คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญชาติไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสูญเสียสัญชาติไทยจากการรับใบสำคัญคนต่างด้าว และผลกระทบของกฎหมายที่ใช้บังคับย้อนหลัง
ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะมิใช่กฎหมายที่ให้มีผิดย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญาหรือลงโทษบุคคลหนักขึ้นกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิด
บุคคลผู้มีสัญญาชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร์ แต่บิดาเป็นคนต่างด้าวนั้น เมื่อสมัครใจรับใบสำรัญประจำตัวคนต่างด้าวย่อมขาดสัญชาติไทยตามพ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 ม.5 ไม่ว่าจะขอรับใบสำคัญก่อนหรือหลังวันใช้พระราชบัญญัตินี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยของบุคคลเกิดในไทยที่มีบิดาเป็นชาวต่างชาติภายหลังพ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) 2496
คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้วย่อมขาดจากสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)2496 มาตรา 5
คนต่างด้าวได้ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้แสดงว่ามีสัญชาติไทยก่อนใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 2 ก็ตามหามีผลให้คนต่างด้าวมีสัญชาติไทยไม่
พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)2496 ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของบุคคลเกิดในไทยแต่ไปอยู่ต่างประเทศ การพิสูจน์สัญชาติไทย และอำนาจฟ้องร้อง
คนที่มีสัญชาติไทย แต่ไปอยู่ต่างประเทศเสียตั้งแต่เล็ก ๆ ครั้นโตขึ้นจึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยินยอมให้ผู้นั้นอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นคนต่างด้าว ดังนี้ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องกระทรวงมหาดไทยเป็นจำเลย ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยและการมีสิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งตรวจคนเข้าเมืองที่ไม่ยินยอมให้ผู้อาศัยในประเทศ
คนที่มีสัญชาติไทย แต่ไปอยู่ต่างประเทศเสียตั้งแต่เล็กๆครั้นโตขึ้นจึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยินยอมให้ผู้นั้นอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นคนต่างด้าว ดังนี้ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องกระทรวงมหาดไทยเป็นจำเลย ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทย: สิทธิในการร้องขอต่อศาลหรือดำเนินคดีมีข้อพิพาทตามกฎหมาย
การร้องขอพิสูจน์สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จะทำเป็นคำร้องต่อศาลก็ได้ หรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญชาติไทย: คดีสิทธิสภาพบุคคล
ในคดีที่โจทก์ฟ้องศาลขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยผู้เป็นจำเลยคัดค้านนั้น เป็นคดีที่พิพาทกันว่าโจทก์เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยหรือเป็นคนต่างด้าว จึงเป็นคดีที่เกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยและการแสดงสิทธิ: คดีไม่มีข้อพิพาทที่ไม่ได้รับการรับรอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท แต่กรณีใดจะฟ้องได้หรือไม่ เป็นบทบัญญัติของมาตรา 55 กล่าวคือต่อเมื่อมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55 แล้ว จึงจะใช้มาตรา 188 ในเมื่อไม่มีข้อพิพาท
การร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อ้างว่าตนเป็นคนไทยแต่บิดาไปขอจดทะเบียนว่าเป็นคนต่างด้าว จนพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ยึดถือเป็นการผิดพลาด จึงขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยนั้น ไม่ใช่กรณีจะต้องใช้สิทธิในทางศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 55 จึงจะมายื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ได้หากจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิตน เป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อยืนยันสัญชาติไทย: ต้องมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาท แต่กรณีใดจะฟ้องได้หรือไม่ เป็นบทบัญญัติของมาตรา 55 กล่าวคือต่อเมื่อมีสิทธิฟ้องตามมาตรา 55 แล้ว จึงจะใช้มาตรา 188 ในเมื่อเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท
การร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท อ้างว่าตนเป็นคนไทยแต่บิดาไปขอจดทะเบียนว่าเป็นคนต่างด้าว จนพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ยึดถือ เป็นการผิดพลาด จึงขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยนั้น ไม่ใช่กรณีจะต้องใช้สิทธิในทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงจะมายื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิก็ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิตน เป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคล: การหลบหนีการเนรเทศและการอ้างสัญชาติไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเนรเทศ
จำเลยเป็นจีนต่างด้าวโดยกำเนิดและถูกสั่งเนรเทศออกไปจากราชอาณาจักรจนตลอดชีวิต แล้วภายหลังได้หลบหนีเข้ามาและอ้างตนว่าเป็นคนไทยจนได้เข้ารับราชการทหาร ดังนี้ คดีก็คงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษากรณีหลบหนีการเนรเทศของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน โดยจำเลยมีสัญชาติไทย และความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดของผู้ไม่มีสัญชาติ
หลังจากที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 มาตรา 8 บัญญัติให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 โดยให้ใช้ความใหม่แทนซึ่งได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดลักษณะผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทย" เป็น "ผู้ใด" มีผลให้ผู้กระทำความผิดจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ และในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องคดีนี้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในฐานเป็นตัวการในการกระทำความผิดนี้ เพราะจำเลยมิใช่ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ามาตรา 14 ที่แก้ไข
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยกับ ย. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (เดิม) แต่กลับระบุถึงสัญชาติจำเลยว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันผิดไปจากลักษณะของบุคคลที่จะเป็นตัวการกระทำความผิดตามบทมาตรานี้เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ดังนี้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามคำฟ้องเช่นนี้ ก็ย่อมฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยตามคำฟ้องนี้เป็นตัวการร่วมกับนาย ย. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยกระทำความผิด แต่อาจมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของผู้ไม่มีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (เดิม) ได้
of 17