คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุอันสมควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742-3743/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเพื่ออุทธรณ์มติ คชก. ถือเป็นเหตุอันสมควร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 62 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมติ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด ที่ห้ามมิให้ผู้นั้นขัดขวางการทำนาของผู้มีสิทธิในนาหรือที่ให้ผู้นั้นออกจากนาจะต้องไม่มีเหตุอันสมควร แต่ คชก.ตำบล มีหนังสือแจ้งมติให้จำเลยทราบ ซึ่งจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว แต่ภายหลัง ว. ผู้เสียหายกลับไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งที่วันดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างที่จำเลยจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้ และจำเลยก็ได้อุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56 วรรคแรก และหลังจาก คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัยยืนตามมติ คชก.ตำบลแล้ว จำเลยก็ยังได้ยื่นฟ้องต่อศาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การที่จำเลยยังไม่ออกจากที่นาพิพาทจึงเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือของลูกจ้าง, การกระทำส่อทุจริตเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้
ฎีกาของจำเลยมีลักษณะเป็นการโต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว เป็นอุทธรณ์ที่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย เมื่อมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันได้ความว่า โจทก์ยอมรับว่าได้ขับรถยกกล่องใส่เศษสะแคร็ปที่มีม้วนสายโทรศัพท์วางอยู่บนกล่องดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าหากได้นำไปขายต่อบุคคลภายนอก โดยไม่มีผู้ใดสั่งให้ยกมาเก็บไว้ในสถานที่ล่อแหลมพร้อมในการนำออกสู่ภายนอก การกระทำของโจทก์จึงส่อไปในทางทุจริต เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจและขาดความเชื่อถือในการทำงานของโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 13