คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังได้มาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ผู้ครอบครองขอคำสั่งศาลแสดงกรรมสิทธิ์ได้
พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486 มาตรา 14และกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตาม พระราชบัญญัตินี้ข้อ 1 ว่าผู้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์แล้วตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ฉะนั้นการที่ผู้ครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว แม้ที่ดินนั้นจะมีชื่อผู้อื่นในโฉนด ผู้ครอบครองก็ย่อมจะยื่นคำร้องต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องผู้มีชื่อในโฉนดนั้นมาเป็นจำเลยอย่างคดีมีข้อพิพาท แต่ถ้าผู้มีชื่อในโฉนดร้องคัดค้านเข้ามา ศาลก็ย่อมสั่งว่าคดีกลายเป็นมีข้อพิพาทให้เสียค่าธรรมเนียมและดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 ข้อ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองที่เกิดจากเอกสารปลอมและสำคัญผิดในตัวบุคคล สัญญาเป็นโมฆะ
การที่มีผู้ปลอมเป็นเจ้าของโฉนดและเซ็นชื่อปลอมเป็นชื่อโจทก์ ไปจำนองที่ดินของโจทก์แก่ผู้อื่น ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขอให้ศาลทำลายสัญญาจำนองให้ที่ดินสู่สภาพเดิมได้ ผู้รับจำนองไม่ได้ทรัพย์สินจากการจำนองแต่อย่างใด และจะใช้มาตรา 1300ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยันโจทก์มิได้
ทำสัญญารับจำนองโดยสำคัญผิดว่าผู้จำนองเป็นเจ้าของที่ดินเป็นเรื่องสำคัญผิดตามมาตรา 119 สัญญาจำนองเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่เป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง หากไม่ได้ถูกหลอกลวงโดยตรง
องค์สำคัญแห่งความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306คือการฉ้อโกงซึ่งตามมาตรา 304 ว่าต้องมีการหลอกลวง ฯลฯผู้ที่ถูกหลอกลวงตามมาตรา 306(4) ก็คือ ผู้ซื้อ ผู้รับทรัพย์ไว้เป็นประกันผู้รับจำนำผู้รับจำหน่าย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ หาได้ถูกหลอกลวงไม่ ฉะนั้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องผู้ฉ้อโกงเป็นคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า: ศาลต้องเคารพเมื่อใช้สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เป็นกฎหมายที่ออกเพื่อยับยั้งการใช้สอยและแสวงหาดอกผลจากทรัพย์สินของเจ้าของกรรมสิทธิ์ไว้ชั่วคราวกล่าวคือบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ต้องอยู่ภายในบังคับแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่ได้มีข้อยกเว้นไว้ในบางกรณีตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ นั้น
เมื่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าได้ใช้ดุลพินิจให้ผู้ให้เช่าเดิมเข้าอยู่อาศัยในเคหะของตนแล้ว ก็เท่ากับว่าได้ใช้ดุลพินิจให้ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินได้ใช้สิทธิของตนตามหลักกฎหมายทั่วไปแล้ว และเมื่อไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายพิเศษนั้น ให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการไว้อย่างไรแล้ว ดุลพินิจของคณะกรรมการที่ให้ความยินยอมก็ต้องยุติเป็นเด็ดขาดเพียงนั้น ศาลย่อมจะต้องพิจารณาข้อพิพาทของคู่ความตามสิทธิในหลักกฎหมายทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีขับไล่: ศาลชี้ขาดประเด็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ไม่ตัดสินว่าที่ดินเป็นของใคร
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยครั้งหนึ่ง ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์สืบไม่ได้ความแน่นอนว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์จึงกลับมาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินรายเดียวกันอีก ดังนี้เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะเมื่อโจทก์สืบไม่สมตามคำฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่า ที่ดินนั้นเป็นของจำเลยหรือของใคร จึงถือได้ว่า ในคดีก่อนศาลได้ชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาเช่าที่ดินโดยมารดาผู้ไม่ได้รับมอบอำนาจ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยได้ทำสัญญาเช่าจากมารดาโจทก์ขณะที่โจทก์อุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อไม่ได้ความว่า โจทก์ได้แต่งตั้งมารดาโจทก์เป็นตัวแทน จะเป็นโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ดังนี้ จะฟังว่ามารดาโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองฝิ่นเถื่อน: เจ้าของกรรมสิทธิ์สำคัญกว่าสถานที่ซุกซ่อน
จำเลยมีฝิ่นเถื่อนไว้ในครอบครองโดยชุกซ่อนไว้ที่ใต้บันไดและในครัวต้องมีผิดตามกฎหมายข้างต้น ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 222 คดีที่ฎีกาได้แต่ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้อง ฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพะยานหลักฐานในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมฟ้องขับไล่ซ้ำในคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยเรียกค่าเสียหาย เป็นการใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544มาตรา 76 โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน อันเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12315/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้กระทำผิด: หลักการและข้อยกเว้นตามกฎหมายอาญาและป่าสงวน
กฎหมายที่มีโทษทางอาญา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ การริบทรัพย์สินเป็นโทษทางอาญาประการหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) ดังนั้น การริบทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นที่มิได้กระทำความผิด ย่อมมีผลเท่ากับลงโทษผู้ที่มิได้กระทำความผิดซึ่งกระทำมิได้ แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 ที่โจทก์อ้างบัญญัติให้ริบเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่คำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด หรือมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ก็มิได้มีบทบัญญัติบังคับให้กระทำเช่นนั้นเพียงแต่ให้ริบเสียก่อนเท่านั้น ส่วนการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นหลักทั่วไป ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถไถของกลางและไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด จึงให้คืนของกลางแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9346/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สู้ราคาในการขายทอดตลาด และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
แม้ตามสัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยทำสัญญากับเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเป็นผู้สู้ราคาสูงสุด แล้วละเลยไม่ใช้ราคา ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม จำเลยผู้สู้ราคาคนเดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าวกับ ส. เมื่อศาลชั้นต้นกันส่วนเงินครึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ ตามสำเนาคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง โดยโจทก์รับเงินจำนวนน้อยลงจากการกระทำของจำเลย ย่อมกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ เป็นการถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 16