คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุณสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ - สิทธิรับค่าจ้างและสวัสดิการ - หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผลผูกพันเมื่อไม่มีมูลหนี้
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2514 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ มีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2520 โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่ 29 กันยายน 2520 จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2520 ช่วงเวลาก่อนวันที่ 29 กันยายน 2520 นั้น จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใด ซึ่งในเดือนกันยายน 2520 โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพ เงินค่ายังชีพ เงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใด จำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่ โจทก์จึงเรียกเงินต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา180 เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสวัสดิการลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ: สิทธิลูกจ้างยังคงมีตราบใดที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2514ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518ออกใช้บังคับมีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่28กันยายน2520โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่29กันยายน2520จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2520ช่วงเวลาก่อนวันที่29กันยายน2520นั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใดซึ่งในเดือนกันยายน2520โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วยถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพเงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใดจำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่โจทก์จึงเรียกเงินต่างๆดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้. จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา180เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และการสิ้นสุดสิทธิเมื่อขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ50วรรคแรก(3)ที่ให้บุตรของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายมีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างนั้นบุตรนั้นต้องมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเว้นแต่ถ้าอายุครบสิบแปดปีแล้วแต่ยังศึกษาอยู่ก็ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เมื่อบุตรของลูกจ้างผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้สิทธิเรียกร้องส่วนของบุตรลูกจ้างที่จะได้เงินทดแทนนั้นโอนหรือตกทอดไปยังทายาทอื่นของลูกจ้างทั้งมิได้กำหนดให้นายจ้างต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของบุตรของลูกจ้างนั้นมาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่ทายาทอื่นของลูกจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามคุณสมบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504
จำเลยที่ 1 ส่งมอบฝ้ายปุยที่โจทก์สั่งซื้อต่ำกว่าคุณสมบัติของฝ้ายตามตัวอย่างให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญา เป็นการฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินประกัน เนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบของไม่ตรงตามตัวอย่าง ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 504 อันมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาส่งมอบ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งมอบฝ้ายปุยไม่ตรงตามตัวอย่าง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4583/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับนายทะเบียนจดทะเบียนสมรส และการปฏิเสธการจดทะเบียนโดยอ้างคุณสมบัติไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนอำเภอคลองใหญ่และจำเลยที่ 2 กระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 รับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ตรงข้ามกลับได้ความว่าจำเลยที่ 1เท่านั้นที่เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรส ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนสมรสให้แก่โจทก์ทั้งสองได้
ข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองนั้น ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อจำเลยที่ 1 นายชุมพลเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้บันทึกถ้อยคำของโจทก์ที่ 2ไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บันทึกสอบถามเรื่องคุณสมบัติของโจทก์ที่ 2 อันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งมาแต่ประการใด กลับมีบันทึกสั่งการในตอนท้ายว่าให้สอบเพิ่มเติมว่า โจทก์ที่ 2 เข้ามาในอำเภอคลองใหญ่เพราะสาเหตุอันใด และโจทก์ที่ 2 มีอาชีพอะไร มีรายได้เท่าใด เมื่อเริ่มอพยพเข้ามาครั้งแรกรู้จักใครบ้างข้อความเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นได้ชัดถึงเหตุผลในการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น เพราะแม้แต่ในฎีกาของจำเลยเองก็ยังอ้างว่าโจทก์ที่ 2 มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะรับจดทะเบียนสมรสให้ได้ ซึ่งแสดงถึงการปฏิเสธของจำเลยที่ 1 อยู่ในตัวเอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับจดทะเบียนสมรสของโจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยก่อนจำเลยเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วพนักงานของจำเลยได้เปลี่ยนฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 โจทก์มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 9 (2) และต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุตามกฎหมาย มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์นั้นเป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำมาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุไม่ได้เมื่อโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติโดยครบเกษียณอายุจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยก่อนจำเลยเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วพนักงานของจำเลยได้เปลี่ยนฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 โจทก์มีอายุเกิน60 ปีบริบูรณ์ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9(2) และต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุตามกฎหมาย มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์นั้นเป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำมาตรา 582แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุไม่ได้เมื่อโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติโดยครบเกษียณอายุจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติ การจ่ายบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 9, 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว การจ้างเป็นอันระงับไปในตัวทันที หากจักต้องจัดการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
บำเหน็จเป็นเงินซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดมาจนถึงวันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง ดังนั้น แม้จำเลยจ่ายบำเหน็จโดยมีวิธีคำนวณเหมือนค่าชดเชย และกำหนดให้ถือว่าเป็นค่าชดเชย ก็หามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. การศึกษาเทียบเท่ามัธยมปลาย และการยื่นเอกสารเท็จ
การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ก.ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยนำข้อความในมาตรา 19 (1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มากล่าวในคำร้องนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่า ก.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้ง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
หลังจากจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก.ได้เข้าเรียนกวดวิชาที่โรงเรียนวัดราชนัดดาและสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกวดวิชาวัดสุทัศน์และสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 6 ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อในสายอาชีวะได้ เมื่อ ก.ได้เข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 3 อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนพณิชยการพระนครซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบได้ชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษา จึงถือได้ว่า ก.ได้เข้าเรียนอยู่ในโรงเรียนหรือสถาบันอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 (1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ก.จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การศึกษาเทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย และการรับสมัคร
การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ก.ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยนำข้อความในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มากล่าวในคำร้องนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่า ก.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้ง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว หลังจากจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก.ได้เข้าเรียนกวดวิชาที่โรงเรียนวัดราชนัดดาและสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกวดวิชาวัดสุทัศน์และสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 6 ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อในสายอาชีวะได้ เมื่อ ก.ได้เข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 3 อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนพณิชยการพระนครซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบได้ชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษาจึงถือได้ว่า ก.ได้เข้าเรียนอยู่ในโรงเรียนหรือสถาบันอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ก.จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามกฎหมาย
of 21