คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถอนฟ้องคดีอาญา: ศาลอนุญาตได้หากโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อและจำเลยไม่คัดค้าน
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา ระหว่างฎีกาก่อนอ่านคำพิพากษาผู้เสียหาย ขอถอนฟ้องโดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป และจำเลยไม่คัดค้าน ดังนี้ ศาลมีอำนาจอนุญาตให้ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีและให้ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยความยินยอมของผู้เสียหายและจำเลยไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตได้
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา ระหว่างฎีกาก่อนอ่านคำพิพากษาผู้เสียหายขอถอนฟ้องโดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป และจำเลยไม่คัดค้าน ดังนี้ศาลมีอำนาจอนุญาตให้ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีและให้ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นฎีกาเมื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนวางเงินค่าธรรมเนียมและการพิจารณาเหตุสมควร
ทนายจำเลยยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันสุดท้ายของอายุความฎีกา และได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมและค่าทนายที่จำเลยจะใช้แทนโจทก์ไป15 วัน อ้างเหตุว่าจำเลยอาจเจ็บป่วยหรือมาไม่ทันรถศาลชั้นต้นอนุญาต ต่อมาครบ 15 วันจำเลยก็เอาเงินค่าธรรมเนียมค่าทนายมาวางศาลศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาให้ดังกล่าว ได้กระทำก่อนสิ้นอายุความฎีกา และได้พิจารณาเห็นมีพฤติการณ์สมควร จึงสั่งอนุญาต จึงเท่ากับเป็นการขยายเวลาที่จะยื่นฎีกาย่อมอยู่ในอำนาจที่จะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและไม่ได้หลงต่อสู้
ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาในวันที่ 23 กันยายน ตรงกับวันแรม 9 ค่ำเดือน 10 พ.ศ.2491 เวลากลางวัน ครั้นสืบพยานโจทก์ไปได้ 2 ปาก โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุเป็นวันที่ 26 กันยายน 2491 ส่วนวันทางจันทรคติตามเดิม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมอนุญาตให้แก้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันเกิดเหตุในคดีอาญา: ศาลอนุญาตได้หากจำเลยไม่โต้แย้ง
ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาในวันที่ 23กันยายน ตรงกับวันแรม 9 ค่ำเดือน 10 พ.ศ.2491 เวลากลางวัน ครั้นสืบพยานโจทก์ไปได้ 2 ปาก โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุเป็นวันที่ 26 กันยายน2491 ส่วนวันทางจันทรคติตามเดิม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมอนุญาตให้แก้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องคดีอาญา: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนาอ้างเหตุเกิดเวลากลางวันจำเลยให้การว่ากระทำโดยป้องกันตัว เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วก่อนพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเป็นว่า จำเลยกระทำผิดเวลากลางคืน ที่ฟ้องว่ากลางวันคลาดเคลื่อนไปเพราะความบกพร่องของผู้พิมพ์และผู้ตรวจดังนี้ เมื่อจำเลยรับว่าได้ทำร้ายผู้ตาย ตายจริง แต่ทำโดยป้องกันแล้ว จำเลยก็ไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ไม่มีทางทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลย่อมอนุญาตให้แก้ฟ้องได้ เพราะมีเหตุสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอเพิ่มเติมตำบลที่เกิดเหตุนั้น เป็นการขอแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 โจทก์จะร้องขอแก้ในระยะใดระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น ก็ไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจร เจ้าพนักงานจับโคของกลางได้จากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธข้อหาต่อสู้อ้างฐานที่อยู่ และว่าเจ้าพนักงานมิได้จับโคของกลางได้จากจำเลย ดังนี้ การที่โจทก์ขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องว่า เหตุได้เกิดที่ตำบลอีกตำบลหนึ่งด้วย ย่อมเห็นได้ว่าไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงแก้ไขหรือเพิ่มเติมฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องขัดแย้งกับคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หรือไม่ และผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เดิมโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทุจริตแสดงตัวเป็นโจทก์ขอรับโอนมรดกที่ดินแล้วโอนขายให้จำเลย ขอให้เพิกถอนการรับโอนมรดกและการซื้อขายภายหลังขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยทำสัญญายอมความ โดยจำเลยยอมโอนคืนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้จำเลยให้จำเลย 200บาทเมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้ให้โจทก์แล้วจึงขอให้ศาลพิพากษาตามสัญญายอมความนี้ ถือว่าเป็นคนละลักษณะกับฟ้องเดิมคำขอบังคับก็ขัดกันเท่ากับขอเลิกฟ้องเดิมแล้วเอาใหม่ไม่ใช่เพิ่มเติมฟ้องกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติห้ามไว้ไม่ให้กระทำ ศาลชอบที่จะยกเสียตาม มาตรา 180โจทก์จะได้ไปฟ้องเป็นคดีใหม่
ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้โดยลงชื่อรับผิดไว้แก่เขาแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเขาย่อมฟ้องให้รับผิดตามสัญญาที่ตนลงลายมือชื่อไว้ได้ โดยไม่เป็นปัญหาว่าเขาได้ตั้งตัวแทนให้ทำสัญญากับจำเลยหรือไม่ ซึ่งต่อมาเขาได้รับรองสัญญานั้นแล้วด้วย
ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ถ้าศาลชั้นต้นไม่สั่งแต่มาในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นพิพากษาให้ แสดงว่าได้อนุญาตให้เพิ่มเติมคำฟ้องนี้ เรื่องได้ผ่านมาจนเช่นนี้และไม่มีฝ่ายใด ร้องฎีกาขึ้นมาจึงไม่สมควรที่ศาลฎีกาจะรื้อฟื้นแก้เป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์ขอดำเนินการทางสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะให้จำเลยรับผิดตามสัญญานั้น ไม่ติดใจที่จะเอาตามมูลคดีเดิมที่ฟ้องไว้ จำเลยไม่ได้ฎีกาเถียงสัญญานี้ว่าใช้ไม่ได้ด้วยประการใด เป็นแต่ว่าทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญานั้น ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าทนายโจทก์ทำได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญานั้นหรือไม่จึงพิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดเป็นจำเลย: การคุ้มครองสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลต้องอนุญาตหากมีสิทธิโดยตรง
ผู้ร้องสอดที่ร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยโต้แย้งว่าที่พิพาทรายเดียวกันนั้นเป็นของผู้ร้อง ไม่ใช่ของจำเลยดังนี้ต้องตามมาตรา 57 อนุมาตรา (1) ไม่ใช่ตามอนุมาตรา (2) ผู้ร้องสอดมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความศาลจะยกมาตรา 29 วรรคท้ายมาใช้สั่งไม่อนุญาตโดยให้ไปฟ้องใหม่+สำนวนหนึ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินไม่ชัดเจน ศาลอนุญาตให้ประมูลได้
ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งถ้าแบ่งไม่ตกลงกัน ก็ไห้ประมูลหรือขายทอดตลาด โจทก์จำเลยตกลงกันว่า โจทก์เลือกเอาที่ดินด้านตะวันออก จำเลยเอาด้านตะวันตกคนละครึ่ง แต่ไม่ได้ตกลงกันให้แน่นอนว่าจะตั้งต้นวัดแบ่งจากจุดใจจุดหนึ่งของที่ดินด้านเหนือ หรือด้านใต้ ดังนี้ เมื่อการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานไม่เป็นที่พึงพอใจของคู่ความหรือพอใจแต่ฝ่ายเดียวเช่นนี้ ต้องฟังว่าการแบ่งที่ดินไม่ตกลงกันตามคำพิพากษา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอถอนข้อตกลงที่ไม่แน่นอนนั้น และขอให้ประมูลหรือขายทอดตลาดได้
of 21