คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกกล่าว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809-2810/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระจึงบอกเลิกได้ และคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาต้องโต้แย้งทันที
ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้และสั่งงดสืบพยานแล้วนัดฟังคำพิพากษาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีหากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะโต้แย้งไว้เพื่อจะได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้แก่ผู้ขายตามกำหนดสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีแม้จะได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ค่าที่ดินที่ค้างไว้แน่นอนแล้วก็ตาม แต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงต้องบังคับตามมาตรา 387กล่าวคือ จำเลยผู้ขายจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าโจทก์ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาดังกล่าวนั้นจำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ หากยังมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809-2810/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การบอกกล่าวและการปฏิบัติตามมาตรา 387 และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้และสั่งงดสืบพยานแล้วนัดฟังคำพิพากษาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีหากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะโต้แย้งไว้เพื่อจะได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้แก่ผู้ขายตามกำหนดสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีแม้จะได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ค่าที่ดินที่ค้างไว้แน่นอนแล้วก็ตาม แต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงต้องบังคับตามมาตรา 387 กล่าวคือ จำเลยผู้ขายจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าโจทก์ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาดังกล่าวนั้นจำเลยจึงจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ หากยังมิได้ปฏิบัติเช่นนั้นจำเลยก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไม่ถือกำหนดเวลาชำระเงินเคร่งครัด สัญญาไม่เลิก การบอกกล่าวให้ชำระหนี้สำคัญกว่าริบเงิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยโดยมีข้อสัญญาว่า ให้โจทก์ผ่อนชำระราคา 60 เดือน กำหนดให้ชำระภายในวันที่ 5 ของเดือน ถ้าผิดนัดโจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระแล้ว โดยไม่ต้องทวงถามกันอีก และให้ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาด้วย โจทก์ชำระตามกำหนดเพียง 8 งวด ต่อจากนั้นได้ชำระคลาดเคลื่อนไปจากวันที่กำหนดไว้บ้าง 2 เดือน 3 เดือนชำระครั้งบ้าง แม้กระทั่งค้างชำระอยู่ถึง 10 งวดแล้วจึงชำระในคราวเดียวกัน จำเลยก็ยอมรับชำระตลอดมา แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระเงินค่าที่ดินเคร่งครัดตามข้อสัญญา ต่อมาโจทก์มิได้ชำระเงินอยู่ปีกว่า แล้วจึงส่งเงินที่ยังค้างอยู่ทั้งหมดชำระให้ในคราวเดียวกัน จำเลยจะไม่ยอมรับเงินโดยถือว่าสัญญาได้เลิกกันแล้วและริบเงินที่ได้ชำระแล้วเสีย ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะเมื่อไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินเป็นข้อผูกพันซึ่งกันและกันแล้ว เมื่อครบกำหนด 60 เดือนตามสัญญา โจทก์ยังชำระหนี้ไม่ครบ จำเลยมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควร หากโจทก์ยังไม่ชำระ จำเลยจึงจะมีสิทธิเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่าฯ และการบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินเป็นกฎหมายพิเศษ ให้สิทธิแก่ผู้เช่าต่างหากจากกฎหมายที่ว่าด้วยลักษณะเช่าตามธรรมดา เมื่อจำเลยไม่ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ฟ้องที่จำเลยเช่าเป็นเคหะควบคุมและอ้างสิทธิที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินั้น จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จะฟังว่าจำเลยไม่เคยค้างค่าเช่าก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 1135/2505 และที่ 1470/2508)
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าออกไปเมื่อใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ผู้เช่าจะต้องทำการบอกกล่าวก่อนฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 133/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ชัดเจนถึงสัญญาจ้าง และสิทธิการอยู่อาศัยสิ้นสุดเมื่อถูกบอกกล่าว
โจทก์จ้างจำเลยทำสวน จำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ว่ากล่าวประการใด ถือได้ว่าการเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นการอาศัย มิได้เข้ามาโดยมีข้อสัญญาจ้างตกลงเช่นนั้น ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะยังมิได้บอกเลิกสัญญาจ้าง และยังมิได้ชำระค่าจ้าง เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาทนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าห้องหลังหย่า: การอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่าเดิม ผู้ให้เช่าไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา
ภริยาอยู่ในห้องพิพาทกับสามีซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากผู้ให้เช่าต่อมาได้หย่าขาดกัน สามีแยกไปอยู่ที่อื่น โดยยอมยกห้องพิพาทให้เป็นสิทธิแก่ภริยา แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้รู้เห็นตกลงด้วย การที่ภริยาคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาจนครบสัญญาเช่า ถือว่าเป็นการอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า
อยู่ในห้องเช่าในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่า ไม่ใช่ในฐานะผู้เช่าผู้ให้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกการเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นจำนอง และผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากเรือนพิพาทโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะทำสัญญาขายฝาก จำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ในเรื่องจำนองแต่อย่างใด นิติกรรมจำนองที่จำเลยทำจึงไม่มีอยู่เลย สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้ว คำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวไม่ต่อสัญญา การเก็บค่าเช่าหลังหมดสัญญาไม่ใช่สัญญาเช่าใหม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าได้มีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้เช่าทราบว่าจะไม่ต่อสัญญาเช่าให้อีก และเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด ผู้ให้เช่าก็มีหนังสือบอกกล่าวอีกฉบับหนึ่งให้ผู้เช่าออกไปและให้ส่งคืนตึกที่เช่า ดังนี้ แม้ผู้เช่าจะยังคงครอบครองตึกพิพาทอยู่อีก ก็จะถือว่าสัญญาเช่าเป็นอันได้ทำกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาหาได้ไม่ ต้องถือว่าสัญญาเช่าระงับไปแล้ว และการที่ผู้ให้เช่ายังคงเก็บค่าเช่าต่อไปอีก 3 เดือนนั้น เป็นเรื่องผู้ให้เช่ากระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายที่ได้รับอยู่เท่านั้น หาใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและการสิ้นสุดสิทธิเช่าเมื่อถูกบอกกล่าว
จำเลยเช่าห้องโจทก์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงฟ้องขับไล่อ้างว่าจำเลยอาศัยดังนี้ จำเลยจะอ้างการเช่ามาต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ทำสัญญาเช่ากันมีกำหนด 5 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียน จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกการเช่าก็ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 สัญญาเช่าจึงจะระงับ
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
of 15