คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษีและการสั่งให้ชำระเงินเพิ่ม กรณีพบภาษีชำระขาด
โจทก์ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ไว้ที่อำเภอเป็นจำนวนน้อยผิดสังเกตุเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบเข้ามีความสงสัย จึงได้สั่งให้หมายเรียกโจทก์มาชี้แจงและนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ โจทก์รู้ตัว จึงทำบัญชีขึ้นใหม่และนำภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ที่ยังชำระขาดอยู่ไปชำระต่ออำเภอ ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานไม่ออกหมายเรียกดังกล่าว โจทก์ก็คงไม่นำเงินภาษีที่ขาดอยู่ไปชำระให้ เช่นนี้เรียกได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่า โจทก์ยังชำระเงินภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ขาดอยู่ตามความหมายในประมวลรัษฎากร ม.191 แล้ว ทางสรรพากรย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีก 5 เท่า ของภาษีที่ชำระขาดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษีและอำนาจสั่งให้ชำระเงินเพิ่ม กรณีผู้เสียภาษีชำระภาษีน้อยเกินจริง
โจทก์ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ไว้ที่อำเภอเป็นจำนวนน้อยผิดสังเกต เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบเข้ามีความสงสัย จึงได้สั่งให้หมายเรียกโจทก์มาชี้แจงและนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ โจทก์รู้ตัว จึงทำบัญชีขึ้นใหม่และนำภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ที่ยังชำระขาดอยู่ไปชำระต่ออำเภอ ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานไม่ออกหมายเรียกดังกล่าว โจทก์ก็คงไม่นำเงินภาษีที่ขาดอยู่ไปชำระให้ เช่นนี้เรียกได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่า โจทก์ยังชำระเงินภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ขาดอยู่ตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา191แล้ว ทางสรรพากรย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีก 5 เท่าของภาษีที่ชำระขาดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989-993/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานประเมินภาษีและการลดหย่อนเงินเพิ่มตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
คำว่า "อาจต้องรับผิดเสียเงินอีก ฯลฯ" ตามความใน มาตรา 23,26 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมาย กำหนดให้ใช้ดุลพินิจหนักเบาตามควรแก่กรณีเป็นเรื่องๆไม่ว่าควรเรียกภาษีเพิ่มถึงเต็มพิกัดหรือลดหย่อนลงเพียงใด เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเกินสมควรแก่พฤติการณ์ที่ผู้เสียควรต้องรับผิดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดลดให้ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไถ่ถอนในสัญญาขายฝาก: การยอมรับเงินเพิ่มและผลกระทบต่อสิทธิ
ผู้ขายฝากฟ้องผู้รับซื้อฝากขอให้รับเงินขายฝากและส่งมอบที่ดินคืนแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้ขายฝากได้ยอมสละสิทธิหรือระงับการใช้สิทธิไถ่ถอนคืนตามสัญญาขายฝากแล้วคดีจึงไม่มีทางที่จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องได้ เพราะสิทธิการไถ่ถอนระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไถ่ถอนขายฝาก: การยอมรับเงินเพิ่มและผลกระทบต่อสิทธิ
ผู้ขายฝากฟ้องผู้รับซื้อฝากขอให้รับเงินขายฝากและส่งมอบที่ดินคืนแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้ขายฝากได้ยอมสละสิทธิหรือระงับการใช้สิทธิไถ่ถอนคืนตามสัญญาขายฝากแล้ว คดีจึงไม่มีทางที่จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องได้ เพราะสิทธิการไถ่ถอนระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงรายการปริมาณข้าวผิดพลาดตามประมวลรัษฎากร ไม่ถือว่าไม่แสดงรายการ จึงไม่เสียเงินเพิ่ม 10 เท่า
ผู้ทำการโรงสี ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการปริมาณข้าวซึ่งมีอยู่ ได้มาและขายไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 201 นั้นถ้าไม่แสดงรายการปริมาณข้าวดังกล่าวแล้ว ย่อมเข้ามาตรา 202 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 10 เท่า แต่ถ้าได้แสดงรายการปริมาณข้าวแล้วแต่ลงจำนวนข้าวผิดไปเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องไม่แสดงรายการตามมาตรา 202 ฉะนั้นจึงจะเรียกเงินเพิ่ม 10 เท่าจากผู้ทำการโรงสีไม่ได้ถ้าเรียกเพิ่มไว้แล้ว ผู้ทำการโรงสีฟ้องเรียกคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงบัญชีข้าวโรงสี: การลงรายการผิดพลาดไม่ถือว่าไม่แสดงรายการ
ผู้ทำการโรงสีซึ่งมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการปริมาณข้าวซึ่งมีอยู่ ได้มาและขายไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 201 นั้น ถ้าไม่แสดงรายการปริมาณข้าวดังกล่าวแล้วย่อมเข้ามาตรา 202 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 10 เท่า แต่ถ้าได้แสดงรายการปริมาณข้าวแล้วแต่ลงจำนวนข้าวผิดไปเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องไม่แสดงรายการตามมาตรา 202 ฉะนั้นจึงจะเรียกเงินเพิ่ม 10 เท่าจากผู้ทำการโรงสีไม่ได้ ถ้าเรียกเพิ่มไว้แล้วผู้ทำการโรงสีฟ้องเรียกคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่มจากความล่าช้าในการยื่นรายการภาษี และความแตกต่างระหว่างบทลงโทษทางแพ่งและอาญา
เมื่อผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ไม่ยื่นรายการเงินได้ภายในวันที่ 15 พฤษภาคมตาม ม.13 นายตรวจภาษีชอบที่จะปฏิบัติการตาม ม.16 เพื่อกำหนดประเมินจำนวนเงินภาษีและมีอำนาจที่จะเรียกเงินภาษีเพิ่มขึ้นดังที่กำหนดไว้ใน ม.16(4)ได้ เงินเพิ่มภาษีตาม ม.16(4) เป็นจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่ลงตัวจะลดลงอีกไม่ได้ ม.49 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้เป็นบทลงโทษปรับผู้ไม่ยื่นรายการในทางอาญา ซึ่งผิดกับ ม.16 แต่มาตราทั้ง 2 นี้หาลบล้างซึ่งกันและกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6170/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยต้องรวมเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายสรรพสามิตและกฎหมายจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต
การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตเพิ่มเติมจากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4 การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เมื่อมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2527 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเสียภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าหรือบริการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละสิบของภาษี และมาตรา 139 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 บัญญัติให้เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินภาษี การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยในกรณีนี้จึงต้องคำนวณในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตรวมกับเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ป.รัษฎากร ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วออกจากภาษีที่ต้องชำระ
มาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้ว แต่กรณี เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายในช่วงหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 ที่จะนำมาหักได้ ประกอบกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) ของจำเลย ในช่องการคำนวณภาษีรายการที่ 4 ก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว จึงนำมาถือเป็นเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือชำระเกินในรายการที่ 5 เช่นนี้ โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในรายการที่ 4 มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ โดยไม่ต้องรอเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ถึงจะนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตภาษี โจทก์จึงไม่มีภาษีที่ชำระขาดที่จะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำหลักเกณฑ์ตามหนังสือที่ กต.0723/ว.3956 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ที่ให้คำนวณเงินเพิ่มจากภาษีที่ชำระขาดโดยไม่คำนึงถึงภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จึงเป็นการแปลความตามมาตรา 67 ตรี ในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีและเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีของผู้เสียภาษี การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
of 15