พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาซื้อขายฝิ่นและการเสนอราคาต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตต์เมื่อราคาตกลงกันไม่ได้
ในสัญญาซื้อขายฝิ่นมีข้อความว่า ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันว่าราคาฝิ่นที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นฉะเพาะฝิ่นที่บริสุทธิ์เท่านั้น ถ้าคุณภาพหรือความบริสุทธิ์ของฝิ่นเลวไปกว่านั้น ผู้ขายให้ลดราคาลงตามส่วนโดยจะยอมรับเงินค่าฝิ่นเท่าที่ผู้ซื้อจะจ่ายให้ แล้วให้เสนอเรื่องต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตต์เป็นผู้วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออธิบดีวินิจฉัยชี้ขาดกำหนดราคาให้เท่าใด ผู้ขายยินยอมรับคำวินิจฉัยเป็นยุตติเด็ดขาด ดังนี้ศาลฎีกาแปลสัญญาว่า ถ้าคณะกรรมการ (ผู้ซื้อ) และโจทก์ (ผู้ขาย) ตกลงราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพกันได้แล้วเรื่องก็ไม่มีปัญหาถึงอธิบดีกรมสรรพสามิตต์จะต้องมีการเสนอรับคำวินิจฉัยของอธิบดีก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายคือ ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ตกลงกันในเรื่องราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพนั้นเท่านั้น
คำสั่งของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทางราชการนั้นจะนำมาประกอบการแปลสัญญาเป็นการผูกมัดโจทก์ (ผู้ขาย) ซึ่งเป็นคนนอกและไม่ปรากฎว่าได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนี้หรือรู้เห็นคำสั่งนี้ด้วยไม่ได้
คำสั่งของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทางราชการนั้นจะนำมาประกอบการแปลสัญญาเป็นการผูกมัดโจทก์ (ผู้ขาย) ซึ่งเป็นคนนอกและไม่ปรากฎว่าได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนี้หรือรู้เห็นคำสั่งนี้ด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจะซื้อขายที่ยังมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า โจทก์ตกลงซื้อนาจากจำเลย ชำระราคาแล้ว และเข้าครอบครองตลอดมา หลักฐานการจะซื้อขายอยู่ที่ทำการสหกรณ์ ยังไม่ได้โอนกันตามระเบียบ จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนขาย ฟ้องดังนี้ตีความได้ว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลย เป็นสัญญาจะซื้อขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การตีความสัญญาจากข้อความในฟ้องและหลักฐานที่อ้างอิง
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า โจทก์ตกลงซื้อนาจากจำเลย ชำระราคาแล้ว และเข้าครอบครองตลอดมา หลักฐานการจะซื้อขายอยู่ที่ทำการสหกรณ์ ยังไม่ได้โอนกันตามระเบียบ จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนขาย ฟ้องดังนี้ตีความได้ว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลย เป็นสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยไม่ชัดเจน ศาลวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลยตามหลักการตีความสัญญา
ฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าจำเลยอายุ 16 ปี มิได้ระบุว่า 16 ปีบริบูรณ์ จึงเข้าได้เป็น 2 นัย ควรวินิจฉัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา: ศาลมีหน้าที่ชี้ขาดความหมายเมื่อมีการโต้แย้ง และพิจารณาพยานหลักฐานประกอบ
เมื่อจำเลยให้การเถียงความหมายในการแปลสัญญาศาลจึงมีหน้าที่จะต้องชี้ขาดว่าสัญญานั้นมีความหมายว่าอย่างไร ถ้าหากสัญญามีข้อความชัดเจนเห็นความหมายได้แล้วศาลก็ย่อมตีความสัญญาไปตามนั้น หากถ้อยคำในสัญญาเป็นที่สงสัย ศาลก็อาจดำเนินการสืบพะยานถึงพฤตติการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี เพื่อนำมาใช้ประกอบในการตีความนั้นได้ตามกรณี ดังที่ ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 94 ตอนท้ายอนุญาตไว้
มาตรา 11 ป.ม.แพ่ง ฯ ย่อมเป็นหลักในการแปลสัญญาจริง แต่มีความหมายเพียงว่าเมื่อศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลและพฤตติการณ์อันจะนำมาประกอบการแปลหมดแล้ว กรณียังมีข้อสงสัยอยู่ จึงให้ตีความไปตามหลักที่กล่าวในมาตรา 11 แต่ไม่ได้หมายความว่า ศาลจะใช้มาตรา 11 แปลสัญญาโดยไม่เหลียวแลถึงเหตุผลและพฤตติการณ์ประกอบสัญญานั้นเสียเลย เมื่อถ้อยคำในสัญญายังเป็นที่สงสัยและศาลล่างสั่งงดสืบพะยานมาศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลล่างพิจารณาพิพากษาใหม่.
มาตรา 11 ป.ม.แพ่ง ฯ ย่อมเป็นหลักในการแปลสัญญาจริง แต่มีความหมายเพียงว่าเมื่อศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลและพฤตติการณ์อันจะนำมาประกอบการแปลหมดแล้ว กรณียังมีข้อสงสัยอยู่ จึงให้ตีความไปตามหลักที่กล่าวในมาตรา 11 แต่ไม่ได้หมายความว่า ศาลจะใช้มาตรา 11 แปลสัญญาโดยไม่เหลียวแลถึงเหตุผลและพฤตติการณ์ประกอบสัญญานั้นเสียเลย เมื่อถ้อยคำในสัญญายังเป็นที่สงสัยและศาลล่างสั่งงดสืบพะยานมาศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลล่างพิจารณาพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา: ศาลมีหน้าที่ชี้ขาดความหมายตามสัญญา และอาจสืบพยานเพื่อประกอบการตีความได้
เมื่อจำเลยให้การเถียงความหมายในการแปลสัญญา ศาลจึงมีหน้าที่จะต้องชี้ขาดว่าสัญญานั้นมีความหมายว่าอย่างไร ถ้าหากสัญญามีข้อความชัดเจนเห็นความหมายได้แล้ว ศาลก็ย่อมตีความสัญญาไปตามนั้น หากถ้อยคำในสัญญาเป็นที่สงสัยศาลก็อาจดำเนินการสืบพยานถึงพฤติการณ์ต่างๆ ตลอดจนประเพณีเพื่อนำมาใช้ประกอบในการตีความนั้นได้ตามกรณี ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตอนท้ายอนุญาตไว้
มาตรา 11 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมเป็นหลักในการแปลสัญญาจริง แต่มีความหมายเพียงว่าเมื่อศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลและพฤติการณ์อันจะนำมาประกอบการแปลหมดแล้ว กรณียังมีข้อสงสัยอยู่ จึงให้ตีความไปตามหลักที่กล่าวในมาตรา11 แต่ไม่ได้หมายความว่า ศาลจะใช้มาตรา 11 แปลสัญญาโดยไม่เหลียวแลถึงเหตุผลและพฤติการณ์ประกอบสัญญานั้นเสียเลย เมื่อถ้อยคำในสัญญายังเป็นที่สงสัย และศาลล่างสั่งงดสืบพยานมา ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลล่างพิจารณาพิพากษาใหม่
มาตรา 11 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ย่อมเป็นหลักในการแปลสัญญาจริง แต่มีความหมายเพียงว่าเมื่อศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลและพฤติการณ์อันจะนำมาประกอบการแปลหมดแล้ว กรณียังมีข้อสงสัยอยู่ จึงให้ตีความไปตามหลักที่กล่าวในมาตรา11 แต่ไม่ได้หมายความว่า ศาลจะใช้มาตรา 11 แปลสัญญาโดยไม่เหลียวแลถึงเหตุผลและพฤติการณ์ประกอบสัญญานั้นเสียเลย เมื่อถ้อยคำในสัญญายังเป็นที่สงสัย และศาลล่างสั่งงดสืบพยานมา ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลล่างพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา: เจตนาที่แท้จริง vs. ถ้อยคำตามตัวอักษร และขอบเขตการสืบพยาน
ป.ม.แพ่งฯ มาตรา132 ที่ว่าในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึง เจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรนั้น หมายความว่า ถ้าข้อความในเอกสารมีทางแปลไปได้แล้ว ก็พึงแปลให้เข้ากับเจตนาในที่นี้ ก็คือเจตนาอันเห็นได้จากหนังสือนั้นเอง มิได้หมายความว่าคู่สัญญาจะทำสัญญาไว้อย่างไรก็ช่าง แต่ย่อมสืบเจตนาได้เสมอการสืบเจตนานอกไปจากที่จะคำนวณได้จากตัวหนังสือนี้ มีห้ามไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา: เพ่งเล็งเจตนาอันแท้จริงเหนือถ้อยคำตามตัวอักษร และขอบเขตการสืบพยาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132 ที่ว่าในการตีความแสดงเจตนานั้นท่านให้เพ่งเล็งถึง เจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรนั้น หมายความว่า ถ้าข้อความในเอกสารมีทางแปลไปได้แล้วก็พึงแปลให้เข้ากับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา และเจตนาในที่นี้ ก็คือเจตนาอันเห็นได้จากหนังสือนั้นเอง มิได้หมายความว่าคู่สัญญาจะทำสัญญาไว้อย่างไรก็ช่าง แต่ย่อมสืบเจตนาได้เสมอการสืบเจตนานอกไปจากที่จะคำนวณได้จากตัวหนังสือนี้ มีห้ามไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความข้อตกลงเช่า: การใช้คำว่า 'อาศัย' ไม่ตัดสิทธิการอ้างกฎหมายควบคุมค่าเช่า
ในคำให้การกล่าวว่าอยู่โดยอาศัยและเสียค่าอาศัยเป็นรายเดือนนั้นแสดงว่าเป็นเรื่องเช่าไม่ใช่เรื่องอาศัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบตามคำสั่งศาล และการตีความสัญญาซื้อขายโดยการอธิบายข้อความในสัญญา
คู่ความโต้แย้งกันในเรื่องกำหนดหน้าที่นำสืบไว้ในรายงานพิจารณาของศาลแต่เมื่อศาลสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนแล้ว โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลประการใดนั้น เป็นคำโต้แย้งระหว่างคู่ความ ไม่ใช่โต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม.226 (2) จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
สัญญาซื้อขายโรงเลื่อยซึ่งมีบัญชีสิ่งของแนบท้ายสัญญา และในตอนท้ายบัญชีมีข้อความว่า "เครื่องอาหลั่ยที่ไม่แจ้งในบัญชีมีเล็กน้อยเมื่อรับโอนแล้วยังมีเหลือเท่าใดผู้ขายจะมอบให้" ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า สิ่งของตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเครื่องอาหลั่ยเล็กน้อยตามข้อความในตอนท้ายบัญชีนั้น เป็นเรื่องสืบอธิบายข้อความในสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องสืบแก้ไขเอกสาร
สัญญาซื้อขายโรงเลื่อยซึ่งมีบัญชีสิ่งของแนบท้ายสัญญา และในตอนท้ายบัญชีมีข้อความว่า "เครื่องอาหลั่ยที่ไม่แจ้งในบัญชีมีเล็กน้อยเมื่อรับโอนแล้วยังมีเหลือเท่าใดผู้ขายจะมอบให้" ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า สิ่งของตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเครื่องอาหลั่ยเล็กน้อยตามข้อความในตอนท้ายบัญชีนั้น เป็นเรื่องสืบอธิบายข้อความในสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องสืบแก้ไขเอกสาร