คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444-1445/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำเลยแม้ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม: จำเลยมีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อขอให้ยกฟ้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 20 ปี จำเลยมิได้อุทธรณ์คงมีโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลวางโทษจำเลยโดยไม่ลดฐานปราณีด้วย แม้ศาลอุทธรณ์จะคงพิพากษายืน จำเลยก็มีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงขอให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาโทษกักกัน แม้ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม
ในคดีอาญาที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 ปี และให้กักกันมีกำหนด 7 ปี นั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน จำเลยก็มีสิทธิฎีกาขอให้ยกหรือลดโทษกักกันได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาโทษกักกัน แม้ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม
ในคดีอาญาที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 ปีและให้กักกันมีกำหนด 7 ปี นั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน จำเลยก็มีสิทธิฎีกาขอให้ยกหรือลดโทษกักกันได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นรอการลงอาญา และการไม่ขัดขวางสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี 4 เดือน โดยไม่รอการลงอาญา ศาลอุทธรณ์แก้ให้รอการลงอาญา เป็นการแก้มากไม่ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามมาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มีสิทธิฎีกาเพื่อลงโทษจำเลยตามเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานสมคบกันฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 249, 63 แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามมาตรา 251 ก็ยังเป็นการยืนยันว่า จำเลยได้กระทำผิดในคดีที่โจทก์ฟ้องนี้ ฉะนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยบางคนไม่มีความผิด คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่มีความผิดนั้น ได้ชื่อว่าศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ศาลอุทธรณ์ปล่อยไปนั้น ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามมาตรา 249 ได้ ไม่ต้องห้ามตามป.ม.วิ.อาญามาตรา 219
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำเลยในคดีหมิ่นประมาท: การดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องและการขอบังคับคดี
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องกันเองขแให้ลงโทษทางอาญาศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว สั่งงดสืบพยานต่อไปแล้ว ยกฟ้งอโจทก์เสีย โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป แล้วสั่งหรือพิพากษาใหม่นั้น จำเลยจะฎีกายังไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ ส่วนจำเลยยังมิได้เข้ามามีฐานะเป็นคู่ความตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 165 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79-80/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำกัดตามทุนทรัพย์พิพาท แม้รวมพิจารณาคดี ก็ไม่ถือเป็นคดีเดียวกัน
โจทก์จำเลยต่างกล่าวหาฟ้องร้องกันคนละสำนวน แม้ศาลจะรวมการพิจารณา ก็ไม่ทำให้คดีทั้ง 2 เรื่องนั้น เป็นคดีเรื่องเดียวและมีทุนทรัพย์ที่พิพาทเท่ากันไปได้ สิทธิที่จะฎีกาจะมีเพียงใด จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ตั้งพิพาทในคดีที่จะฎีกานั้นเองโดยเฉพาะ แม้สำนวนหนึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท อันจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ แต่คู่ความไม่ฎีกาในสำนวนนี้ คงติดใจฎีกาเฉพาะแต่สำนวนที่มีนั้น ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าในคดีที่ฎีกานี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79-80/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ในสำนวนที่ฎีกา แม้รวมสำนวนพิจารณาแต่ไม่ถือเป็นคดีเดียวกัน
โจทก์จำเลยต่างกล่าวหาฟ้องร้องกันคนละสำนวนแม้ศาลจะรวมการพิจารณา ก็ไม่ทำให้คดีทั้ง 2 เรื่องนั้น เป็นคดีเรื่องเดียวและมีทุนทรัพย์ที่พิพาทเท่ากันไปได้ สิทธิที่จะฎีกาจะมีเพียงใด จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ตั้งพิพาทในคดีที่จะฎีกานั้นเองโดยเฉพาะ แม้สำนวนหนึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท อันจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้แต่คู่ความไม่ฎีกาในสำนวนนี้ คงติดใจฎีกาเฉพาะแต่สำนวนที่มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 2,000 บาทเท่านั้น ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในคดีที่ฎีกานี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงแล้ว คู่ความก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะจำเลยยังไม่เกิดขึ้นก่อนศาลประทับฟ้อง: สิทธิฎีกา
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลสั่งไม่รับฟ้อง โดยอ้างว่าสิทธิการฟ้องคดีระงับแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไปนั้น จำเลยจะฎีกายังไม่ได้เพราะจำเลยยังไม่มีฐานะเป็นจำเลย หากเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์เท่านั้น
(อ้างฎีกาที่ 296/2480 และ ที่ 199/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืดเวลาอุทธรณ์ในคดีอาญา และสิทธิในการฎีกา แม้ไม่ปฏิบัติตามรูปแบบ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิตจำเลยแล้ว แม้การที่ศาลชั้นต้นยืดเวลาอายุอุทธรณ์ให้จำเลยนั้น จะยึดได้หรือไม่ก็แล้วแต่ อย่างน้อยก็ฟังคำอุทธรณ์เป็นคำแถลงการณ์ของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ได้ และไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะฎีกาต่อไป
of 17