คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อผิดพลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการพิมพ์บัตรเลือกตั้งไม่กระทบผลการเลือกตั้ง ศาลฎีกายกคำร้อง
เจ้าพนักงานพิมพ์บัตร์สำหรับลงคะแนนผิดไป ถ้าการผิดนั้นไม่เป็นเหตุทำให้ผลของการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงแล้ว ศาลฎีกาไม่สั่งให้มีการเลือตั้งใหม่กรณีที่ร้องคัดค้านการเลือตตั้งตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้ง ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น ฎีกาอุทธรณ์ ปัญหากฎหมาย ปัญหาว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปโดยชอบหรือมิชอบด้วย กฎหมายหรือไม่นั้น เป็นปัญหา ข้อกฎหมาย ดุลยพินิจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองโดยสุจริตและใบเหยียบย่ำ: แม้ใบเหยียบย่ำมีข้อผิดพลาด ผู้ครอบครองโดยสุจริตยังคงมีสิทธิ
ฟ้องขับไล่ +เหยียบย่ำ การออกใบเหยียบย่ำอย่างไรเรียกว่าเป็นการออกใบเหยียบย่ำโดยชอบด้วยกฎหมาย ใบเหยียบย่ำที่เขียนไว้ก่อน+มาลงนามในภายหลังเป็นเวลาช้านานเพราะต้องปฏิบัติตามระเบียบการนั้นหาทำให้ใบเหยียบย่ำนั้นเสียไปไม่
ปกครอง ผู้ใดปกครองที่มาโดยสุจริตแลถือใบเหยียบย่ำผิดที่ไว้ก็+ ผู้บุกรุกจะถือเอาเหตุที่ใบเหยียบย่ำผิดที่มาเป็นการตัดอำนาจปกครองนั้นไม่ได้
ป.พ.พ.ม.1367-1374 ผู้ทรงสิทธิครอบครองมีอำนาจฟ้องผู้บุกรุกที่ซึ่งตนครอบครองอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบหักล้างชื่อในโฉนดที่ดินเมื่อมีข้อผิดพลาดสำคัญในนิติกรรม
ที่ดิน
โฉนดที่ดิน
วิธีพิจารณาแพ่ง
สืบหักล้างชื่อในโฉนดได้ ถ้าปรากฎว่าที่การเข้าใจ ป.พ.พ.ม.119 สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการพิจารณาคดี: จำเลยต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบข้อผิดพลาด
การนั่งพิจารณาคดีไม่ว่าจะนั่งพิจารณาโดยผู้พิพากษาคนเดียวหรือนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะ หากปฏิบัติไม่ถูกต้องตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมบัญญัติไว้แล้ว ถือได้ว่าเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาคดี อันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยจึงชอบที่จะยกข้อคัดค้านในเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างภายในเวลาไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อจำเลยทราบถึงการนั่งพิจารณาคดีที่อ้างว่าผิดระเบียบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 แต่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 จึงช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิยกขึ้นอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีดังกล่าวแล้วพิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการระบุวันเวลาในฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้
แม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 ก่อนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายเหตุการณ์การกระทำผิดเป็นลำดับก่อนหลังว่าเกิดเหตุกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ก่อนแล้วต่อมาจึงเกิดเหตุรับของโจร ทั้งในคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ของพนักงานสอบสวน ก็มีข้อความระบุว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยได้รับของโจรโดยรับฝากรถจักรยานยนต์ที่ถูก ช. ผู้ต้องหาในคดีอื่นลักมา ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วให้การรับสารภาพ พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจดีว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุรับของโจรเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เห็นได้ว่าเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับแต่ทราบข้อผิดพลาด มิฉะนั้นขาดสิทธิ
คำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับสารภาพเกิดจากการจูงใจของผู้ทำการไกล่เกลี่ยที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์สันติวิธีและสมานฉันท์ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ และมีคำสั่งให้ดำเนินการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปนั้น เป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ซึ่งกรณีที่มิได้ปฏิบัติเช่นนั้นและศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจของศาลเองสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องขอก็ตาม แต่สำหรับกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ต้องเสียหายเป็นผู้ยกขึ้นอ้าง ต้องตกอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ว่า จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่เกินแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องเกินกำหนดแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าศาลเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่อีก เพราะเป็นคนละกรณีกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13570/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและการวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่คลาดเคลื่อน
การที่อนุญาโตตุลาการตีความว่าคู่สัญญามีเจตนาที่แท้จริงและแน่นอนว่าจะให้มีการใช้อนุญาโตตุลาการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาท และตีความให้ใช้ พ.ร.บ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบังคับนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบของอนุญาโตตุลาการและมิใช่เป็นการใช้อำนาจนอกขอบเขตอำนาจ ทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10215/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ข้อผิดพลาดวันเวลาในฟ้องไม่ถึงสาระสำคัญ หากจำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพ
บันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ แม้จะระบุว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ก็ตาม แต่บันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมยึดของกลางปรากฏตามบัญชีของกลางท้ายฟ้อง ซึ่งบัญชีของกลางคดีอาญาท้ายบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ระบุวันเดือนปีที่ยึดของกลางว่า ยึดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการพิมพ์รายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดผิดพลาดไป มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสามย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุเกิดวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 และมีการยึดของกลางในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 มิได้หลงต่อสู้ จึงให้การรับสารภาพ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ภายในกำหนดเวลา 48 ชั่งโมง นับแต่เวลาที่จำเลยทั้งสามถูกจับ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง การประเมินค่าเสียหายต้องระบุข้อผิดพลาดในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์ได้ประเมินราคาทรัพย์เสียหายโดยมีหลักฐานเรื่องความเสียหายชัดเจนนอกจากนี้กระทรวงการคลังได้วางหลักเกณฑ์ ไว้ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ส่วนราชการชนะคดีไม่เต็มฟ้องต้องยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาต่อไป ข้อความดังกล่าวมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนใดมีข้อวินิจฉัยผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองมีเหตุสมควรที่โจทก์จะฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีเดิมเนื่องจากข้อผิดพลาดทางรูปแบบ
คดีนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นมาแล้ว และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 2322/2550 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเพราะโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในฟ้องและคดีถึงที่สุด จึงถือไม่ได้ว่าความผิดตามฟ้องคดีนี้ ศาลในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงยังไม่ระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 13