คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าหลังคู่สมรสเสียชีวิต: ต้องแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือภายใน 30 วัน
ผู้เช่าเคหะอยู่อาศัยถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาผู้ตายซึ่งอยู่อาศัยในเคหะนั้นต่อมามิได้แสดงความจำนงเป็นหนังสือขอเช่าบ้านรายนั้นต่อผู้ให้เช่าต่อไปภายใน 30 วันนับแต่วันที่สามีตายนั้นจะอ้างความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าไม่ได้ เว้นแต่ผู้ให้เช่าและภรรยาผู้ตายจะตกลงกันยอมให้ภรรยาผู้ตายเช่าบ้านนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองหนี้โดยปริยายของคู่สมรส: ผลผูกพันทางหนี้สินจากการลงลายมือชื่อเป็นพยาน
หญิงมีสามีก่อหนี้ขึ้นโดยลำพัง แต่ภายหลังได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้สินนั้นขึ้น โดยสามีรับรู้ ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานไว้ในเอกสารรับสารภาพหนี้นั้น ย่อมถือว่าสามีรับรองหรือให้สัตยาบันโดบปริยาย สามีจึงต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองหนี้โดยปริยายของคู่สมรส
หญิงมีสามีก่อหนี้สินขึ้นโดยลำพัง แต่ภายหลังได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้สินนั้นขึ้น โดยสามีรับรู้ ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานไว้ในเอกสารรับสภาพหนี้นั้น ย่อมถือว่าสามีรับรองหรือให้สัตยาบันโดยปริยาย สามีจึงต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิม แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็มีผลตามกฎหมาย
ชายหญิงเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 ตลอดมาจนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 แล้ว แม้จะมิได้จทะเบียนสมรสก็นับว่าชายหญิงนั้นเป็นคู่สมรสกันตาม ก.ม.ฉะนั้นชายจึงไม่มีสิทธิจะทำการสมรสกับหญิงอื่นอีก เพราะตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1445(3) บัญญัติห้ามมิให้ชายหญิงทำการสมรสเมื่อยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ภริยาเดิมขอให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่ชายไปจดใหม่นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง
ชายหญิง เป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ตลอดมาจนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรส ก็นับว่า ชายหญิงนั้นเป็นคู่สมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้นชายจึงไม่มีสิทธิจะทำการสมรสกับหญิงอื่นอีก เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3)บัญญัติห้ามมิให้ชายหญิงทำการสมรส เมื่อยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ภริยาเดิมขอให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่ชายไปจดใหม่นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จดทะเบียนสมรส: หากทั้งสองฝ่ายไม่ดำเนินการ โจทก์จะเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้
โจทก์ได้ทำพิธีแต่งงานกับบุตรีจำเลย แล้วโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส โจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้ (อ้างฎีกา 269/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกสินสมรสและการลงชื่อในโฉนดสำหรับคู่สมรสที่สมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง บรรพ 5
ก.ม.ลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ให้มีการแยกสินบริคณห์ โดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่า จะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้
การที่จะนำ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1472, 1467 มาใช้แก่คู่สมรส ซึ่งสมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือน ถึงการสมรสหรือสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) ยกเว้นไว้แล้วนั้นแต่อย่างใด
ฟ้องโจทก์ขอให้แยกสินบริคณห์ถ้าสั่งแยกไม่ได้ จึงขอให้สั่งให้โจทก์มีชื่อร่วมในโฉนด ไม่เป็นคำขอที่ขัดกันและไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่ได้ขอทั้ง 2 อย่าง โจทก์ขออย่างแรกก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ จึงขออย่างที่สอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส และผลของพินัยกรรมเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรมก่อน
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปี ก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้านั้นหาได้ไม่
โจทก์,จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 164.แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรม์ร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรม์ก็มีผลบังคับฉะเพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็ฉะเพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดสินบริคณีของคู่สมรสที่ล้มละลาย แม้หนี้เกิดก่อนบังคับใช้ ป.ม.แพ่ง
เมื่อภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิจะยึดสินบริคนห์มาแบ่งแยกส่วนของผู้ล้มละลายได้
หญิงมีสามีเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว นิติกรรมที่ได้ทำขึ้นจึงผูกพันธ์หญิงตาม ป.ม.แพ่งฯ ม. 37
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว หนี้ที่ฟ้องล้มละลายจะเกิน 10 ปี แล้วก็ไม่มีเหตุทีจะถือว่าคำพิพากษาไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด
แม้จะเป็นหนี้เกิดก่อนวันใช้ ป.ม.แพ่งฯบรรพ 5 ก็ดี ก็แบ่งแยกสินบริคนห์ตาม ป.ม.แพ่งฯ ม.1484 ได้ ไม่ขัดกับบท ก.ม.เก่าหรือใหม่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกสินบริคณห์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของคู่สมรสที่ไม่เป็นหนี้ร่วม
ภรรยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สามีไม่มีสิทธิฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำพิพากษานั้น
of 20