พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง: ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่หนองสาธารณะ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นหนองสาธารณะ คู่ความต่างไม่ติดในสืบพยาน โดยตกลงกันว่าให้ศาลฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่สืบมาแล้วในคดีอาญาคดี
หนึ่ง ซึ่งอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทดังนี้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีอาญาเรื่องนั้นว่า ที่พิพาทจะเป็นหนองสาธารณะหรือไม ไม่วินิจฉัยให้คู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่ง ดังนี้ ข้อที่คู่ความร้องขอให้ฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญา จึงเป็นอันไร้ผล ชอบที่คู่ความจะต้องนำสืบข้อเท็จจริงกันในคดีแพ่งนี้ต่อไป./
หนึ่ง ซึ่งอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทดังนี้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีอาญาเรื่องนั้นว่า ที่พิพาทจะเป็นหนองสาธารณะหรือไม ไม่วินิจฉัยให้คู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่ง ดังนี้ ข้อที่คู่ความร้องขอให้ฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญา จึงเป็นอันไร้ผล ชอบที่คู่ความจะต้องนำสืบข้อเท็จจริงกันในคดีแพ่งนี้ต่อไป./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน: โจทก์มีหน้าที่นำสืบหากจำเลยโต้แย้ง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการกรมตำรวจลงวันที่ 14 สิงหาคม 2493 กำหนดให้กองบังคับการกองตรวจมีเขตอำนาจรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตลอดเขตพื้นที่จังหวัดพระนครและธนบุรีนั้น มิใช่เป็นกฎหมายอันจะถือได้ว่า ทุกคนจำต้องทราบอย่างกฎหมาย แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบให้ทราบ เมื่อจำเลยคัดค้านว่านายตำรวจผู้สอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน จึงเป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบแสดงว่า นายตำรวจผู้สอบสวนมีอำนาจสอบสวนเมื่อไม่นำสืบก็ยังฟังไม่ได้ว่า ได้มีการสอบสวนโดยชอบด้วยวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว จึงต้องบทห้ามมิให้อัยการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาประนีประนอมด้วยสัญญาปากเปล่า การนำสืบพยานหลักฐาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 บัญญัติห้ามการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเฉพาะกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง คือในกรณีที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น
สัญญาประนีประนอมที่ทำกันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 นั้น ในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือฉะนั้นแม้จะได้ทำเป็นหนังสือไว้แล้วก็ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงแก้ไขสัญญาประนีประนอมนั้นเสียใหม่แล้วด้วยสัญญาปากเปล่าได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94
สัญญาประนีประนอมที่ทำกันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 นั้น ในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือฉะนั้นแม้จะได้ทำเป็นหนังสือไว้แล้วก็ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงแก้ไขสัญญาประนีประนอมนั้นเสียใหม่แล้วด้วยสัญญาปากเปล่าได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสัญญาจำนอง: การนำสืบเพื่อแก้ไขเจตนาและข้อยกเว้นตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาจำนอง ซึ่งมีข้อความว่าเป็นประกันเงิน ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ นั้น ถ้าผู้รับจำนองจะขอสืบว่าการรับจำนองนั้นผู้รับจำนองแสดงเจตนาไปด้วยสำคัญผิดว่าผู้จำนองจำนองเพื่อประกันบุคคลอื่น ฉะนั้นที่ทำสัญญาไปเป็นการประกันผู้จำนองเอง จึงเป็นการแสดงเจตนาด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เพื่อต่อสู้ว่านิติกรรมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119นั้น ผู้รับจำนองอาจนำสืบได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองขอสืบว่าข้อความในสัญญาจำนองที่มีว่า "เป็นประกันเงิน ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้" เป็นว่าเป็นประกันบุคคลอื่นเพื่อให้สัญญาจำนองมีผลบังคับได้ดั่งข้อความที่ผู้รับจำนองขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ - การนำสืบ - ที่มาของสัญญา
ฟ้องเรียกเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้นั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ดี แต่เมื่อผู้กู้ให้การรับอยู่ว่าได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริงเป็นแต่ต่อสู้ว่าเกิดจากเรื่องซื้อขายซึ่งไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างไรแล้ว ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ผู้กู้ชำระเงินแก่ผู้ให้กู้ตามสัญญานั้นได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ แต่นำสืบว่าเป็นหนี้ค่าซื้อปลา อันเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งสัญญากู้ ดังนี้ หาเป็นการสืบนอกประเด็นไปจากคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ แต่นำสืบว่าเป็นหนี้ค่าซื้อปลา อันเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งสัญญากู้ ดังนี้ หาเป็นการสืบนอกประเด็นไปจากคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบสัญญาปราณีประนอมยอมความที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าเป็นที่ของจำเลยดังนี้จำเลยจะนำสืบว่าได้มีสัญญาปราณีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับที่ดินนี ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น ทั้งไม่มีมีผลแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบสัญญาประนีประนอมยอมความนอกประเด็นคดีขับไล่ จำเลยต้องยกเหตุต่อสู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าเป็นที่ของจำเลย ดังนี้ จำเลยจะนำสืบว่าได้มีสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับที่ดินนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น ทั้งไม่มีผลแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสำคัญของคดีอยู่ที่การผิดสัญญา ไม่ใช่ประเภทสัญญา (เช่าหรือจ้างทำของ) โดยการนำสืบไม่ขัดแย้งกับฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ เพราะจำเลยผิดสัญญาที่โจทก์จ้างจำเลยไปพูดโฆษณาโดยใช้เครื่องวิทยุกระจายเสียงและเครื่องทำไฟฟ้าของจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าเครื่องขยายเสียง เครื่องทำไฟฟ้าของจำเลย แล้วผิดสัญญาไม่จัดการนำเครื่องไปเอง ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจะเป็นสัญญาเช่าหรือสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่ข้อสำคัญ ข้อสำคัญในคดีอยู่ที่ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิดสัญญา
การที่จำเลยค้านว่า ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ไปทำการโฆษณาเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง แต่แล้วนำสืบเป็นเรื่องเช่าเครื่องขยายเสียงจากจำเลยไปโฆษณาด้วยตนเองเป็นการสืบไม่สมฟ้องนั้น แม้ฟ้องของโจทก์ตอนต้นจะกล่าวมีนัยดังจำเลยว่าก็ดี แต่ฟ้องตอนกล่าวถึงรายละเอียด โจทก์ได้บรรยายถึงรายละเอียดเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์จำเลยตกลงกันอย่างไรและจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู่แต่อย่างใดดังนี้ ข้อค้านของจำเลยย่อมฟังไม่ขึ้น.
การที่จำเลยค้านว่า ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ไปทำการโฆษณาเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง แต่แล้วนำสืบเป็นเรื่องเช่าเครื่องขยายเสียงจากจำเลยไปโฆษณาด้วยตนเองเป็นการสืบไม่สมฟ้องนั้น แม้ฟ้องของโจทก์ตอนต้นจะกล่าวมีนัยดังจำเลยว่าก็ดี แต่ฟ้องตอนกล่าวถึงรายละเอียด โจทก์ได้บรรยายถึงรายละเอียดเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์จำเลยตกลงกันอย่างไรและจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู่แต่อย่างใดดังนี้ ข้อค้านของจำเลยย่อมฟังไม่ขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณา 'เคหะ' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ต้องดูเจตนาคู่สัญญาและเหตุแวดล้อมอื่นประกอบ ผู้เช่าต้องนำสืบ
การพิจารณาว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็นเคหะตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ หรือไม่นั้นจะดูแต่เพียงผู้เช่าอาศัยอยู่ในสิ่งปลูกสร้างนั้นหรือไม่แต่อย่างเดียวยังหาเพียงพอกับความประสงค์ของกฎหมายไม่ แต่จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีในเวลาทำสัญญากัน ประกอบกับเหตุผลแวดล้อมอื่นๆเช่นสภาพของสิ่งปลูกสร้าง อัตราค่าเช่า ทำเลที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายประกอบกันว่า การเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้น เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือไม่(อ้างฎีกาที่ 1099-1147/2491)
การเช่าจะอยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของผู้เช่าจะต้องนำสืบแสดงเมื่อตามฟ้องคำให้การและคำแถลงรับของคู่ความไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าทรัพย์รายนี้เป็นเคหะตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าเมื่อผู้เช่าไม่ติดใจสืบพยาน ผู้เช่าก็ต้องแพ้คดี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า โดยเรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนๆ ละ 100 บาทคดีได้ความว่าจำเลยเช่าตึกรายนี้จำเลยมีค่าเช่าเดือนละ 80 บาท ฉะนั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ย่อมต้องเสียหาย ศาลก็เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 80 บาทได้
การเช่าจะอยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของผู้เช่าจะต้องนำสืบแสดงเมื่อตามฟ้องคำให้การและคำแถลงรับของคู่ความไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าทรัพย์รายนี้เป็นเคหะตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าเมื่อผู้เช่าไม่ติดใจสืบพยาน ผู้เช่าก็ต้องแพ้คดี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า โดยเรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนๆ ละ 100 บาทคดีได้ความว่าจำเลยเช่าตึกรายนี้จำเลยมีค่าเช่าเดือนละ 80 บาท ฉะนั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ย่อมต้องเสียหาย ศาลก็เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 80 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การนำสืบเหตุได้มาซึ่งสิทธิไม่ถือเป็นการผิดประเด็น
จำเลยต่อสู้อ้างสิทธิครอบครองในที่นารายพิพาท จำเลยย่อมนำสืบถึงเหตุที่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองนั้นได้ ไม่เป็นการผิดประเด็น