาเป็นรายปีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดขายสุทธิเท่านั้น ดังนั้น เงินค่าเบี้ยประกันภัยที่โจทก์จ่ายให้บริษัท อ. เพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงจากการนำลูกหนี้การค้าของบริษัทในเครือทั้งสามไปขายลดให้ธนาคาร จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย องค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 353 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลบริหารจัดการด้านการบริหาร การเงิน วางแผนการดำเนินการรวมถึงงบประมาณของโจทก์ และรับผิดชอบงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายแล้วจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน ซึ่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองทรัพย์ของผู้ที่มอบหมาย การที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานต่าง ๆ ของโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 เห็นว่า การกระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำความผิดต่อนิติบุคคลที่บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกันกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้น เป็นการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย มิใช่การกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์หรือขาดรายได้ ก็มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมากไปกว่าเดิมในลักษณะที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน หรือสูญเสียประโยชน์ที่เคยเป็นของโจทก์มาก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225