คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, จำนอง, ค้ำประกัน: ศาลยืนยึดสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองตามสัญญา
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินจำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้โดยจำเลยที่1ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ปัญหาที่ว่าม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ม.มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงินพ.ศ.2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษโดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ร้อยละ15ต่อปีจำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไรและเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ และอายุความในการรับช่วงสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 696 วรรคหนึ่งผู้ค้ำประกันจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ก็ต่อเมื่อได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปโดยมิได้บอกลูกหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ซ้ำอีกเพียงกรณีเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ป. ชำระหนี้จำนวน 390,000 บาท ให้แก่บริษัท ธ. เจ้าหนี้ของ ป. ไปแล้ว คงเหลือยังไม่ได้ชำระอยู่อีกจำนวน 43,441.43 บาท หนี้จำนวนที่ยังไม่ได้ชำระนี้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาถูกฟ้องและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ให้แก่ บริษัท ธ. โดยไม่ได้ซ้ำกับยอดหนี้ส่วนที่โจทก์ได้ชำระแทนไปแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้บอกแก่จำเลยว่าโจทก์ ได้ชำระหนี้แทน ป. ให้จำเลยทราบก็ตามก็ชอบที่จะรับช่วงสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเงินจำนวน 390,000 บาทเอาแก่จำเลยได้ สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของป. เกิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้ที่ ป.เจ้ามรดกมีอยู่ต่อบริษัท ธ. ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิที่ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นในวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ไปอันเป็นเวลาหลังจากที่เจ้ามรดกตาย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเรื่องอายุความแห่งการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คืออายุความสิบปี จะนำอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งเป็นอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดก มาใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้จากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกัน, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ถือว่าจำเลยที่ 1 รับว่าทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันแล้ว จึงไม่ต้องนำเอกสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐาน ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวทั้งสองฉบับปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่
ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์จะต้องมาเบิกความเป็นพยานด้วย เมื่อโจทก์นำพยานที่รู้เห็นเกี่ยวข้องมาสืบประกอบพยานเอกสารฟังได้ตามฟ้องของโจทก์แล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อีก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และตามมาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาขายลดเช็ค มิได้ฟ้องบังคับให้ใช้เงินตามเช็คและฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ต้องนำอายุความตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันมาใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงอยู่ในอายุความทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาขายลดเช็คและค้ำประกัน: การนับอายุความเริ่มต้นเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาขายลดเช็คมิได้ฟ้องบังคับให้ใช้เงินตามเช็ค และให้จำเลยที่ 2รับผิดตามสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดเช็ค ต้องนำอายุความตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันมาใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยสั่งจ่ายเช็คค้ำประกันหนี้ของผู้อื่น โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้ แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คจำเลยที่1ให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยที่1ออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่2เมื่อเช็คพิพาทมีมูลหนี้จากการที่จำเลยที่1สั่งจ่ายประกันหนี้ของจำเลยที่2แก่โจทก์และจำเลยที่2ยังไม่ได้ชำระหนี้จำเลยที่1จึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยที่1รับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้ค้ำประกันหาเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นหรือข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างจากฟ้องไม่ แม้จำเลยที่1ได้ให้การว่าหนี้ของจำเลยที่2เป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า50บาทเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและจำเลยที่1เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่2โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่2ก่อนเมื่อไม่ได้แล้วจึงจะมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1นั้นแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจำเลยทั้งสองสละประเด็นข้อต่อสู้นั้นแล้วจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิยกขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือขอออก L/C ไม่ใช่การค้ำประกัน แต่เป็นการยอมชำระหนี้โดยตรง จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่1ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศจำเลยที่3มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่3ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้หนังสือของจำเลยที่3ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่3ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้นั้นจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคแรก เมื่อจำเลยที่3มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่1และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่3ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่1จนจำเลยที่1ได้รับสินค้าไปแล้วเป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่1และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่3จำเลยที่3ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1จำเลยที่3จะยกเหตุว่าผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่1และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ2คนตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่ จำเลยที่3มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้จำเลยที่3จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ12ต่อปีจำเลยที่3มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่นต้องถือว่าจำเลยที่3ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันความเสียหายจากการทำงาน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นตามกฎหมาย แม้ไม่มีข้อความระบุ
เอกสารที่ทำขึ้นใช้ถ้อยคำแสดงว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันและข้อความต่อมาก็ระบุในรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ลงชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าว ขอรับรองการเข้ามาทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ยักยอกหรือทุจริตเงินของโจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทันที ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดจากการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ทำหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือให้ไว้แก่โจทก์ แม้จะไม่มีข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพราะเมื่อจำเลยที่ 2 ยินยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันแล้ว ความรับผิดจะมีขึ้นตอนไหนเพียงใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายไม่จำต้องระบุถึงความรับผิดดังกล่าวซ้ำอีกถึงได้ใช้คำว่า "ผู้ค้ำประกัน" อันเป็นถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 11ว่าด้วยค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันความเสียหายจากการทำงาน ถือเป็นการค้ำประกัน แม้ไม่มีข้อความระบุการชำระหนี้แทน
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันขอรับรองว่าภ. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยหากปฏิบัติงานทำให้บริษัทเสียหายยักยอกทุจริตเงินของบริษัทบริษัทจะดำเนินการตามกฎหมายทันทีโดย ภ. ลงชื่อในฐานะผู้สมัครและจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นกรณีที่จำเลยได้ค้ำประกันความเสียหายที่เกิดจากการทำงานของ ภ. แล้วแม้จะไม่มีข้อความว่าจำเลยยอมรับผิดต่อบริษัทเพื่อชำระหนี้เมื่อ ภ. ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันความเสียหายจากการทำงาน แม้ไม่มีข้อความระบุการชำระหนี้ ก็ผูกพันตามกฎหมายค้ำประกัน
เอกสารที่ทำขึ้นใช้ถ้อยคำแสดงว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันและข้อความต่อมาก็ระบุในรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ลงชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวขอรับรองการเข้ามาทำงานของจำเลยที่1ในกรณีที่จำเลยที่1ยักยอกหรือทุจริตเงินของโจทก์ให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายแก่จำเลยที่1และจำเลยที่2ได้ทันทีดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่2ได้ค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดจากการทำงานของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ทำหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือให้ไว้แก่โจทก์แม้จะไม่มีข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่2ยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่2ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะเมื่อจำเลยที่2ยินยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วความรับผิดจะมีขึ้นตอนไหนเพียงใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายไม่จำต้องระบุถึงความรับผิดดังกล่าวซ้ำอีกถึงได้ใช้คำว่า"ผู้ค้ำประกัน"อันเป็นถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ11ว่าด้วยค้ำประกันจำเลยที่2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1
of 61