พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด และสิทธิในการฟ้องร้อง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนตลอดจนจำนวนเงินค่าทดแทน ข้อ 14 นั้น เมื่อคู่กรณี (นายจ้างกับลูกจ้าง) ไม่พอใจคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ก็ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้วินิจฉัยให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างแล้ว นายจ้างมิได้อุทธรณ์ ก็ต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่นั้น จะมาโต้แย้งในชั้นศาลอีกว่าลูกจ้างผู้เป็นโจทก์นั้นไม่ใช่ลูกจ้างหรือโจทก์ประสบอุบัติเหตุเพราะความผิดของโจทก์เองหรือยกเหตุตามประกาศข้อ 15 ขึ้นอ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ในคดีค่าทดแทนแรงงาน หากมิอุทธรณ์ ถือเป็นที่สุด
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนตลอดจนจำนวนเงินค่าทดแทน ข้อ 14 นั้น เมื่อคู่กรณี (นายจ้างกับลูกจ้าง)ไม่พอใจคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ก็ต้องอุทธรณ์ไปตามลำดับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้วินิจฉัยให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างแล้ว นายจ้างมิได้อุทธรณ์ ก็ต้องถือเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่นั้น จะมาโต้แย้งในชั้นศาลอีกว่าลูกจ้างผู้เป็นโจทก์นั้นไม่ใช่ลูกจ้างหรือโจทก์ประสบอุบัติเหตุเพราะความผิดของโจทก์เองหรือยกเหตุตามประกาศข้อ 15 ขึ้นอ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
เมื่อลูกจ้างพอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ และไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คำวินิจฉัยไปยังอธิบดีกรมแรงงาน เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามคำวินิจฉัยนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ และไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 14 ว่าจะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ระบุเหตุผลความผิดพลาดในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ฎีกากล่าวข้อความแต่เพียงว่า จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยคำพิพากษาศาลล่างจึงฎีกาเพื่อศาลสูงได้วินิจฉัยในเหตุผลของพยานทั้งสองฝ่ายประกอบคำพิพากษาล่างที่จำเลยฟังว่ายังมีการคลาดเคลื่อนต่อเหตุผลข้อเท็จจริงอยู่หลายประการ...... ที่จำเลยยังไม่สามารถคัดสำนวนไปประกอบทำฎีกาทันภายในกำหนดอายุความฎีกา จึงขอยื่นฎีกาไว้แต่เพียงย่อ ดังนี้ ฎีกามิได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนข้อใด เป็นฎีกาที่มิได้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193, 225 ไม่เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646-647/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยทางปกครองต้องถูกต้องตามกฎหมาย ศาลมีอำนาจพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย แม้มีกฎหมายให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่
กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยเป็นที่สุดนั้นหมายความว่าคำวินิจฉัยนั้นจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจมีคำสั่งและมีคำวินิจฉัยเช่นนั้น มิได้หมายความว่า แม้คำสั่งคำวินิจฉัยนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุด นำมาฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ไปด้วย ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่า คำสั่งคำวินิจฉัยนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ ศาลย่อมไม่รื้อฟื้นข้อเท็จจริงหรือดุลพินิจที่เจ้าหน้าที่รับฟังหรือวินิจฉัยมา โดยถือว่าการใช้ดุลพินิจก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริง การจะฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจไปในทางใด จะถือว่าเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เว้นแต่การฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต อันถือได้ว่าการวินิจฉัยเช่นนั้นไม่เป็นการชอบด้วยกฎหมายพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 มาตรา 12 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะออกคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้ออาคารได้ ถ้าหากชำรุดทรุดโทรมหรืออยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ และกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นก็เห็นว่าไม่อาจแก้ไขได้ สภาพน่ารังเกียจหรือไม่นี้กฎหมายให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและกรรมการลงความเห็นมิได้ให้ถือตามข้อเท็จจริงการที่มีอาคารของโจทก์ที่เป็นไม้ซึ่งปลูกสร้างมาตั้ง 15 ปีแล้ว ปะปนอยู่กับอาคารซึ่งล้วนแต่เป็นตึกแถวสองชั้นทั้งนั้นในถนนแถวเดียวกันเช่นนี้ความเห็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารของโจทก์อยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ จึงเป็นความเห็นที่ชอบพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2503 มาตรา 12 มิได้บัญญัติบังคับว่าต้องจัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่ในอาคารที่สั่งให้รื้อนั้นเสมอไปทุกราย หากบุคคลเหล่านี้มีสถานที่อยู่ในที่แห่งอื่นแล้วก็ไม่จำต้องหาที่อยู่ให้ใหม่ มูลเหตุที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้เจ้าของรื้ออาคารอยู่ที่ว่าอาคารนั้นชำรุดทรุดโทรมอยู่ในสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจ และไม่อาจแก้ไขได้ ส่วนการจัดหาที่อยู่ให้ใหม่นั้นเป็นเหตุที่จะปฏิบัติกันได้ในภายหลัง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้จดแจ้งเรื่องการหาที่อยู่ให้ใหม่ลงไปในคำสั่งให้รื้อถอนอาคารด้วยนั้นหาทำให้คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่มิชอบไม่
การหาที่อยู่ให้ใหม่ตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด นี้ก็เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกรื้ออาคารชั่วคราวเท่านั้น จะหวังให้มีสภาพและความเป็นอยู่เหมือนอย่างอาคารเดิมทุกอย่างไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การหาที่อยู่ให้ใหม่ตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด นี้ก็เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกรื้ออาคารชั่วคราวเท่านั้น จะหวังให้มีสภาพและความเป็นอยู่เหมือนอย่างอาคารเดิมทุกอย่างไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความอุทธรณ์ภาษี: บันทึกเจ้าพนักงานสรรพากรไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งชี้ขาดเกี่ยวกับการประเมินภาษีอากรที่อำเภอไม่มีหน้าที่ประเมินนั้น ให้อุทธรณ์ต่อศาลภายใน กำหนด 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนั้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชึ้ขาดศาลอุทธรณ์ของโจทก์และแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์ก็พยายามนำหลักฐานต่าง ๆ ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรว่าได้ชำระภาษีนั้นแล้ว เจ้าพนักงานสรรพากรบันทึกว่าหลักฐานที่โจทก์นำมาแสดงฟังไม่ได้ โจทก์จะนับอายุอุทธรณ์แต่วันทราบคำสั่งเจ้าพนักงานสรรพากรไม่ได้ เพราะบันทึกของเจ้าพนักงานสรรพากรไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์แทนผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชึ้ขาดศาลอุทธรณ์ของโจทก์และแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์ก็พยายามนำหลักฐานต่าง ๆ ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรว่าได้ชำระภาษีนั้นแล้ว เจ้าพนักงานสรรพากรบันทึกว่าหลักฐานที่โจทก์นำมาแสดงฟังไม่ได้ โจทก์จะนับอายุอุทธรณ์แต่วันทราบคำสั่งเจ้าพนักงานสรรพากรไม่ได้ เพราะบันทึกของเจ้าพนักงานสรรพากรไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์แทนผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการสืบพยานไม่กระทบคำวินิจฉัย: ศาลฎีกาเห็นว่าการที่ศาลกำหนดให้โจทก์สืบพยานก่อน ไม่ทำให้ผลคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฎีกาคัดค้านข้อที่ศาลให้โจทก์นำสืบก่อน แต่ไม่ได้ขอให้มีการสืบพยานใหม่ คงมุ่งหมายเกี่ยวกับการวินิจฉัยคำพยาน เมื่อคดีนั้นได้สืบพยานเสร็จสิ้นไปทั้งสองฝ่าย และการที่ฝ่ายโจทก์สืบก่อน ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป แล้วศาลฎีกาก็พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำ และผลผูกพันคำวินิจฉัยเดิมต่อโจทก์ใหม่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจนคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยเป็นคดีใหม่อีก แต่มีทายาทคนอื่นมาเป็นโจทก์ร่วมด้วย ดังนี้ศาลย่อมรับฟ้องไว้พิจารณาคดีต่อไปได้ แต่คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คนเดิมไม่ให้กลับมาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา: ความล่าช้าในการขอ และหลักการไม่เปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์
จำเลยถูกฟ้องหลายสำนวน โจทก์เพิ่งจะมาขอให้นับโทษสำนวนแรกต่อกับโทษจำเลยในสำนวนที่ 5 ในชั้นอุทธรณ์ และขอให้เรียกตัวจำเลยมาสอบถามในชั้นศาลฎีกา ดังนี้แม้จำเลยจะเป็นคนเดียวกันจริง ศาลฎีกาก็ไม่นับโทษต่อให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดี ศาลมีอำนาจแก้ไขได้หากไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดคดี
คำสั่งอันเกี่ยวกับการบังคับคดีนั้น หาใช่เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีตามนัยแห่ง มาตรา 143,144 ป.ม.วิ.แพ่งไม่, ศาลอาจแก้ไขคำสั่งอันเกี่ยวกับการบังคับคดีนี้ได้ตามที่เห็นสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการบังคับคดีไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด ศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามสมควร
คำสั่งอันเกี่ยวกับการบังคับคดีนั้น หาใช่เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีตามนัยแห่ง มาตรา 143,144 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ศาลอาจแก้ไขคำสั่งอันเกี่ยวกับการบังคับคดีนี้ได้ตามที่เห็นสมควร