คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
ทายาทได้แบ่งปันมรดกกันเป็นส่วนสัดและเข้าครอบครองเป็นกิจปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ภายหลังจะเถียงว่าการแบ่งใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1750 วรรคหลังย่อมไม่ได้ เพราะการแบ่งได้กระทำถูกต้องตามมาตรา 1750 วรรคแรกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
ทายาทได้แบ่งปันมรดกกันเป็นส่วนสัดและเข้าครอบครองเป็นกิจปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ภายหลังจะเถียงว่าการแบ่งใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคหลังย่อมไม่ได้เพราะการแบ่งได้กระทำถูกต้องตามมาตรา 1750 วรรคแรกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าเช่า: การปลดหนี้ต้องทำเป็นหนังสือ และห้ามเถียงในชั้นบังคับคดีประเด็นที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระค่าเช่าที่ค้างและตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบสถานที่เช่าแก่โจทก์ จำเลยก็มิได้ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้อยู่ในสถานที่เช่า จนศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าตามฟ้องโจทก์และบังคับจำเลยตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยจะกลับมาเถียงในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาค่าเช่าดังกล่าวแล้วจากจำเลยเพราะมีคนอื่นเช่าไป และจำเลยไม่เคยครอบครองสถานที่เช่าดังนี้เป็นการเถียงฝืนคำพิพากษาและคำบังคับคดีที่ออกบังคับแก่จำเลย ย่อมฟังไม่ได้
การปลดหนี้ค่าเช่าบ้านซึ่งมีคำพิพากษาให้ใช้หนี้นั้นแล้วต้องทำเป็นหนังสือ หนังสือที่โจทก์มีถึงคนภายนอกไม่ใช่หนังสือที่จำเลยจะอ้างได้ว่าเป็นหนังสือปลดหนี้ที่โจทก์ทำให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาปลอมแปลงหนังสือสำคัญ - การเขียนลายมือชื่อผู้อื่นโดยไม่มีเจตนา - ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลง
จำเลยเขียนลายมือชื่อของผู้อื่นในบัญชีรับเงิน โดยจำเลยเขียนลายมือที่เขียนเป็นลายมือของจำเลย ไม่มีการดัดแปลงเพื่อให้เหมือนหรือให้คล้ายลายมือผู้อื่น จำเลยไม่มีเจตนาจะปลอม ดังนี้ จำเลยไม่มีผิดฐานปลอมหนังสือ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์: ไม่ต้องจดทะเบียนแต่ต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 บัญญัติว่าให้ทำหลักฐานเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้มีบัญญัติให้จำต้องจดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากทรัพย์ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ พยานบุคคลสำคัญกว่าใบรับฝาก
การฝากทรัพย์กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์นำสืบพยานบุคคลแตกต่างไปจากใบฝากทรัพย์ที่โจทก์อ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากทรัพย์ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นได้
การฝากทรัพย์กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือโจทก์นำสืบพยานบุคคลแตกต่างไปจากใบฝากทรัพย์ที่โจทก์อ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือระบุเจตนาบริจาคทรัพย์เมื่อเสียชีวิต แม้มีข้อความมอบให้แล้ว ก็ถือเป็นพินัยกรรมได้
ข้อความในหนังสือไม่ได้ระบุการเผื่อตายไว้โดยตรง แต่มีคำว่าพินัยกรรมและข้อความในนั้นก็แสดงว่าผู้ทำตั้งใจยกทรัพย์ให้เมื่อตายแล้วดังนี้ แม้จะมีข้อความว่าได้มอบทรัพย์ให้ตั้งแต่วันทำหนังสือนั้นก็ตาม ก็ยังคงถือได้ว่าเป็นหนังสือพินัยกรรม
หนังสือมีข้อความเป็นพินัยกรรมแต่ระบุว่าได้มอบทรัพย์ให้และได้ลงชื่อผู้มอบผู้รับมอบและพยานกับผู้เขียนด้วยนั้นก็คงถือว่าสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องรับรองบุตร, หลักฐานหนังสือรับรอง, เจตนาการรับรองบุตร
อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1522 ไช้บังคับสำหรับไนกรนีที่ฝ่ายชายผู้เปนสามีจะฟ้องความตามมาตรา 1520.
ฟ้องขอไห้รับรองบุตร โจทไม่จำต้องกล่าวไนฟ้องว่ามีหนังสือเปนหลักถานตามที่บัญญัติไว้ไนมาตรา 1529 (2) และโจทนำสืบถึงหนังสือนั้นได้.
หนังสือที่จำเลยทำไห้โจทรับจะเลี้ยงดูโจทย่อมเปนหลักถานโดยปริยายแล้วว่า จำเลยซาบแน่ว่าบุตรไนครรภ์นั้นเปนบุตรอันเกิดแต่จำเลย ๆ จึงยินยอมทำหนังสือรับเลี้ยงดู.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาหนังสือที่มีอากรแสตมป์และการลอกอากรแสตมป์โดยเจตนาทุจริตเป็นความผิด
การเก็บรักษาย่อมมีความหมายอย่างเดียวกับปกครองรักษา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 131. เจ้าพนักงานมีหน้าที่เก็บรักษาหนังสือที่มีอากรแสตมป์ปิด.ได้ลอกเอาอากรแสตมป์ไปโดยเจตนาทุจริต เป็นความผิดตาม มาตรา131.
of 16