พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกาหลังตกลงประนีประนอมกัน ศาลอนุญาตได้เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน
โจทก์ฎีกาภายหลังยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลสอบถามจำเลยก่อนถ้าจำเลยไม่คัดค้านจึงจะอนุญาตให้โจทก์ถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการปรับแก้ข้อตกลงประนีประนอมตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ เพื่อคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพบุตร
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 146 กำหนดหลักการสำคัญในการพิจารณาและพิพากษาคดีครอบครัวไว้ว่า ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมกันในข้อพิพาทโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องอ้างว่า ข้อเท็จจริงอันเป็นพฤติการณ์แห่งคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงไปโดยพฤติกรรมของผู้คัดค้านที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอม ซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่ามิได้กระทำการดังกล่าว คงโต้แย้งเพียงว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้นอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมซึ่งถึงที่สุดได้เท่านั้น จึงเป็นกรณีเกิดข้อพิพาทขึ้นใหม่นอกจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว และเกิดขึ้นภายหลังมีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นไต่ส่วน นัดพิจารณา ตลอดจนมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ จึงไม่อาจถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาตามยอมซึ่งถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5946/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกิน 10 ปี: โจทก์ยังดำเนินการได้หากมีการบังคับคดีต่อเนื่อง
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 จะบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาก็ตาม แต่หาได้กำหนดให้เสร็จสิ้น ภายในกำหนด 10 ปีไม่ ปรากฏว่าภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งนายจ้างได้ส่งเงินตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเดือนละ 2,000 บาท ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตลอดมา แต่ยังไม่ครบหนี้ตามหมายบังคับ เมื่อโจทก์ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอดดังนี้ แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้จนกว่าการบังคับคดีดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภาระจำยอม: ประนีประนอมประโยชน์เจ้าของที่ดิน & ความสะดวกในการใช้ทาง
ป.พ.พ. มาตรา 1392 มิได้ระบุระยะเวลาที่อาจเรียกให้ย้ายภาระจำยอมไว้ว่าจะต้องกระทำภายในระยะเวลาใด และต้องกระทำก่อนคดีถึงที่สุดหรือไม่ เพียงแต่ะระบุให้เจ้าของภารยทรัพย์ที่ขอย้ายต้องแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับจะเสียค่าใช้จ่ายหากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทั้งจะต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง ก็เพียงพอที่จะเรียกให้ย้ายทางภาระจำยอมได้แล้ว ประกอบกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวก็เพื่อต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์โดยไม่ถือเคร่งครัดตามสิทธิเกินไปด้วย ดังนั้นตราบใดที่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น การขอย้ายทางภาระจำยอมก็ย่อมสามารถกระทำได้แม้จะมีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่สุดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และการยอมความในคดีอาญา: การเข้าใจผิดเรื่องกรรมสิทธิ์และผลของการประนีประนอม
กระบือเป็นของโจทก์ร่วม แต่ขณะเกิดเหตุ น. ทำให้จำเลยเชื่อว่ากระบือเป็นของ น. มีสิทธิยกให้จำเลยเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย การที่จำเลยนำซากกระบือไปชำแหละขายจึงกระทำไปโดยเข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้ จำเลยไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่กระบือของโจทก์ร่วมทำให้สวนแตงโมของจำเลยเสียหายและค่าเสียหายราคากระบือที่จำเลยยิงตายโดยทำบันทึกไว้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้
โจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่กระบือของโจทก์ร่วมทำให้สวนแตงโมของจำเลยเสียหายและค่าเสียหายราคากระบือที่จำเลยยิงตายโดยทำบันทึกไว้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมายซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำ หากคดีเดิมยุติด้วยการประนีประนอมและยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีเดิม ซึ่งมีประเด็นว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีเดิมที่ว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมแล้ว ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น, บันทึกข้อตกลง, และการระงับข้อพิพาท: สิทธิในการเรียกร้องหุ้นคืนหลังทำข้อตกลงประนีประนอม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุว่าการบังคับตามคำพิพากษาไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ได้เพราะจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จึงไม่มีอำนาจแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1139 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าอ้าง จำเลยที่ 2 จัดทำสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์แล้วนำหุ้นของโจทก์ที่ลดลงไปเพิ่มในสัดส่วนการถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ แล้วศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 โอนหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อโดยไม่ชอบขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของจำเลยที่ 1 การโอนหุ้นตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์กลับมาถือหุ้นของโจทก์ตามเดิม ซึ่งเลขหมายใบหุ้นบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถือครองอยู่ และบางส่วนเป็นหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนไปให้บุคคลอื่นแล้ว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยตรง จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง และจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก็ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งและสุดท้ายไม่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิม
หลังจากเกิดข้อพาทเกี่ยวกับการโอนหุ้นโดยมิชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เจรจาและทำบันทึกข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 ตกลงยกหุ้นของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 บางส่วนให้แก่โจทก์และพี่สาวโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกัน ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญานี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้ข้อเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้แก่ตนเองโดยมิชอบได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนหุ้นตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และทางพิจารณามีการนำสืบต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงมาแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ เมื่อปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่า จำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลง
เมื่อโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม การจะเลิกบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกโดยอำเภอใจ เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่ได้ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะบอกเลิกข้อตกลงและไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบอกเลิกข้อตกลงแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 จึงคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
เมื่อเริ่มจัดตั้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้นซึ่งจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับเงินไว้มาแสดง และจำเลยที่ 2 นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ในการปรับลดหุ้นของโจทก์ทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เคารพสิทธิของโจทก็ในการเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักเชื่อได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งอ้างว่ากระทำโดยไม่ชอบ
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นคนใดรวมถึงโจทก์แต่เมื่อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 มีการออกเลขหมายใบหุ้นแล้ว จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์หลายครั้งและสุดท้ายไม่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์โอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแก้ไขสมุดบัญชีผู้ถือหุ้นและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิม
หลังจากเกิดข้อพาทเกี่ยวกับการโอนหุ้นโดยมิชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เจรจาและทำบันทึกข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 ตกลงยกหุ้นของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 บางส่วนให้แก่โจทก์และพี่สาวโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกัน ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญานี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลให้ข้อเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิมนั้นได้ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาหุ้นที่จำเลยที่ 2 โอนให้แก่ตนเองโดยมิชอบได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 โอนหุ้นตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และทางพิจารณามีการนำสืบต่อสู้เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงมาแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ เมื่อปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นว่า จำเลยที่ 2 ยังถือหุ้นจำเลยที่ 1 ซึ่งสามารถโอนให้แก่โจทก์ได้ จึงชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลง
เมื่อโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว ย่อมมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม การจะเลิกบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกโดยอำเภอใจ เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่ได้ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะบอกเลิกข้อตกลงและไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะบอกเลิกข้อตกลงแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ โจทก์และจำเลยที่ 2 จึงคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว