พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าล่วงเวลาล่าช้าของรัฐวิสาหกิจ แม้มีเหตุผลแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย
เหตุที่จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ล่าช้าเป็นเพราะระเบียบการจ่ายเงินเป็นการภายในซึ่งจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ไว้เอง จึงยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยมิต้องรับผิดหาได้ไม่ เมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์หลังจากที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์เกิน 30 วัน นับแต่โจทก์ทำงานล่วงเวลาเสร็จสิ้นลงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์ ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาจากโจทก์ จำเลยก็ได้พยายามดำเนินการ โดยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือจงใจทำให้ล่าช้า จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรอันเป็นผลให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศดังกล่าว ข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยคุ้มครองลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และประเด็นอายุความดอกเบี้ยที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343-2346/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงงานยาสูบเป็นรัฐวิสาหกิจ นายจ้างลูกจ้างบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้
โรงงานยาสูบเป็นโรงงานผลิตบุหรี่ซิกาแรตจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรเป็นรายได้ของแผ่นดินที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเช่นเอกชนผู้ประกอบอุตสาหกรรมอื่นโดยทั่วไป มิใช่ราชการส่วนกลางตามความหมายที่ยกเว้นไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แทนได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบมีอำนาจควบคุมดูแลจัดกิจการของโรงงานตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตามความของประกาศกระทรวงมหาดไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189-2190/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเคหะแห่งชาติมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ และต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 28 กำหนดว่า "ในการดำเนินกิจการของการเคหะแห่งชาติให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน" เป็นหลักของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของรัฐควรต้องคำนึงอยู่แล้ว หาใช่เป็นข้อแสดงวัตถุประสงค์ว่าไม่ประสงค์เพื่อแสวงกำไรอย่างเด็ดขาดไม่ กิจการของการเคหะแห่งชาติจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการสาธารณูปโภคย่อมมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร แม้เป็นรัฐวิสาหกิจ พนักงานยังคงเป็นลูกจ้าง
การดำเนินกิจการสาธารณูปโภคนั้น มิใช่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการที่มิได้มุ่งหวังกำไรโดยเด็ดขาดหรือเป็นกิจการที่ให้เปล่า กิจการของการประปานครหลวงอาจมีได้ทั้งกำไรและขาดทุน นอกจากนี้ในด้านรายได้กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย ค่าสัมภาระเงินสงเคราะห์ ประโยชน์ตอบแทน โบนัส เงินสำรอง และเงินลงทุนแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ ดังนั้น เงินที่นำส่งเป็นรายได้ของรัฐก็คือกำไรจากกิจการของจำเลยนั่นเอง กิจการของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงปรับเงินเดือนตามมติรัฐบาล: ไม่ผูกพันตามจำนวนที่รัฐบาลกำหนด
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนนายจ้างกับผู้แทนลูกจ้างมีความว่า การที่พนักงานขอให้ปรับเงินเดือนขึ้นอีก 20เปอร์เซ็นต์ นั้น เรื่องนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาให้แก่ข้าราชการอยู่ และในการนี้ก็จะพิจารณาปรับปรุงให้แก่รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งบริษัทของนายจ้างด้วย และจะมีผลใช้บังคับในระยะเวลาพร้อมกัน ข้อตกลงดังนี้หมายความเพียงแต่ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นนายจ้างจะปรับปรุงเงินเดือนให้เพียงใดนั้น ไม่มีการระบุไว้แน่ชัดเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะพิจารณา จะถือว่าบริษัทนายจ้างได้ตกลงรับเป็นข้อผูกพันว่า เมื่อรัฐบาลปรับปรุงเงินเดือนให้แก่ข้าราชการแล้ว จะปรับปรุงเงินเดือนให้ลูกจ้างขึ้นจากเดิม 20 เปอร์เซ็นต์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001-2002/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจต้องอยู่ในบังคับประกาศคุ้มครองแรงงานเช่นนายจ้างเอกชน หากมิได้ยกเว้น
องค์การแก้วจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่ราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นกิจการที่กระทรวงมหาดไทยประกาศยกเว้น มิให้อยู่ในข่ายบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจึงต้องอยู่ในบังคับประกาศดังกล่าวเช่นนายจ้างที่เป็นเอกชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจ: คำสั่งย้ายช่วยงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องเป็นการสั่งถอดถอนหรือพ้นจากตำแหน่ง
โจทก์เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยย่อมจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวตลอดไป จนกว่าผู้มีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับได้สั่งถอดถอนหรือให้พ้นจากตำแหน่งไป การที่โจทก์เพียงแต่ถูกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งให้ไปช่วยงานกระทรวงคมนาคม เป็นเพียงการที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมชั่วคราวเท่านั้น หาทำให้พ้นจากตำแหน่งไปทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119-1120/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากสัญชาติไทย ค่าชดเชย อายุความ และดอกเบี้ย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และ 47 ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่าการที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุม่มีสัญชาติไทยอันเป็นการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบมิใช่เป็นการเลิกจ้าง เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างพ้นจากสภาพความเป็นลูกจ้างเพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรจึงมิใช่กิจการทีได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
ค่าชดเชยเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายเมื่อเลิกจ้างเมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องทวงถาม และค่าชดเชยเป็นหนี้เงินเมื่อผิดนัดจึงต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายเมื่อเลิกจ้างเมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องทวงถาม และค่าชดเชยเป็นหนี้เงินเมื่อผิดนัดจึงต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกค่าบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างรัฐวิสาหกิจและผู้ใช้บริการ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจจัดบริการให้ผู้ที่พูดโทรศัพท์จากเครื่องโทรศัพท์ภายในบ้านหรือสำนักงานฝ่ายเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของกรมไปรษณีย์โทรเลขไปยังต่างประเทศ โดยผู้ใช้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้แก่โจทก์ ค่าธรรมเนียมนี้คือสินจ้างถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าหรือผู้รับทำการงาน การเรียกเอาสินจ้างดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7) (อ้างคำพิพากษาฎีกา 2462/2520)