คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เทศบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: การหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า และสิทธิการครอบครองของเทศบาล
คำว่าที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ตรงกันกับคำว่า "ที่ดินรกร้างว่างเปล่า " ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(1)เมื่อทางการต้องการหวงห้ามที่ดินที่ยังรกร้างว่างเปล่า เพื่อจะใช้เป็นสาธารณประโยชน์ใด ก็ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้
ที่ดินที่พลเมืองได้ใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304(2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าที่เหล่านั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในตัว แม้ภายหลังจะเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์ด้วย
ที่ฌาปนสถานซึ่งประชาชนใช้ฝังและเผาศพอยู่ ภายหลังได้ล้างป่าช้า และได้ปลูกโรงเรียนเทศบาลขึ้น ที่ดังกล่าวนั้นก็ยังเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า บริเวณโดยรอบซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่านั้นโจทก์มุ่งหมายให้เข้าใจเพียงว่าเป็นที่ส่วนประกอบของที่สาธารณตามสภาพของลักษณะที่ดินที่เช่นนั้นไม่เกี่ยวกับที่ว่างเปล่าตามมาตรา 1304(1)แต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์(เทศบาล)ได้เข้าครอบครองโดยได้รับมอบให้ดูแลจัดตั้งสถานที่ศึกษาเล่าเรียนอันเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐตามอำนาจและหน้าที่ จำเลยได้เข้ามาบุกรุกอันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103-104/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าป่วยการที่ไม่เป็นความผิดฐานเกี่ยวข้องหากำไรส่วนตัว และการไม่มีอำนาจร้องทุกข์
เทศมนตรีไม่ได้ไปทำงาน แต่ได้ลงลายมือชื่อในบัญชีรายวันมาทำงานว่า ได้มาทำงานในวันนั้นผู้มีหน้าที่ตั้งฎีกาเบิกเงินหลงเชื่อ จึงเบิกเงินค่าป่วยการประจำวันและเงินเพิ่มพิเศษมามอบให้เทศมนตรีรับไป ดังนี้การกระทำของเทศมนตรีดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 133
ความผิดฐานฉ้อโกงเงินของเทศบาลนั้นสัตว์แพทย์ประจำเทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องเพิกถอนมติสภาเทศบาล: สมาชิกสภาไม่มีสิทธิฟ้องร้องหากกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิไว้
สมาชิกสภาเทศบาลหรือราษฎรในท้องถิ่นนั้น ไม่มีสิทธิที่จะมาร้องหรือฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาล โดยอ้างว่าเป็นการกระทำฝ่าฝืน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เพราะพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องนี้ไว้แต่อย่างไรเลย กรณีต่างกับในเรื่องเลือกตั้ง ซึ่งมีบทบัญญัติให้สิทธิเช่นนี้ไว้หรือแม้แต่ในเรื่องหุ้นส่วนบริษัทก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ให้ศาลถอนมติของที่ประชุมที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ตามกฎหมายเทศบาล พิจารณาจาก ‘ที่อยู่เป็นปกติ’ ในเขตเทศบาล แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พ.ร.บ.เทศบาล 2486 หรือ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้น ต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหะสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วย จะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาล จึงมีความหมายเกียวกับการเทศบาล จึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหะสถานใด ๆ ในเขตเทศบาลนั่นเอง ซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่า ผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฎในทะเบียนราษฎรเป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิศูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้ จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ในกฎหมายเทศบาล: ที่อยู่ถาวรในเขตเทศบาลคือหลักเกณฑ์
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พระราชบัญญัติเทศบาล 2486หรือ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้นต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วยจะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับการเทศบาลจึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหสถานใดๆ ในเขตเทศบาลนั่นเองซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้นย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้นฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่าผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร เป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: โอนจากสภาฯสู่เทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดไม่มีอำนาจ
ที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองจัดการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตวันตก ซึ่งต่อมาได้มีกฎหมายโอนกิจการอำนาจและหน้าที่ของสภานี้ให้แก่เทศบาลนั้น การฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินแปบงนี้ เช่นฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในแปลงนี้ ย่อมตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหามีอำนาจฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดินเมื่อมีการโอนอำนาจจากสภาฯ ไปยังเทศบาล
ที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองจัดการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก ซึ่งต่อมาได้มีกฎหมายโอนกิจการอำนาจและหน้าที่ของสภานี้ให้แก่เทศบาล นั้นการฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ เช่นฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่แปลงนี้ ย่อมตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหามีอำนาจฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดให้เรียกประชุมเทศบาลเป็นอันไร้ผลเมื่อจำเลยย้ายไปแล้ว
สมาชิกเทศบาลฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัด นั้น โดยระบุชื่อข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเรียกประชุมสมาชิกเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2486 มาตรา 33 เมื่อปรากฏว่าข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นย้ายไปจังหวัดอื่นเสียแล้วแม้ฟ้องดังกล่าวศาลจะรับวินิจฉัยได้ ก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นจัดให้มีการประชุมตามคำขอของโจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันไร้ผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของนายกเทศมนตรี และการสิ้นสุดสัญญาเช่าเมื่อครบกำหนด
เทศบาลเป็นนิติบุคคล นายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเทศบาลเป็นโจทก์ และลงชื่อแต่งทนายได้
สัญญาเช่าที่มีกำหนดเมื่อครบกำหนดสัญญาย่อมระงับโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและน้ำประปา โดยเทศบาลที่ไม่ได้สัมปทาน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทนย่อมไม่สำเร็จ
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลให้ตั้งโรงไฟฟ้ามีหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลผู้ร้องขอใช้ไฟฟ้าภายในเขตตฺ์สัมปทาน โจทก์เป็นราษฎรฟ้องหาว่าจำเลยทำผิดข้อสัญญากับโจทก์ในการจำหน่ายกระแสร์ไฟ มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม ข้อกำหนดในสัมปทานประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 374 ป.ม. แพ่งฯ ฉะนั้นปัญหาที่ว่าโจทก์จะได้สิทธิตามสัมปทานโดยอาศัย ป.ม. แพ่งฯ มาตรา 374 นี้หรือไม่ จึงไม่เกิดขึ้น
สัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าไม่ปรากฎว่ามีกำหนดระยะเวลา อาจมีการเลิกกันเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระค่ากระแสร์ไฟ ผู้ขายก็ตัดสายไฟ ดังนี้ ผู้ซื้อจะมาฟ้องขอให้บังคับผู้ขายให้ต่อสายไฟและจ่ายกระแสร์ไฟให้ต่อไปสภาพย่อมไม่เปิดช่องให้บังคับได้ตามขอ
เมื่อเทศบาลซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่ฟ้องโจทก์ไม่เรียกค่าเสียหายจากเทศบาลซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 เป็นแต่เรียกจากจำเลยอื่น ๆ ซึ่งเป็นคนงานและตัวแทนของจำเลยที่ 1 ๆ จึงไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ดังนี้ ก็ไม่มีทางให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
เทศบาลทำน้ำประปาโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขของสาธารณะชนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับห้ามมิให้เทศบาลเรียกเก็บค่าน้ำประปานั้น ศาลจะบังคับให้ไม่ได้ เพราะเป็นการรับรองให้โจทก์ได้รับผลจากการกระทำอันไม่ถูกต้องกับกฎหมาย./
of 13